จากผลงานโฆษณาล่าสุดของ “บริษัท โตเกียวมารีน ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)” ได้เปลี่ยนแนวไปสู่ “การเล่าเรื่อง” ผ่าน “ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน” ผู้ดำเนินรายการ Podcast 8 Minute History ในเว็บไซต์และช่องยูทูบของ The Standard หลายคนรู้จักเขาในบทบาทของ “นักเล่าเรื่อง” เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทั่วทุกมุมโลกให้กลายเป็นสิ่งที่เข้าใจง่ายนั้น

            ต้องกล่าวว่ามีความลึกซึ้งถึงที่มาที่ไปของ “โตเกียวมารีน” ตั้งแต่ตัวผู้ก่อตั้งในอดีตจนถึงบทบาทบริษัทในสังคมปัจจุบัน เราได้มองเห็น “รากเหง้า” ที่หยั่งลึกด้วยประวัติศาสคร์ความเป็นมาและการแผ่กิ่งก้านใบสาขาใหญ่โตให้ร่มเงามั่นคง ยืนยาว บนปณิธานการทำธุรกิจที่ยึดคำมั่นสัญญามาจวบจนทุกวันนี้

            โดยเรื่องเล่าที่ “ดร.วิทย์” นำมาเล่าในครั้งนี้เริ่มเล่าถึงประเทศญี่ปุ่น ที่ญี่ปุ่นถือเป็นชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ มาอย่างยาวนานนับตั้งแต่ การปฏิรูปเมจิ สืบมาจนวันนี้ ที่มีขนาดเศรษฐกิจอันดับที่ 3 ของโลก

หากว่าเรามอง ธนบัตรราคา หมื่นเยนของญี่ปุ่น รุ่นใหม่ที่เริ่มใช้เมื่อต้นเดือน กรกฎาคมที่ผ่านมา แทนเวอร์ชั่นเดิมที่ใช้กันมา 40 ปี หรือ 1984  เราอาจจะสงสัยว่า ใครคือบุคคลที่อยู่บนธนบัตรรุ่นใหม่นั้น ที่มาแทนที่ของ Yukichi Fukuzawa ที่เราเห็นจนชินตานั้นคือท่านใด

คำตอบคือ Shibusawa Eichi (ชิบุซาวะ เออิจิ) ผู้ที่ได้รับการขนานนามว่าเขาคือ “บิดาแห่ง ทุนนิยมญี่ปุ่น” นอกเหนือไปจากการ ผสมผสานทุนนิยมตะวันตกในยุคที่ญี่ปุ่นกำลังพัฒนาประเทศในแนวทางทันสมัยอย่างตะวันตก เข้ากับวัฒนธรรมขงจื๊อ และหลักคุณธรรมของสังคมญี่ปุ่นเข้าด้วยกัน

นอกเหนือจาก นวัตกรรมสังคมเศรษฐกิจการค้าและธุรกิจหลากหลายของท่านแล้ว หนึ่งในนั้นคือการก่อตั้งบริษัทประกันภัยแห่งแรกของญี่ปุ่นทีมีชื่อว่า “โตเกียวมารีน” อีกหนึ่งในเสาหลักที่คอยรับประกันความมั่นคงให้กับสังคมญี่ปุ่น ตั้งแต่ยุค เมจิ จวบจนยุค ดิจิทัล ในศตวรรษที่ 21 ที่สังคมวิวัฒน์ไปมากมายมหาศาล

วันนี้เราจะมาไล่เลียง ประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของ “โตเกียวมารีน” บริษัทประกันแห่งแรก ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น และกลุ่มประกันระดับท้อปเทนของโลก ที่มีรากฐานยาวนานไม่แต่เพียงในสังคมญี่ปุ่น หากแต่ในประเทศไทยก็มีรากฐาน วิวัฒนาการของบริษัทที่ผ่านความท้าทายมายาวนาน ถึง 145 ปี  หากแต่ยังมีความพร้อมสำหรับสังคมในศตวรรษของเรา ที่ มีความท้าทายจากหลากหลายประการ รวมถึง “สังคมสูงวัย” ที่เป็นข้อห่วงกังวลสำคัญ ไม่แต่เพียงในญี่ปุ่น แต่ในประเทศไทยอีกด้วย

หากจะพูดถึง การพัฒนาของสังคมญี่ปุ่น จุดเริ่มต้นก็จะมาจากการปฏิรูปเมจิ ที่เริ่มต้นในปี 1867 หากว่าเทียบกับไทม์ไลน์ประวัติศาสตร์ไทยก็คือ ตรงกับช่วงเปลี่ยนผ่านจากรัชสมัย ร.4  เข้าสู่การเริ่มต้นรัชสมัย ร. 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ในยุคดังกล่าวญี่ปุ่นต้องการพัฒนาประเทศให้ทันสมัย ตามแนวตะวันตก การนำเข้าวิทยาการตะวันตก การพัฒนาอุตสาหกรรม ที่เรียกว่า Modernization, Westernization และ Industrialization และแน่นอน การใช้เศรษฐกิจทุนนิยม ที่รวมถึง ระบบการเงินการธนาคาร และ เมื่อโลกนี้มีความไม่แน่นอน กิจการ “ประกันภัย” จึงเริ่มต้นขึ้นในญี่ปุ่นเช่นเดียวกัน

ในยุคดังกล่าวที่ การเดินเรือ ถือเป็นเส้นเลือดสำคัญของการค้าโลก (ที่จริงๆปัจจุบัน การขนส่งทางเรือก็ยังคงสำคัญที่สุด) ทำให้ญี่ปุ่นเองตระหนักถึงการสร้างหลักประกันให้กับการสัญจรทางเรือ ที่แน่นอนว่ามีปัจจัยที่มีความเสี่ยงนานับประการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสภาพภูมิอากาศ คลื่นลมในทะเล และอีกหลากหลายประการ ดังนั้น กิจการประกันวินาศภัยในญี่ปุ่นจึงเกิดขึ้น และ นั่นคือ จุดเริ่มต้นของ โตเกียวมารีน ที่เริ่มต้นในรัชสมัยของ พระเจ้า มัตสึหิโตะ ในรัชจักรพรรดิเมจิปีที่ 12  ตรงกับปี ค.ศ. 1879

“คำว่า มารีน” ก็ ไม่น่าแปลกใจเพราะ การประกันวินาศภัยหลัก คือการประกันภัยของการเดินเรือเป็นหลักนั่นเอง แต่แน่นอนว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่น ขยายตัวขึ้น ก็ทำให้ ผลิตภัณฑ์ประกันภัยของ โตเกียวมารีน ขยายแตกไลน์ออกไปคุ้มครองสิ่งอื่น ไม่แต่เพียงเท่านั้น การปฏิรูปเมจิ ทำให้ ญี่ปุ่นขยายการค้า ของตนเองไปยังประเทศอื่น โตเกียวมารีน ก็จึงขยายกิจการไปยังประเทศอื่นๆตามไปด้วย

กิจการของ “โตเกียวมารีน” เติบโตและสอดรับไปกับจังหวะการเติบโตที่แสนจะไดนามิกของสังคมญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นการเล็งการไกล ที่เริ่มต้นออกกรมธรรม์ประกัน รถยนต์ในปี 1914 กล่าวคือช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ทั้งๆที่ ตอนนั้นรถยนต์ทั้งญี่ปุ่นมีเพียงแค่พันกว่าคัน เพราะเป็นเพียงแค่ยุคเริ่มต้นของอุตสาหกรรมรถยนต์โลก

แม้ว่าญี่ปุ่นจะมีพัฒนาการต่อเนื่อง และกลายมาเป็นมหาอำนาจโลก หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และต้องการที่จะทำให้ “โตเกียว” เป็นมหานครอันดับต้นของโลกเคียงคู่กันกับลอนดอน ของ British Empire แต่แล้วในปี 1923  ญี่ปุ่นประสบกับภัยพิบัติครั้งใหญ่ และนั่นคือ “แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ณ ที่ราบ คันโตะ” ส่งผลให้ ทุกสิ่งที่สร้างขึ้นมาตังแต่ต้นของ การปฏิรูปเมจิ ต้องพังพินาศลงเพราะมหาธรณีพิโรธที่เรียกกันว่า แผ่นดินไหวคันโตะ

หากว่า ไม่มีหลักประกันใดๆ การกลับมาของเศรษฐกิจญี่ปุ่นคงไม่ง่ายนัก แต่ว่า ญี่ปุ่นเองมีหลังพิงส่วนหนึ่งและนั่นก็คือ โตเกียวมารีน บริษัทประกันวินาศภัยที่ทำให้การคุ้มครองผู้ประสบภัยจนกระทั่ง ไม่จำเป็นต้องรับความช่วยเหลือจากภาครัฐ และทำให้ญี่ปุ่นสามารถฟื้นตัวกลับมาได้อย่างรวดเร็ว

อย่างที่ทราบว่า ญี่ปุ่นนับแต่การปฏิรูปเมจินั้น มิได้จำกัดบทบาทของตนเองแต่ใน ญี่ปุ่น หากแต่มีการขยายการค้า ไปยังประเทศต่างๆทั่วโลก กิจการของโตเกียวมารีนเองก็เช่นกันที่เดินหน้าเข้าไปทำธุรกิจในหลากหลายประเทศในแทบจะทุกภูมิภาคทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นที่เซี่ยงไฮ้ และฮ่องกงในปี 1880, ตามด้วยยุโรป ลอนดอน ปารีส หรือแม้แต่ นิวยอร์ค ในอีกฟากหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิก กล่าวคือสหรัฐอเมริกา

สิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นในสมรภูมิแปซิฟิก สิงหาคม 1945 เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว พวกเขาสร้างมหัศจรรย์ให้โลกเห็นอีกครั้งด้วยการ ญี่ปุ่นกลับมากลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ด้วยการส่งออกสินค้าหลากหลายประเทศกลายเป็นประเทศส่งออกใหญ่ของโลกใบนี้ ไม่ว่าจะเป็นสินค้า ไมโครอีเล็กโทรนิกส์, ยานยนต์ เทคโนโลยีนับไม่ถ้วน

แน่นอนว่า ควบคู่ไปกับ การเติบโตของเศรษฐกิจก็ย่อมต้องมี อุตสาหกรรมประกันควบคู่ไปด้วย โตเกียวมารีนกลับมาดำเนินธุรกิจในต่างประเทศในช่วงทศวรรษ 50 ที่ก็สอดคล้องกับ การขยายการค้าการลงทุนของญี่ปุ่นหลังยุคสงครามโลก รวมถึงการเข้าสู่การดำเนินการรับประกันภัยที่ สหรัฐและยุโรปในปี 1956 หรือแม้แต่ในบราซิลที่ไกลโพ้นในปี 1959

ในภูมิภาค เอเชียอาคเนย์ ก็เช่นเดียวกันที่ เศรษฐกิจในหลายประเทศเริ่มต้นเติบโต “โตเกียวมารีน” ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยในสิงค์โปร์ 1957 และแน่นอนว่าหนึ่งในประเทศที่มีพัฒนาทางเศรษฐกิจรวดเร็วในภูมิภาคก็คือประเทศไทย ที่มีการพัฒนาที่รุดหน้า การลงทุนกับโครงสร้างพื้นฐาน การตัดถนน ระบบไฟฟ้าระบบน้ำปะปา และอุตสาหกรรมต่างๆมากมาย โตเกียวมารีนเริ่มต้นการทำธุรกิจในบ้านเราในปี  1971 หรือว่า 2514 โดยได้เข้ามาเริ่มดำเนินธุรกิจประกันวินาศภัยภายใต้ชื่อปัจจุบัน “บริษัท คุ้มภัยโตเกียวมารีนประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)”

แต่คงไม่แต่เพียงแค่ ประกันวินาศภัย หากแต่ คนญี่ปุ่นที่มีฐานะดีขึ้นเรื่อยๆ ผนวกกับการเป็นชนชาติที่มีวินัยทางการเงิน การเก็บออม ทำให้พวกเขาตระหนักถึง “ความมั่นคงในชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยเกษียณ” ยิ่งคนญี่ปุ่นเป็นชาติที่มีอายุยืน ถึงแม้ว่าจะได้รับการดูและเป็นอย่างดีโดยสวัสดิการของรัฐ พวกเขาก็ไม่ประมาท ตระหนักถึง ความสำคัญของ “หลักประกันชีวิต” เมื่อยามเกษียณ ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ คนญี่ปุ่นจะเป็นชาติที่ถือกรมธรรม์ประกันชีวิตเฉลี่ยมากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของโลก

เพื่อตอบโจทย์ เทรนด์นี้ ในปลายทศวรรษที่ 90 ญี่ปุ่นแก้ไขกฎหมายให้ บริษัทสามารถประกันวินาศภัยขยายธุรกิจ สู่ “ประกันชีวิตได้” โตเกียวมารีนก็ ก้าวสู่ธุรกิจประกันชีวิตต่อมาในปี 1996 อีก 6 ปีต่อมาคือ 2003  โตเกียวมารีน ได้จัดตั้ง บ. โฮลดิ้งส์ประกันชีวิตแห่งแรกของประเทศญี่ปุ่น ที่ต่อมาใช้ชื่อว่า “โตเกียวมารีนโฮลดิ้งส์” และ 2 ปีต่อมา 2004 ควบรวมบริษัท โตเกียวมารีน กับ นิชิโด ไฟร์ ภายใต้ชื่อ “โตเกียวมารีนนิชิโด” ขยายธุรกิจหลากหลายรวมถึงในประเทศไทยเราด้วย

ในแง่การดำเนินธุรกิจ “ประกันชีวิต” ประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกที่โตเกียวมารีน เริ่มต้นแตกไลน์ทำธุรกิจประกันชีวิต ในประเทศไทย ปี 2001 หรือ 2543 เป็นช่วงที่รัฐบาลได้ให้ใบอนุญาตการทำธุรกิจประกันชีวิตเพิ่มเติมจากเดิม 13 บริษัทเป็น 26 บริษัท ในตอนนั้น โตเกียวมารีนได้เริ่มต้นเข้าสู่ธุรกิจประกันชีวิต โดยร่วมทุนกับ “ไทยเจริญประกันชีวิตจำกัด (มหาชน)” ภายใต้ชื่อ “มิลเลีย ไลฟ์อินชัวรันซ์” จำกัด (มหาชน)” ก่อนที่จะเป็นชื่อ “บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)”

ซึ่งหลังจากที่ประสบความสำเร็จมีประสบการณ์จากการทำธุรกิจประกันกลุ่มมาแล้วกว่า 1 ทศวรรษ ในปี 2553 โตเกียวมารีนประกันชีวิต ได้ขยายช่องทางการทำธุรกิจประกันชีวิตในช่องทางตัวแทน ภายใต้การนำของ “ดร.สมโพชน์ เกียรติไกรวัล” ประธานที่ปรึกษาสำนักกรรมการผู้จัดการ และสายงานตัวแทน ผู้ริเริ่มรณรงค์เรื่องวางแผนเกษียณในสมัยนั้น

ด้วยการจุดประกายแนวคิดการขายให้พลังตัวแทนฝ่ายขายได้เห็นถึงความสำคัญของการนำเสนอขายผลิตภัณฑ์ที่ชื่อว่า Pension Choice เพื่อให้ประชาชนเตรียมความพร้อมรับมือด้านการเงินในชีวิตหลังเกษียณ ภายใต้แนวคิด “การมีอายุยืนคือความเสี่ยง” และ เริ่มตั้งคำถามกับคนในสังคมไทยว่าอยากมีชีวิต “อยู่แบบเสี่ยหรืออยู่แบบเสี่ยง” ซึ่งแน่นอนว่าการมีอายุยืนแต่ไม่มีเงิน ชีวิตไม่ใช่เสี่ยแน่ๆ แต่ชีวิตมีความเสี่ยงแน่นอน

จากปี 2553 จนถึงปัจจุบันผ่านมาสิบกว่าปี ลูกค้าที่ทำประกัน Pension Choice ในยุคนั้นจำนวนไม่น้อย เริ่มได้รับเงินบำนาญคืนจากบริษัทเป็นประจำทุกปี และจะได้รับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปีปีละ 0.5% เพื่อต้านภาวะเงินเฟ้อ และลูกค้าจะได้รับเงินบำนาญคืนยาวนานไปจนถึงอายุ 90 ปี แน่นอนว่าลูกค้าที่ได้รับเงินบำนาญคืนเป็น Passive Income ลักษณะนี้ต่างพึงพอใจกับแบบประกัน Pension ของโตเกียวมารีนเป็นอย่างมาก โดยปัจจุบันผลิตภัณฑ์ดังกล่าวก็ยังคงได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และแน่นอนว่าด้วยความที่โตเกียวมารีนเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนบำนาญจากประเทศญี่ปุ่น ย่อมเป็นต้นแบบที่ตอบโจทย์ที่ดีให้กับคนไทยที่ก็เข้าสู่ สังคมผู้สูงวัย

เพราะนอกจากแบบประกัน Pension แล้วโตเกียวมารีนประกันชีวิต ยังมีแบบประกันที่เรียกว่า Perfect Annuity ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้นอกจากตอบโจทย์เรื่องเงินคืนแบบ Passive Income หลังเกษียณจนถึงอายุครบ 90 ปีแล้ว เบี้ยประกันที่ชำระยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีกับสรรพากรได้สูงสุดรวมถึง 300,000 บาท ซึ่งถ้าใครที่เสียภาษีในฐานสูงๆ และยังไม่เคยทำประกันชีวิต แนะนำอย่างยิ่งว่าไม่ควรพลาดแบบประกัน Perfect Annuity ที่สามารถสมัครทำประกันได้ง่ายๆ โดยไม่ตรวจหรือตอบคำถามสุขภาพให้ยุ่งยาก ซึ่งคนที่จะทำประกันชีวิตหลายคนอาจสงสัยเรื่องประเด็นปัญหาสุขภาพ บอกได้เลยว่าไม่ต้องกังวล ถ้าเป็นแบบ Perfect Annuity โตเกียวมารีนประกันชีวิต รับทุกกรณี

คนส่วนใหญ่มักจะชอบคิดว่า การซื้อกรมธรรม์สำหรับเตรียมการเกษียณอายุนั้น เป็นเรื่องไกลตัว ยังอีกนาน แต่ความจริงคือ การเตรียมวางแผนทางการเงินเพื่อใช้ชีวิตวัยเกษียณสำราญ ไม่ใช่จะไปเริ่มตอนใกล้ ๆ เกษียณ เพราะถึงตอนนั้นอาจสายเกินไป ควรต้องเริ่มตั้งแต่เนิ่นๆ หรือแม้แต่ “เริ่มให้เร็วที่สุด” เพราะ ตัวเราในวัยทำงานที่แข็งแรงและมีศักยภาพในการหารายได้คือ ผู้สร้างหลักประกันให้กับตนเองในยามเกษียณ  

ชาวญี่ปุ่นในฐานะผู้ที่มีความรอบคอบมาก และอุปนิสัยเก็บออม และวางแผนชีวิตเอาไว้เป็นอย่างดี ตระหนักถึงอีกสิ่งหนึ่งคือ Wealth span หรือฐานะทางการเงินที่ดีเพียงพอที่จะรองรับ อายุที่ยืนขึ้นและความเสี่ยงต่อสุขภาพที่มีมากขึ้น ทำให้พวกเขาวางแผนดูแลตนเองหลังเกษียณด้วยตัวเอง ระหว่างที่ตัวเองอยู่ในวัยทำงาน

หนึ่งในกลไกที่คนญี่ปุ่นใช้ก็คือ การวางแผนทางการเงินด้วยผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น “การลงทุน ในหลากหลายผลิตภัณฑ์การลงทุน” “การมีกรมธรรม์ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ประกันสะสมทรัพย์ ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ” เพื่อจะไม่ต้องเป็นภาระให้กับ บุตรหลานต้องมาดูแลตนเอง, หรือแม้แต่รัฐ

อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ก้าวข้ามกรอบของ “การประกันชีวิต” แบบเดิม ๆ ก็คือแบบประกันประเภทควบการลงทุน เพราะผู้ถือกรมธรรม์ สามารถนำเงินไป “ลงทุน” สร้างผลตอบแทนควบกับการประกันที่ให้ความคุ้มครองได้ควบคู่กันไปด้วย ที่จะทำให้ ผู้วางแผนการเงินสามารถ ได้ทั้ง “การคุ้มครองชีวิต” และ “ผลตอบแทนจากการลงทุน”

จุดเด่นของกรมธรรม์ประเภทควบการลงทุน หรือ “ยูนิต ลิ้งค์” คือ “ความยืดหยุ่นของการจัดการ” ที่สามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ได้ตลอดต่อเนื่อง แถมสามารถ ปรับลดและ หยุดพักชำระเบี้ยประกันได้ แต่ที่พิเศษไปกว่านั้นสำหรับ โตเกียวมารีนประกันชีวิต เป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งแรกที่พัฒนาแบบประกันควบการลงทุนที่ชื่อว่า “โตเกียว บียอนด์”

บนความพิเศษของ โตเกียว บียอนด์ ที่ไม่เหมือนใครคือ บริษัทไม่คิดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการประกันภัยสำหรับเบี้ยประกันภัยหลักเพื่อความคุ้มครอง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วในตลาดจะมีการคิดค่าธรรมเนียมในส่วนนี้แตกต่างกันไปบางที่ 40% บางบริษัท 50% หรือบางบริษัทสูงกว่า 50% ก็ยังมี แต่โตเกียวมารีนประกันชีวิต ไม่คิดค่าธรรมเนียมในส่วนนี้ คือค่าธรรมเนียม 0%

ซึ่งถือเป็นประโยชน์ต่อผู้ซื้อประกันอย่างมาก เพราะเบี้ยประกันที่จ่ายจะถูกหักเฉพาะส่วนที่เป็นความคุ้มครอง และที่เหลือทั้งหมดจะนำไปลงทุนได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย ซึ่งถือว่าเป็นทางเลือกที่เหนือกว่าคู่แข่งโดยสิ้นเชิงแต่ทั้งนี้มีเงื่อนไขเดียวที่ผู้เอาประกันต้องรับทราบไว้ คือถ้าจะเวนคืนกรมธรรม์ก่อนชำระเบี้ยครบ 11 ปี จะถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการเวนคืน ซึ่งประเด็นนี้ทุกบริษัทมีการกำหนดระยะเวลาไว้แตกต่างกัน

ดังนั้นผู้ถือกรมธรรม์ควรศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนตัดสินใจทำประกัน แต่สำหรับโตเกียว บียอนด์ ไม่คิดค่าธรรมเนียมในปีแรก และถ้าชำระเบี้ย 11 ปีขึ้นไป ก็จะสามารถเวนคืนกรมธรรม์เต็มตามมูลค่ารับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยไม่ถูกหักค่าธรรมเนียมการถอนเงินคืนจากกรมธรรม์ ซึ่งระยะเวลา 11 ปี ก็เป็นธรรมดาของการทำประกันชีวิตส่วนใหญ่ก็จะถือกันยาวเกิน 10 ปีขึ้นไปอยู่แล้ว   

            โตเกียว บียอนด์ จึงเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตควบการลงทุน ที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับคนรุ่นใหม่เมื่อเริ่มมีรายได้ ก็ควรวางแผนความคุ้มครอง และเก็บออมพร้อมทั้งลงทุนเพื่อโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงขึ้นในระยะยาว ซึ่งแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบในอดีตที่การันตีผลตอบแทนซึ่งก็อาจจะได้สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร แต่แน่นอนว่าก็จะไม่ได้รับโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนที่สูงมากขึ้นในระยะยาว

คนในวัยทำงาน ที่กำลังมีความมั่งคั่ง วันที่ “เป็นวันของเรา” ไม่มีใครคิดว่า โชคร้ายจะเกิดขึ้นกับตนเอง แต่หากว่า สิ่งไม่คาดคิดเกิดขึ้นแล้ว เรา… “มีหลังพิง มีหลักประกัน” ย่อมต้องดีกว่า หลายๆ คนมักคิดว่าปัญหาสุขภาพเป็นเรื่องที่จะไม่เกิดขึ้นกับตนเอง แต่บ่อยครั้งเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณแล้ว กลับพบว่ามันสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนและทุกเมื่อ หากว่าไม่มีการเตรียมการเอาไว้ล่วงหน้าเพื่อดูแลสุขภาพ จะนำมาซึ่งปัญหา เพราะ Health is Wealth สุขภาพคือความมั่งคั่งรูปแบบหนึ่ง หรือภาษาไทยว่า “อโรคยา ปรมาลาภา” การเผชิญหน้ารับกับสิ่งที่ไม่คาดคิด ความไม่แน่นอนในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัญหาสุขภาพ ปัญหาอื่นๆที่อาจไม่คาดฝัน คือสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน

ในเรื่องของการประกันสุขภาพ โตเกียวมารีนประกันชีวิต ก็มีผลิตภัณฑ์ที่ภูมิใจนำเสนอคือ “โตเกียว กู๊ดเฮลธ์” แบบประกันที่ดีที่สุด ตอบโจทย์ความคุ้มครองสุขภาพคุ้มค่า ด้วยวงเงินความคุ้มครองแบบเหมาจ่าย ที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้ง ผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน ตรวจสุขภาพประจำปี การฉีดวัคซีน ด้วยเบี้ยประกันที่เริ่มต้นวันละไม่กี่สิบบาท แต่ให้วงเงินคุ้มครองตั้งแต่ 500,000 บาท จนถึง 120 ล้านบาท ที่พิเศษไปกว่านั้นหากเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง 18 โรค เช่น โรคมะเร็ง วงเงินค่ารักษาจะเพิ่มให้เป็น 2 เท่า สูงสุดถึง 240 ล้านบาท โดยแบบประกันนี้ให้ความคุ้มครองยาวนานจนถึงอายุ 85 ปี

โบราณว่า “คนคำนวน ไม่อาจสู้ฟ้าลิขิต” ทุกคนอย่างให้ชีวิตราบรื่น แต่บางสิ่งอยู่เหนือการควบคุมของตัวเรา ดังนั้น “หลักประกัน” กับ บริษัทที่เราไว้ใจ คือสิ่งที่เราสามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเราเองในวันที่เราพร้อม ให้โตเกียวมารีน มาเป็นหลักประกันของท่านเพื่อ .. ให้ท่านมีชีวิตที่ดีแบบเสี่ย และไม่ต้องอยู่แบบเสี่ยงอีกต่อไป

เมื่อไล่เลียงไทม์ไลน์กันมาถึงสหัสวรรษใหม่แล้ว จะพบว่า เมือยุคสมัยเปลี่ยนไป  ความไม่แน่นอนก็มีรูปแบบที่แตกต่างไปจากเดิม เข้าสู่สหัสวรรษใหม่ เศรษฐกิจเติบโต ผู้คนมีความมั่งคั่งมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ตระหนักถึงเรื่องการวางแผนทางการเงิน รองรับชีวิตที่ไม่แน่นอน รวมถึงชีวิตหลังเกษียณ  … ด้วยเหตุที่ว่า เมื่อโลกมีวิวัฒนาการที่สูงขึ้นผู้คนมีอายุยืนยาวมากขึ้น Life Span ยาวขึ้น มีความหมายว่า การวางแผนการเงินหลังการเกษียณต้องรองรับชีวิตที่มีช่วงเวลายาวขึ้นไปด้วย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสังคมญี่ปุ่นแล้ว อัตราการเกิดต่ำลง ผู้สูงอายุมีอายุยืนขึ้น ทำให้สัดส่วนของผู้สูงอายุในญี่ปุ่นสูงขึ้นแน่นอนว่า “หลักประกันชีวิต” ย่อมต้องทวีความสำคัญมากขึ้นสิ่งนี้มิใช่ปรากฎการณ์เฉพาะในญี่ปุ่น หากเป็นปรากฎการณ์ที่ หลายๆประเทศรวมถึงสังคมไทยเผชิญอยู่

สังคมหลายๆประเทศกลายมาเป็น “สังคมผู้สูงอายุ” aging society มีความหมายว่าสัดส่วนประชากรที่มีอายุเกินกว่า 60 ปี เพิ่มมากขึ้นจนเกิน 20% เช่นในกรณีของไทย หรือแม้แต่ เกินกว่า 25% ในกรณีสังคมญี่ปุ่น

อัตราการเกิดที่ต่ำลง ผู้สูงอายุก็มีอายุยืนมากขึ้น แต่ในบางกรณี อายุที่ยืนขึ้นหรือ Lifespan ที่ยาวขึ้นมิได้หมายถึง Healthspan ที่ดีขึ้นตามไปด้วย บางคนอายุยืน แต่ว่า ช่วงหลังเกษียณ พบกับปัญหาสุขภาพที่หนักหน่วง จนกระทั่งบางครั้งสวัสดิการของรัฐเองอาจจะไม่เพียงพอในการให้การดูแล

ประเด็นที่สังคมไทยพูดคุยกันคือเรื่องของ “เดอะแบก” หรือ เจเนอเรชั่นคนทำงาน ที่จะต้องดูแล เจเนอเรชั่นพ่อแม่ รวมถึง ต้องดูแลเจเนอเรชั่น ลูกของตนเอง ดังนั้นการวางแผนทางการเงินเพื่อดูแล ตนเอง และคนรอบข้างยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ

มาดูเรื่องของความแข็งแกร่งของโตเกียวมารีน จากเหตุการณ์สำคัญที่เป็นบทพิสูจน์ความแข็งแกร่งในการทำธุรกิจของโตเกียว กันบ้างครับ

ในปี 2011 ตรงกับปีไทยคือ 2554 ไม่รู้ว่าเป็นปีอะไรแต่เอาเป็นว่าปีนั้น คือปีที่ท้าทายยิ่งสำหรับอุตสาหกรรมประกันภัย ต้นปีในเดือนมีนาคม เกิด แผ่นดินไหวที่ คุมาโมโต้ ฟุกุชิมะ และตามด้วย สึนามิ ที่ทำให้พื้นที่ดังกล่าวราบเป็นหน้ากลอง ในฐานะบริษัทประกันวินาศภัยชั้นนำของโลก โตเกียวมารีน รักษาสัญญา และ จ่ายเงินเคลมมูลค่ารวม กว่าสี่แสนล้านบาท เพื่อบรรเทาความทุกข์ของ ผู้ประสบภัย

            ในปีเดียวกัน ช่วงกลางปี ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูมรสุม และในปีนั้นเอง ประเทศไทยเจอพายุมากถึง 15 ลูก และเราคงจำกันได้ว่า ประเทศไทยพบกับ มหาอุทกภัยที่รุนแรงที่สุดในรอบหลายทศวรรษสร้างความเสียหายให้กับธุรกิจประกันภัยในประเทศไทยมหาศาล คิดเป็นมูลค่ามากกว่าสี่แสนล้านบาท ในฐานะผู้รับประกันวินาศภัย โตเกียวมารีน ไม่นิ่งเฉย รีบเดินหน้าในการจ่ายสินไหมทดแทนให้กับผู้ถือกรมธรรม์อย่างรวดเร็วถึงแปดหมื่นล้าน เพราะคำมั่นสัญญาสำคัญยิ่ง

ด้วยการปฏิบัติตามข้อสัญญาด้านสินไหม อย่างมีประสิทธิภาพท่ามกลางสถานการณ์ที่เลวร้ายระลอกแล้วระลอกเล่า โตเกียวมารีน จึงได้รับรางวัลบริษัทประกันภัยแห่งปี 2012 และเป็นหนึ่งในเพียงไม่กี่บริษัทที่ สามารถกลับคืนสู่สถานะเดิมได้อย่างรวดเร็ว !!!

กลุ่มโตเกียวมารีน ได้รับการยอมรับว่า เป็นยักษ์ใหญ่ด้านธุรกิจประกันภัยของประเทศญี่ปุ่น ที่ดำเนินธุรกิจประกันมายาวนานกว่า 145 ปี มีการดำเนินงานใน 480 เมือง 46 ประเทศทั่วโลก ได้รับการจัดอันดับด้านเสถียรภาพทางการเงินจากหลายสถาบัน อาทิ สถาบัน JCR (Japan Credit Rating Agency) ให้  AAA ด้าน Long-term Issuer Rating , S&P Financial Strength Rating ให้ A+ ด้าน Financial Strength Rating ,สถาบัน Moody’s Investors Service ให้ Aa3 ด้าน Insurance Financial Strength Rating

Forbes Global 2000 (2024) จัดอันดับให้อยู่ที่ 149 ของโลก โดยมียอดขายอยู่ลำดับ 249 ขนาดสินทรัพย์อยู่ลำดับ 204 ด้านกำไร อยู่ลำดับที่ 216 และมูลค่าทางการตลาดอยู่ลำดับที่ 292 ของโลก

โดยยึดมั่นในค่านิยมองค์กร ใน 3 ประการด้วยกันคือ 1.การมองไกลกว่าผลกำไร 2.ให้ความสำคัญกับบุคคลากร 3.การปฏิบัติตามคำมั่นสัญญา เรื่องของความมั่นคงทางการเงินเป็นสำคัญ รวมทั้งการรักษาคำมั่นสัญญาต่างๆ ที่มีกับลูกค้าโดยไม่ได้มองเรื่องของผลกำไรเพียงอย่างเดียว ด้วยการเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง พร้อมเป้าหมายในการก้าวไปสู่การเป็น “องค์กรที่ดี หรือการเป็น Good Company” บริษัทประกันชีวิตที่ดีที่สุดในประเทศไทย

เพิ่มเราเป็นเพื่อนได้แล้ววันนี้!....