ติดเกาะโลว์คาร์บอน ตอน : ติดใจ “ปูม้า”เนื้อหวานอร่อย

1

ถ้าพูดถึงแหล่งท่องเที่ยวที่ฟินที่สุดของคนยุคนี้ต้องขอยกให้ “เกาะหมาก” เค้าเลยหล่ะ แม้จะเป็นเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งในจังหวัดตราด แต่ก็ถือว่าเกาะแห่งนี้เป็น Big Idol ด้านการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ สไตล์โลว์คาร์บอน ที่มีกิจกรรมหลากหลายมากมายให้นักท่องเที่ยวฟินกันได้อย่างไม่รู้จบจริงๆค่ะ

2

วันนี้เราจะมาเล่าถึงความฟินที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวแบบปลดปล่อยคาร์บอนในโครงการ Castaway@ Low Carbon Island 2016 ของ อพท. หรือองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) ที่ได้ “พาบล็อกเกอร์ไปติดเกาะโลว์คาร์บอน ในหมู่เกาะทะเลตะวันออก” นานถึง 4 คืน 5 วัน มาฝากกันค่ะ

3

กิจกรรม ติดเกาะโลว์คาร์บอน@เกาะหมาก ครั้งนี้…เราถูกเรียกชื่อว่า…ทีม Eat It Fresh ท่องหมู่เกาะ กินทะลุพิกัด กินอาหารทุกอย่างที่เป็น สูตรลับต้นตำรับโลว์คาร์บอนของเจ้าถิ่นที่นี่!!!…

แค่ชื่อเรียกก็ฟินแล้ว ส่วนอาหารสไตล์โลว์คาร์บอน จะอร่อยแค่ไหนอย่างไร…เราจะนำรสชาติที่ได้ลิ้มลองมาบอกต่อกันค่ะ…

แต่ต้องขอบอกด้วยนะคะว่า ทีม Eat It Fresh แม้ว่าภารกิจหลักจะเที่ยวชิมกินอาหาร ตำรับโลว์คาร์บอนจากเจ้าถิ่นก็จริง แต่พวกเราก็สนใจในแนววิถีธรรมชาติและวิถีชีวิตของชาวประมงด้วยเหมือนกัน

18

เลยตั้งใจไว้ว่า จะขอร่วมทำประโยชน์ซัก 1-2 อย่างให้กับเกาะโลว์คาร์บอน แห่งนี้เพื่อขอเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์น้ำทะเลกับพี่ๆ ชาวเล ที่แต่ละในพื้นที่ล้วนแล้วแต่มากประสบการณ์ในแนวนี้ทั้งนั้น

4

ยิ่งอาหารท้องถิ่นที่นี่  วัตถุดิบปรุงอาหารส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่  ใช้ระบบพึ่งพาการขนส่งวัตถุดิบจากที่อื่นมายัง "เกาะหมาก" น้อยมาก ... พวกเค้าทำได้อย่างไร ? อยู่กันอย่างไร ? เราไปเกาะติดวิถีชุมชนบนเกาะโลว์คาร์บอนแห่งนี้กันนะคะ

55

วันแรกที่เดินทางมาถึงจังหวัดตราดก่อนจะขึ้นเรือไปยัง “เกาะหมาก” ในวันรุ่งขึ้น ทีม Eat It Fresh ได้มุ่งหน้าไปที่ ชุมชนบ้านระวะ ชุมชนที่ประกอบอาชีพประมงมายาวนาน 2-3 ชั่วอายุคน ตั้งอยู่ใน ตำบลแหลมกลัด ห่างจากตัวเมืองตราดไป ประมาณ 30 กิโลเมตร

41

คุณฐิติ ถาวรธนนท์ ประธานกลุ่มอนุรักษ์ประมงชายฝั่งหน้าปากคลองอ่าวระวะ เล่าให้พวกเราฟังว่า สมัยก่อนเคยมีเรือสำเภาบรรทุกข้าวเข้ามาจอดเทียบท่าที่นี่ด้วยและในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ท่านก็ได้เคยเสด็จมาในช่วงที่จังหวัดตราดมีกรณีพิพาทเรื่องดินแดนกับฝรั่งเศส   ระหว่างนั้นพระองค์ท่านทราบเรื่องว่า  ที่นี่ถูกเรียกว่า บ้านซ่องโจร เพราะเป็นที่หลบซ่อนโจร มีการปล้นฆ่า จี้ชิงทรัพย์ ก็ได้ทรงโปรดเกล้าให้  หลวงนาวา  มาเป็นข้าราชบริพารดูแลรักษาความสงบ ประกอบกับบริเวณนี้เป็นแหลมยื่นออกไปในทะเลจึงเรียกชื่อใหม่ว่า “แหลมตรัส” ต่อมาคำพูดเพี้ยนเป็น “แหลมกลัด” อย่างที่เรียกกันในวันนี้

27

วิถีชาวประมงที่นี่จะออกเรือแต่เช้าประมาณตี 5 ครึ่งหรือ 6 โมงเช้า เพื่อหาของทะเลมาดำรงชีพทั้งประกอบอาหารและขายส่ง จากนั้นจะกลับเข้าฝั่งไม่เกิน9 โมงเช้า หลังหุงหาอาหารกินกันอิ่มแล้วก็จะพากันมานั่งซ่อมเครื่องมือประมงเพื่อเตรียมไว้ออกหาปลาหาปูในวันรุ่งขึ้น

43

คุณฐิติ บอกว่า ชุมชนที่นี่ทำ ประมงปูม้า เป็นอาชีพหลัก แต่ด้วยปัจจุบันบ้านเรากำลังรับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน อากาศเปลี่ยนแปลง น้ำทะเลอุ่นขึ้นสัตว์น้ำต่างไหลไปอยู่ในทะเลที่ยังไม่ได้รับผลกระทบชาวบ้านอย่างเราอยู่กับทะเลมานานก็ได้ตระหนักตรงนี้ จึงรวมตัวกันตั้งศูนย์อนุรักษ์ประมงชายฝั่งหน้าปากคลองอ่าวระวะขึ้นมาและทำ “ธนาคารปูม้า เพื่ออนุรักษ์และขยายพันธุ์ปูม้าไม่ให้หมดไปจากทะเล โดยเฉพาะหลังจากปูม้าทำการสลัดไข่ออกมาพวกเราก็จะรีบนำไข่ไปเข้าธนาคารปูเพราะอากาศมีผลต่อไข่ปูม้าว่าจะรอดหรือไม่รอดด้วย

44

การทำ “ธนาคารปูม้า” ไม่ได้เพียงแค่นำ “ไข่ปูม้า” เข้าธนาคารแล้วจบ หากแต่ชาวบ้านก็จะมานั่งปรึกษาหารือกันต่อว่าจะดูแลปูม้าตัวเล็กๆ ให้รอดพ้นปลอดภัยจากปลาใหญ่ๆ หรือสัตว์น้ำตัวใหญ่ไม่ให้มากินปูม้าตัวเล็กๆได้อย่างไร

เนื่องจากปัจจุบัน “หญ้าทะเล” ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของ “ปูม้า” ตัวเล็กๆ ใช้เป็นหลุมหลบภัยจากสัตว์ใหญ่เริ่มลดลง ส่วนหนึ่งนั้นก็มาจากการติดอวนประมงขึ้นมา

31

ชาวบ้านเองก็ได้ตระหนักถึงตรงนี้ร่วมกันต่างก็รวมตัวกันคนละไม้ละมือช่วยกันทำ“หญ้าทะเลเทียม” ขึ้นมาทดแทน ปัจจุบันที่นี่เรียกได้ว่า เป็นแหล่งทำ“หญ้าทะเลเทียม” ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ

24

เมื่อมาถึงถิ่นแล้วไม่สัมผัสวิถีชาวบ้านที่ดูแลธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอาจทำให้เที่ยวไม่สนุกสุดๆ ทีม Eat It Fresh เลยขอร่วมทดลองฝึกทำ “หญ้าทะเลเทียม” กับชาวบ้านกันทำแล้วสนุกค่ะ ชาวบ้านมีอัธยาศัยดีมากเป็นมิตรและยิ้มแย้มแจ่มใส พร้อมที่จะฝึกสอนให้พวกเรารู้จักเรียนรู้ เลยทำให้บรรยากาศวันนี้เต็มไปด้วยความสนุกสนาน ยิ่งคนชอบกินปูอย่างเราก็ไม่อยากให้ปูหมดไปจากทะเล   อยากให้อยู่คู่กับธรรมชาติที่นี่ไปอีกยาวนาน ถ้าใครมาเที่ยวแล้ว สนใจอยากร่วมทำกิจกรรมดีๆ แบบนี้ เพื่อช่วยกันร่วมอนุรักษ์ปูม้าก็มาขอร่วมกิจกรรมกันได้นะคะ 
หลังจากทำ “หญ้าทะเลเทียม” เสร็จคุณฐิติบอกว่า ชาวบ้านก็จะนำไปวางในทะเล แบบไม่ให้ระบบนิเวศเสียหาย คือ วางตามทิศทางการไหลของน้ำและต้องไม่วางกีดขวางการทำมาหากินของชาวบ้านด้วย

29

ดังนั้น คนที่ชอบกินปู  คุณฐิติ ไม่ขออะไรมาก เพียงให้นึกถึงว่า “การจะกินปูหนึ่งตัวให้นึกถึงหัวใจคนอนุรักษ์ปูด้วย”

 

22

เคล็ดลับกิน “ปูม้า” สดอร่อยได้ใจ

ก่อนจะกินปูม้าให้อร่อยได้ใจนั้น คุณฐิติ บอกว่าเราต้องรู้และเข้าใจถึงวงจรธรรมชาติของปูม้าก่อน ว่า ในช่วงฤดูฝน ความเค็มของน้ำทะเลจะลดลง ปูม้าก็จะเริ่มอพยพออกไปจากอ่าว

พอเข้าสู่ ช่วงปลายฤดูฝนคือช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม น้ำเค็มเริ่มกลับมา ปูม้าและสัตว์น้ำอื่นๆก็จะกลับเข้ามาวางไข่     ใครก็ตามที่จะมากินปูม้าช่วงปลายฤดูฝนนี้บอกได้เลยว่าเนื้อปูจะไม่อร่อย เนื้อจะไม่หวานมากนักเค้าเรียกว่า ปูนอกเข้าในรสชาติไม่ดี

แต่ถ้าอยากจะกินปูให้อร่อย แนะนำให้กิน ช่วงเดือนมีนาคม เมษายนและพฤษภาคม เพราะปูม้าที่นี่จะเติบโตในป่าชายเลน อ่าวที่นี่มีความสมบูรณ์มาก มีน้ำจากคลองหลายสายไหลมาบรรจบกัน ทำให้น้ำทะเลที่นี่มีอาหารและแพลงตอนอุดมสมบูรณ์ และกลายเป็นแหล่งอาหารชั้นดีให้กับปูม้า

ดังนั้น ถ้าใครกินปู ให้กินช่วงนี้ เราจะได้รสอร่อยของเนื้อปูที่มีความหวานจากที่พวกเขาได้กินอาหารดีๆ จากท้องทะเลที่นี่ แม้ว่า ปูม้าของที่นี่ตัวจะไม่ใหญ่ก็ตามแต่อร่อยไม่เหมือนใคร (ปูตัวใหญ่ๆ ใช่ว่าจะเนื้อหวานอร่อยเสมอไป)

ส่วนการเลือกซื้อปูม้าเพื่อให้ได้ความอร่อยนั้น มีวิธีสังเกตก่อนซื้อแบบง่ายๆ ว่า ถ้าไปซื้อแล้วพ่อค้าบอกว่า เป็นปูจากป่า (ป่าโกงกาง) ก็พยายามเลี่ยงเพราะป่าโกงกางแหล่งอาหารจะไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ แต่ถ้าบอกว่าปูติดอวนรับรองอร่อยแน่เพราะปูมาจากป่าชายเลนซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่มีความอุดมสมบูรณ์

6

เมื่อได้ปูม้าสดๆมาแล้วขอแนะนำว่า ให้ต้มในหม้อหรือกระทะก็ได้ ใส่น้ำพอประมาณไม่ต้องมาก   กะท่วมแค่หลังกระดองปูก็พอ นานสัก 10-15 นาที เราจะได้กินปูที่เนื้อนิ่มหวานตามธรรมชาติ

เรียกว่า กินปูต้มแบบไม่ต้องมีน้ำพริกเกลือก็อร่อย ให้ความรู้สึกว่า  ได้กินปูจริงๆ  แต่สำหรับบางคนติดน้ำพริกเกลือว่าต้องจิ้มด้วยแล้วจะยิ่งอร่อยคูณสอง ส่วนปูนึ่ง ชาวประมงที่นี่ไม่ค่อยนิยมทำกินในแบบนึ่งและผัด เพราะเนื้อปูที่ได้จากการนึ่งเวลากินเนื้อจะกระด้างกว่าต้ม

 

42

66

จากนั้นคุณฐิติ  ได้พาพวกเราออกทะเลไปกับเรือประมงที่ใช้หาปลา  พาไปดูธรรมชาติ ความอุดมสมบูรณ์ของทะเล ทำให้เราได้รู้อีกอย่างหนึ่งว่า นอกจากชาวประมงจะมีอาชีพหลักจับปูม้าแล้วยังเลี้ยงหอยแมลงภู่ในกลางทะเลเป็นแพยาวเพื่อการเลี้ยงชีพอีกด้วย

19

21

35

1

หลังจากกลับจากทะเลพี่ๆ  ชาวเลที่นี่ใจดี นำ “ปูม้า” ที่จับมาได้ พร้อมกับ “กุ้งขาว” ตัวใหญ่ๆ มาทำเป็นอาหารเมนูโลว์คาร์บอนให้พวกเราได้ร่วมวงกินด้วยอย่างเอร็ดอร่อย

16

12

กลายเป็นว่า เย็นนี้ภารกิจของ ทีม Eat It Fresh ตะลุยกินในถิ่นซีฟู้ด มีทั้งหมด 4 เมนูที่ปรุงจากวัตถุดิบในท้องถิ่น คือ ปูม้าต้ม+น้ำพริกเกลือ  กุ้งขาวลวก และยำปูม้าสดๆใส่มะม่วงเปรี้ยว รสชาติอื้อหือมมมม  ต้องมาชิมเองค่ะ 

8

ที่อร่อยจี๊ดดดสุดคือ น้ำพริกเกลือ รสเผ็ด จัดจ้าน เปรี้ยวนำ กินกับปูต้มหวานๆ หรือกุ้งขาวลวก รสชาติแซ่บบบจริงๆค่ะ ขอบอก !!!

ส่วนเมนูที่4 ทีม Eat It Fresh ได้ร่วมแจมทำ กุ้งอบเกลืแม้ว่าเราจะใส่เกลือเค็มไปนิดแต่กินกับข้าวก็อร่อยเด็ดไม่แพ้เจ้าถิ่นค่ะ

36

สรุปว่า ภารกิจแรกของทีม Eat It Fresh ตะลุยกินในถิ่นซีฟู้ด กินอาหารสไตล์โลว์คาร์บอน ก็สำเร็จลงได้ตามเป้าหมายค่ะ.

#TeamEatItFresh#LowcarbonAtkohmak#CastawayAtKohmak #ติดเกาะโลว์คาร์บอน

Cr. http://raveetawan.bloggang.com

เพิ่มเราเป็นเพื่อนได้แล้ววันนี้!....