1)อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ไม่ใช่ผู้คิดค้น กฎ 72
กฎข้อ 72 ไม่ใช่เรื่องใหม่ จริงๆ แล้วมีขึ้นในช่วงปลายทศวรรษที่ 1400 เมื่อมีการอ้างอิงในหนังสือคณิตศาสตร์โดย Luca Pacioli อย่างไรก็ตาม กฎนั้นอาจมีย้อนหลังไปไกลกว่านั้นอีก อย่างไรก็ตาม อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ มักได้รับการยกย่องว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ของเขา
2)กฎ 72 มาจากสมการ TVM พื้นฐาน FV = PV(1 + r/100)ᵀ
โดยที่ FV = มูลค่าในอนาคตมีค่าเป็น 2
PV = มูลค่าในปัจจุบันมีค่าเป็น 1
r = อัตราดอกเบี้ย หรืออัตราการเติบโต(%)
T = ระยะเวลา(ปี) ;
T = ln(2) / ln(1 + r / 100)
3)กฎ 72 ให้ค่าประมาณการ ไม่ใช่ค่าที่แม่นยำถูกต้อง 100%
โดยจะให้ค่าแม่นยำที่สุดที่ r = 8% และในช่วง 6%-10% เมื่อ r มีค่าอยู่นอกช่วงดังกล่าว ผลลัพธ์ที่ได้จะคลาดเคลื่อน จึงควรปรับค่าคงที่ 72 เพิ่มขึ้นหรือลดลง 1 หน่วยทุก ๆ 3% ของอัตราดอกเบี้ย ตัวอย่างเช่น
ที่อัตราดอกเบี้ย 14% ซึ่งมากกว่า 8% อยู่ 6% คิดเป็น 2 หน่วย(6/3) จึงควรใช้ 72+2 = 74 แทน 72 คำนวนได้ผลลัพธ์เป็น
= 74/14
~ 5.29 ปี หากไม่ปรับจะได้ผลลัพธ์เป็น 72/14 ~ 5.14 หรือ
ที่อัตราดอกเบี้ย 2% น้อยกว่า 8% อยู่ 6% คิดเป็น 2 หน่วย จึงควรใช้ 72-2 = 70 แทน 72 คำนวนได้ผลลัพธ์เป็น
= 70/2
~ 35 ปี หากไม่ปรับจะได้ผลลัพธ์เป็น 72/2 = 36
ก็ลองนำไปคำนวณบนเครื่องคิดเลขดู แล้วจะเห็นความแตกต่าง แต่ในทางปฏิบัติ ความแม่นยำจะมีนัยสำคัญมากแค่ไหน เพราะ บอกไว้ตั้งแต่ต้นแล้วว่า กฎ 72 คือค่าประมาณ
ถือว่า รู้ไว้ใช่ว่าฯ ล่ะกันครับ
AnnuityMAN
เพิ่มเราเป็นเพื่อนได้แล้ววันนี้!....
ทีมงาน INN WHY? รายการเพื่อผู้บริโภค ร่วมปฏิวัติความคิด ปรับเปลี่ยนชีวิต ก้าวสู่ความมั่นคง หลังเกษียณ
ติดตามเราได้ที่ไลน์แอด @INNWHY.TV หรือ Facebook.com/INNWHY.TV และ Youtube.com/c/innwhy
Contact us : INNWHY31@gmail.com