อาชีพ ‘ที่ปรึกษาการเงิน’ หรือ ‘นักวางแผนการเงิน’ มีหน้าที่รับข้อมูลบุคคลทั้งด้านข้อมูลพื้นฐานของบุคคล เช่นอาชีพ อายุ ความเสี่ยงที่เหมาะสม รวมถึงข้อมูลการเงินอื่นๆ เช่น รายรับ รายจ่าย สินทรัพย์ หนี้สิน รวมถึงข้อมูลเป้าหมายที่ต้องการ แล้วนำมารวมกับข้อมูลเศรษฐศาสตร์ การเงิน เศรษฐกิจ การลงทุน เพื่อวิเคราะห์ “อย่างรอบคอบ” แล้วสร้างคำแนะนำที่เป็นเครื่องชี้นำผู้ขอรับคำปรึกษาให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้ “อย่างระมัดระวังมากพอ”
แล้ว ทำไมต้อง “รอบครอบ และ ระมัดระวัง” ละ นั้นเพราะผู้ขอรับคำปรึกษา ในที่นี้ขอสมมุติตัวละครขึ้นมา 2 ตัว คือ ‘ลุงหมู’ และบุคคลที่อ้างตัวเป็นที่ปรึกษาการเงินมีชื่อว่า ‘F’ เพราะ ลุงหมูอาจจะนำเงินทั้งหมดของชีวิต มาให้ F ช่วยแนะนำ และช่วยบริหารการเงินให้ แต่หารู้ไม่ว่า F นี้แหละที่ได้นำพาลุงหมูไปสู่ความล้มเหลว แล้วใครจะรับผิดชอบชีวิตลุงหมูละครับ
มาลองดูตัวอย่างง่ายๆกันดูครับ ตัวอย่างคล้ายๆแบบนี้มีกันอยู่มากมายในโลก Internet Website / Facebook Fan Page เป็น Content ด้านการวางแผนเกษียณ การคำนวณยอดเงินที่ต้องมีเพื่อให้เพียงพอต่อการเกษียณ แต่ล้วนเป็นแบบง่ายๆที่ยังไม่ถูกต้อง เพราะผู้เขียนต้องการให้เข้าถึงผู้อ่านในวงกว้าง หากยากเกินผู้อ่านก็จะไม่เข้าใจ/สนใจ แต่ในขณะเดียวกันก็อาจทำให้ผู้อ่านอีกหลายคนที่หลงเชื่อหลงทาง/เข้าใจผิดๆได้ จริงไหมครับ???
ลุงหมู มีอายุ 54 ปี ใกล้เกษียณ มีเงินเก็บ/ลงทุน และทรัพย์สินมีค่า ที่สามารถนำมาใช้ในการเกษียณได้ในปัจจุบันอยู่ที่ 8 ล้าน ไม่มีครอบครัวภรรยาและลูก ไม่มีพี่น้อง ไม่ต้องรับผิดชอบพ่อแม่แล้ว และที่สำคัญไม่ใช่ข้าราชการที่จะมีบำนาญเลี้ยงชีพ ไม่มีกองทุน PVD ถ้าเกษียณน่าจะได้รับเงินก้อนสุดท้ายจากบริษัท เมื่อรวมกับทรัพย์สินที่มีจะมีรวมประมาณ 9 ล้านบาท กำลังคิดว่าจะ Early Retire ที่ 55 ปีได้ไหม หรือควรต้องทนทำงานต่อไปจนกว่าจะ 60 ปีดี ได้มาขอปรึกษากับ F ให้ช่วยวิเคราะห์หน่อย F ได้ลองคำนวณไปว่าถ้า Early Retire ตอนอายุ 55 และกำหนดตัวแปร อายุขัยโดยเฉลี่ยไว้ที่ 77 ปี ได้ผลดังนี้
- ถ้าเกษียณตอนนี้ แปลว่าต้องดำรงชีพอยู่ 77-55 = 22 ปี
- ดังนั้น เงิน 9 ล้านบาท / 22 ปี = 409,090 บาท/ปี หรือ 34,090 บาท/เดือน
ลุงหมู ก็ดีใจ คิดว่า 34,090 บาท/เดือน เค้าก็พอใช้สบายๆแล้ว เลยเลือกที่จะ Early Retire ตามคำแนะนำของ F
แล้วเรื่องนี้ F ผิดตรงไหน
- ทุกคนคงสังเกตได้ว่า F ไม่ได้คำนึงถึง “ผลกระทบของการเติบโตของราคาสินค้าในอนาคต” ที่ต้องแพงขึ้นแน่ๆ ที่เราเรียกง่ายๆว่า “เงินเฟ้อ” เรื่องนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดนะครับ โดยเฉพาะเมื่อได้คุยสอบถาม และให้คำแนะนำระบุเป็นรายบุคคล เราเรียกว่า “คำแนะนำเฉพาะเจาะจง” F ต้องให้คำแนะนำที่ถูกต้องคำนึงถึงเรื่องต่างๆที่มากพอสำหรับลุงหมู โดยไม่ต้องกังวลว่าลุงหมูจะเข้าใจถึงที่มาที่ไปของตัวเลขไหม ไม่ถึงกับต้องสอนลุงหมูว่าคำนวณมาได้อย่างไร แต่ F ต้องคำนึงถึงความเสี่ยงต่างๆที่มีผลกระทบในอนาคตของลุงหมู และให้ข้อมูลที่ถูกต้อง เหมาะสม เพราะลุงหมูต้องตัดสินใจ และอาจต้องเตรียมเงินให้มากขึ้นก่อนเกษียณ หรืออาจต้องยอมใช้เงินเกษียณปีแรกๆให้น้อยลงเพื่อให้พอในระยะยาว (ในโลก Internet ปัจจุบันมีเยอะมากครับ ที่เป็นแนะนำแบบทั่วไป แต่ก็อาจทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิดได้ เพราะในคำแนะนำเหล่านั้น มีเยอะมากที่ไม่คำนึงถึงเงินเฟ้อ บางบทความหนักกว่านั้น คือใส่ตัวเลขให้ดูดีโดยมีผลตอบแทนจากการลงทุนเพิ่มเข้ามา แต่ไม่คำนึงถึงเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น โอ้มาริโอ อุทานนะ)
- ถ้าลุงหมู ใช้เงินจนหมด ตอนอายุ 77 ปี พอดี แต่ลุงหมูยังแข็งแรงดีอยู่เลย แล้วลุงหมูจะดำรงชีพต่อไปด้วยเงินก้อนไหนต่อดีละครับ เมื่อ F ไม่ได้วางแผนเผื่ออะไรไว้เลย กะว่า 77 ต้องตายแน่แล้ว
- ใช่ครับ คงมีที่ปรึกษาการเงินที่เรียนมา มองเห็นแล้วว่า เงิน 9 ล้านบาท เป็นเงินก้อนใหญ่ ควรคำนวณผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนด้วยสิ ส่วนตัวผมต้องการบอกแบบนี้ครับ จากตัวอย่างทั่วไปที่เจอ การที่ไม่คำนวณผลตอบแทน ก็จะเท่ากับว่าเค้าใช้อัตราผลตอบแทน = 0% แต่ในโลกความจริงเงินก้อนนี้อาจจะฝาก Bank อยู่ก็ได้ ซื้อตราสารหนี้ก็ได้ แล้วได้รับดอกเบี้ยกลับมา 5%-1-2% จะเท่าไรก็ได้ ที่ไม่ขาดทุนก็แปลว่าจะมีกำไรเพิ่มขึ้นจาก 0% แปลว่าลุงหมูจะมีเงินเหลือมากขึ้น ที่จะเตือนคือ ผู้ที่แนะนำแผนการเงินที่ใช้อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนประเภท % สูงๆในการคำนวณ โดยมีความเชื่อมั่นมากว่าการลงทุนที่มีเวลานานมากพอ จะสามารถเลือกการลงทุนที่เป็นความเสี่ยงสูง หรือ Aggressive ได้ หรือการลงทุนในกองทุนรวมจะมี Fund Manager เก่งๆ และมีการทำ Asset Allocation + Diversification ไว้ให้แล้ว แปลว่าโอกาสกำไรสูง ขาดทุนต่ำ ความเชื่อเหล่านี้อาจจะเป็นสิ่งที่จะพาไปสู่หายนะได้ ฝากทุกคนที่เข้าใจแบบข้างต้นอยู่ ลองศึกษาเรื่อง Sequence of Return Risk หรือที่เรียกสั้นๆว่า SOR Risk กันดูนะครับ
- โน้ตไว้ ในการวางแผนจริงๆที่ ไม่ใช่ Single Plan (เป้าหมายเดียว) และ ไม่ใช่คำแนะนำแบบทั่วไป ยังมีรายจ่ายอื่นๆอีกมากที่ต้องคำนึงถึง เช่นค่ารักษาพยาบาล บอกเลยนี้เป็นเงินก้อนที่ใหญ่มาก และจะมีผลกับการใช้ชีวิตหลังเกษียณแน่นอน ที่ F ควรต้องคุยกับลุงหมุเพิ่มด้วย ไม่ใช่จบแค่เงินใช้กินอยู่ตอนเกษียณเท่านั้น
หากมาลองคำนวณกันใหม่ โดยปรับคำแนะนำดังนี้ อายุขัยควรสูงกว่าค่าเฉลี่ยไว้ ขอใช้ 90 ปีเลยละกัน (ระยะหลังเกษียณ = 90-55 = 35 ปี) อัตราเงินเฟ้อ ใช้ 3% และอัตราผลตอบแทนการลงทุน ใช้ 1% ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นอย่างไร ต่างกันหรือไม่???
พบว่า ลุงหมู ตอนอายุ 55 จะสามารถใช้เงินปีแรกได้เพียงปีละ 180,685 บาท หรือ 15,057 บาท/เดือน เท่านั้นครับ แต่ปีถัดไปสามารถถอนได้มากขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ 3% หากต้องการ Early Retire ตอนอายุ 55 ปี
ซึ่งพบว่า คำแนะนำครั้งแรก กับครั้ง 2 ต่างกันเกิน 2 เท่า และลองมองในมุมว่า ลุงหมูเชื่อและตามแนะนำแรกที่ผิด ลุงหมูใช้จ่ายเฉลี่ยเดือนละ 34,090 บาท หรือ 409,090 บาท/ปี แต่จริงๆแล้วสินค้าค่อยๆแพงขึ้นไปตามเงินเฟ้อ 3% ในกรณีนี้ให้ลุงหมูได้กำไรจากการลงทุนที่ 1% เพิ่มด้วย เงินลุงหมูจะหมดก่อนเวลาไหม คำตอบคือ
ลุงหมู เงินจะหมด หลังจากเกษียณไปได้เพียง 18.44 ปี นั้นแปลว่า เงินลุงหมูจะหมด ตอนอายุ 55+18.5 = 73.5 ปีครับ ซึ่งสั้นกว่า 77 ที่เคยคาดการณ์ไว้ด้วย ใครต้องเป็นผู้รับผิดชอบละครับ
คำปรึกษาที่ไม่ใส่ใจความเสี่ยงต่างๆที่มากพอ เช่นเงินเฟ้อ เป็นต้น อาจจะเป็น “น้ำผึ้งอาบยาพิษ” ให้กับลุงหมู ถ้ามีโอกาสครั้งหน้าจะสร้างตัวอย่างของผลจากการวางแผนการเงินด้วยการลงทุนที่อัตราผลตอบแทนสูงๆ ว่าจะมีผลอย่างไร จะพาลุงหมูของเราแย่แค่ไหน
ผู้เขียน อ.ตี๋ ชวลิต ลีลาภรณ์ FChFP CFPÒ IP
เพิ่มเราเป็นเพื่อนได้แล้ววันนี้!....
ทีมงาน INN WHY? รายการเพื่อผู้บริโภค ร่วมปฏิวัติความคิด ปรับเปลี่ยนชีวิต ก้าวสู่ความมั่นคง หลังเกษียณ
ติดตามเราได้ที่ไลน์แอด @INNWHY.TV หรือ Facebook.com/INNWHY.TV และ Youtube.com/c/innwhy
Contact us : INNWHY31@gmail.com