กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. พร้อมด้วยนายชัยยุทธ มังศรี รองเลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) พล.ต.ต.พุฒิเดช บุญกระพือ ผบก.ปอศ. พ.ต.อ.ทัศน์ภูมิ จารุปรัชญ์ และ พ.ต.อ.พัฒนา ฉายาวัฒน์ รอง ผบก.ปอศ. ร่วมแถลงข่าวจับกุมผู้ต้องหาฉ้อฉอประกันภัยโควิด-19 ทั้งหมด 14 ราย
โดยผู้ต้องหาจำนวน 11 ราย ถูกจับกุมในฐานความผิด “ปลอมและใช้เอกสารปลอม,เรียกร้องผลประโยชน์ตามกรมธรรม์โดยทุจริตหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จในการเรียกร้อง” ตามพ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 และประมวลกฎหมายอาญา
และผู้ต้องหาอีก 3 ราย ถูกจับกุมในฐานความผิด “ทุจริตหลอกลวงผู้อื่นด้วยการชักชวน ชี้ช่องหรือจัดการให้ผู้อื่นนั้นทำหรือรักษาสถานะสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท แต่ไม่ดำเนินการให้มีการทำสัญญาเกิดขึ้น หรือไม่ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาสถานะสัญญาประกันชีวิตเดิมและโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่ 3” ตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิต 2535
ทั้งนี้ผู้ต้องหา 11 รายแรกได้ฉวยโอกาสในช่องว่างของขั้นตอนการรับเงินประกันภัยโควิ-19 ด้วยการนำผลตรวจโรคโควิด-19 ปลอม มายื่นเพื่อขอรับค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย รายละ 50,000 บาท ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบประกันภัยที่ต้องสูญเสียเงินไปกับกลุ่มคนเหล่านี้จำนวนมาก ทั้งยังทำให้ผู้เอาประกันภัยที่ติดเชื้อโควิด-19 จริง ได้รับค่าสินไหมล่าช้าหรือไม่ได้รับค่าสินไหม เนื่องจากบริษัทประกัน ขาดสภาพคล่อง
ส่วนอีก 3 รายที่มีพฤติการชักจุงผู้อื่นมาทำเคลมประกันภัยโควิดปลอมนั้นมีการฉ้อฉลของส่วนแบ่งจากเงินค่าเคลมประกันภัยโควิดรายละ 20,000 บาท แล้วคืนเงินให้ผู้ทำเคลมปลอมนั้น 30,000 บาท
นอกจากนั้นยังกลุ่มตัวแทนบริษัทประกันชีวิตบางราย หลอกลวงเก็บเบี้ยประกันไว้ไม่นำเงินส่งบริษัท โดยที่ผู้เอาประกันภัยไม่ทราบเรื่อง ซึ่งทำให้ผู้เอาประกันภัยไม่ได้รับการคุ้มครองตามกรมธรรม์ ถือเป็นการซ้ำเติมประชาชนในช่วงการแพร่ระบาด โดยความเสียหายครั้งนี้รวมมูลค่ากว่า 53 ล้านบาท และมีผู้หลอกลวงรายเดี่ยวรายหนึ่งจากทั้งหมด 5 ราย ฉ้อฉลลูกค้ามากสุดกว่า 40 กว่าล้านบาท
ขณะกลุ่มคนที่เหลืออีก 4 รายรวมกันฉ้อฉลลูกค้ารวม 10 กว่าล้านบาท ทั้งหมดเป็นตัวแทนประกันชีวิตจาก 2 บริษัท ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินจับกุมได้แล้ว 3 ราย เหลืออีก 2 รายกำลังอยู่ในระหว่างการติดตามจับกุมตัว
การแถลงข่าวความร่วมมือของ สอบสวนกลาง โดย ปอศ. กับสำนักงาน คปภ. ในการจับกุมเครือข่ายโกงประกันโควิด-19 ครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังจากก่อนหน้าเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม นายอดิศร พิพัฒน์วรพงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการ สายกฎหมายและคดี คปภ.เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษผู้กระทำความผิดด้านประกันภัย จำนวน 22 ราย ต่อ พล.ต.ต.พุฒิเดช บุญกระพือ ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (ผบ.ปอศ.) แล้วเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2565 พนักงานสอบสวน กก.4 บก.ปอศ.ได้ดำเนินการอนุมัติหมายจับผู้ต้องหาทั้ง 14 ราย ต่อศาลอาญา
และต่อมาในระหว่างวันที่ 4-15 สิงหาคม 2565 เจ้าหน้าที่ฯ ได้ติดตามจับกุมกลุ่มผู้ต้องหาที่ปลอมเอกสารผลการตรวจโรคโควิด-19 และนำไปเรียกร้องผลประโยชน์จากการทำประกันดังกล่าวโดยทุจริต จำนวน 11 ราย และจับกุมกลุ่มคนที่หลอกลวงให้คนทั่วไปเข้าทำสัญญาประกันชีวิต แต่ภายหลังกลับไม่ได้ดำเนินการให้มีการทำสัญญาประกันภัยเกิดขึ้นหรือไม่ดำเนินการรักษาสถานของสัญญาประกันชีวิตดังกล่าว จำนวน 3 ราย รวมจำนวนทั้งหมด 14 ราย นำส่งพนักงานสอบสวน กก.4 บก.ปอศ.ดำเนินคดีตามกฎหมาย ซึ่งทางคดีอยู่ระหว่างการสืบสวนขยายผลหาตัวผู้ร่วมขบวนการต่อไป
สำหรับความเสียหายที่เกิดจากกลุ่มคนที่หลอกลวงให้คนทั่วไปซื้อประกันชีวิตคั้งนี้รวมมูลค่ากว่า 53 ล้านบาท โดยมีผู้หลอกลวงรายเดี่ยวคนหนึ่งจากทั้งหมด 5 คน ฉ้อฉลลูกค้ามากสุดกว่า 40 กว่าล้านบาท ขณะกลุ่มคนที่เหลืออีก 4 คนรวมกันฉ้อฉลลูกค้ารวม 10 กว่าล้านบาท ทั้งหมดเป็นตัวแทนประกันชีวิตจาก 2 บริษัท ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินจับกุมได้แล้ว 3 คน เหลืออีก 2 คนกำลังอยู่ในระหว่างการติดตามจับกุมตัว
ทั้งนี้การกล่าวโทษของ คปภ. เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการบังคับใช้กฎหมายทางอาญาเท่านั้น ภายใต้กระบวนการนี้ การพิจารณาวินิจฉัยว่าบุคคลใดเป็นผู้กระทำกฎหมาย เป็นขั้นตอนในอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวน การสั่งฟ้องคดีของพนักงานอัยการ ตลอดจนดุลพินิจของศาลยุติธรรมตามลำดับ ซึ่งเบื้องต้นมีบทลงโทษปรับคดีละ 300,000 บาท จำคุกคดีละ 3 ปี หากศาลฯ มีดุลพินิจออกมาเป็นที่สุดแล้ว
เพิ่มเราเป็นเพื่อนได้แล้ววันนี้!....
ทีมงาน INN WHY? รายการเพื่อผู้บริโภค ร่วมปฏิวัติความคิด ปรับเปลี่ยนชีวิต ก้าวสู่ความมั่นคง หลังเกษียณ
ติดตามเราได้ที่ไลน์แอด @INNWHY.TV หรือ Facebook.com/INNWHY.TV และ Youtube.com/c/innwhy
Contact us : INNWHY31@gmail.com