ผลวิจัยชี้ ง่วงตลอดเวลาเสี่ยง “หยุดหายใจระหว่างหลับ”
Photo Credit: https://www.medicalnewstoday.com
การนอนหลับที่ไม่เต็มอิ่มนั้ นเกิดได้จากหลายสาเหตุ ขณะที่ “การนอนกรน” ในระหว่างนอนหลับเป็นหนึ่ งในสาเหตุสำคัญที่พบได้โดยทั่ วไปในปัจจุบัน จากภาวะต่างๆ ที่ผิดปกติในร่างกาย โดยส่วนใหญ่เกิดจาก ภาวะน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ และระบบทางเดินหายใจที่ผิดปกติ
แต่สำหรับภาวะ “การหยุดหายใจ” ในขณะที่นอนหลับอาจไม่ใช่เรื่ องที่คุ้นหูของคนไทยมากนัก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เกิดขึ้ นเช่นเดียวกัน ขณะเดียวกัน ปัญหาดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นกั บหลายประเทศทั่วโลกมากขึ้น
ในงานวิจัย Wisconsin Sleep Cohort Study ของ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน ในสหรัฐอเมริกา เปิดเผยงานวิจัยใหม่ล่าสุด เมื่อวันที่ 1 ส.ค.ที่ผ่านมา เกี่ยวกับโรคนอนหยุดหายใจชนิดอุ ดกั้น ( Obstructive Sleep Apnea: OSA) โดยทำการศึกษาจากกลุ่มผู้ทดสอบ 1 ,522 คน อายุระหว่าง 30-60 ปี ทั้งหญิงและชาย และใช้เวลาในการติดตามผลทั้งหมด 18 ปี
โดยมีเกณฑ์ที่ใช้ในการวินิจฉั ยโรคจากดัชนี apnea-hypopnea index (AHI) ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของการหยุ ดหายใจชั่วคราว ( apneas) และการแผ่วลง ( hypopneas) ต่อชั่วโมงของการนอนหลับของผู้ ที่ถูกทดสอบ
ทั้งนี้ ผลที่ได้จากการทดสอบก็คือ กลุ่มคนที่พบว่ามีภาวะการหยุ ดหายใจแบบทันที ชนิดเรียกว่า “รุนแรง” ทำให้สมองขาดออกซิเจน ซึ่งจะส่งผลกระทบหลังจากที่ตื่ นนอนทำให้มีอาการ “หลงลืมระยะสั้น” และไม่สดชื่น มีอาการหาวนอนอยู่ตลอดทั้งวัน
นอกจากนี้ การทดสอบในกลุ่มอื่นๆ เช่น กลุ่มที่มีภาวะการหยุ ดหายใจระยะสั้นและไม่รุนแรง พบว่า หลังจากที่ตื่นนอนไม่สดชื่ นและมีอาการหาวนอน ซึมเศร้าเช่นเดียวกัน
ขณะที่ ศ.ดร.แทร์รี่ ยัง ผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยา มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน กล่าวว่า กลุ่มผู้ทดสอบมากกว่า 65 % พบว่ามีอาการสมาธิสั้น ถึงแม้ว่าไม่รุนแรงแต่ก็กระทบต่ อการใช้ชีวิตได้ เช่น พวกเขาไม่สามารถแก้ปัญหาในเรื่ องเล็กๆ หรือไม่มีความซับซ้อนได้ โดยจะมีความรู้สึกว่าปัญหาดั งกล่าวมีขนาดใหญ่
อาจสรุปได้ว่า ผู้ป่วยโรค OSA หรือ หยุดหายใจระหว่างนอนหลับ มีความเชื่อมโยงกับ “สติปัญญา” หรือ การทำงานของสมองทั้ง IQ และ EQ ได้ง่ายกว่าคนปกติ นอกจากนี้ ยังไม่สามารถรับมือกับปัญหาด้ านสภาวะอารมณ์ได้ดีเท่ากับคนทั่ วไป รวมไปถึง เป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดศี รษะหลังตื่นนอนตอนเช้า , ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน และทำให้ความรู้สึ กทางเพศลดลงตามไปด้วย
สถาบันสุขภาพแห่งชาติอเมริกัน ซึ่งเป็นผู้ให้เงินทุนเพื่อศึ กษาในครั้งนี้ ประเมินร่วมกันว่า โรค OSA เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิ ดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือดฉับพลัน โรคหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน และโรคซึมเศร้า ที่สำคัญและรุนแรงที่สุด ก็คือ คนที่เป็นโรค OSA ดังกล่าว มีภาวะเสี่ยงที่จะเสียชีวิตเร็ วกว่าคนทั่วไปถึง 3 เท่า
ทั้งนี้ ศ.ดร.แทร์รี่ ยัง ได้กล่าวถึงโรค OSA ด้วยว่า สำหรับคนที่รู้สึกว่านอนไม่พอ ไม่เต็มอิ่ม และง่วงนอนอยู่ตลอดเวลา อย่างน้อยก็น่าจะตระหนักถึ งภาวะการหยุดหายใจระหว่างนอนหลั บและควรพบแพทย์ ส่วนข้อแนะนำเบื้องต้น อย่างเช่น การลดน้ำหนัก หลีกเลี่ยงเครื่องดื่ มแอลกอฮอลล์และการสูบบุหรี่ และพยายามจัดตำแหน่งท่ านอนแบบตะแคง ซึ่งจะช่วยขยายทางเดินหายใจในช่ องคอไม่ให้ตีบจนเกินไป
เพิ่มเราเป็นเพื่อนได้แล้ววันนี้!....
“Every day is a fresh start” ทุกๆ วัน คือการเริ่มต้นใหม่…สาวน้อยปริศนา อารมณ์ดี…ผู้มีหัวใจมุ่งมั่น เต็มเปี่ยมด้วยแรงบันดาลใจ ดำรงชีพด้วยการทำในสิ่งที่รัก และรักในสิ่งที่ทำ “เชื่อว่าปาฏิหาริย์ สามารถเกิดขึ้นได้…ตลอดเวลา”