ด้วยปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ต่ำมากทำให้ผู้เก็บออมเงินเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมองหาการลงทุนใหม่ ๆ ที่ให้โอกาสผลตอบแทนที่ดีกว่า และผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตควบการลงทุน หรือ ยูนิต ลิ้งค์ หนึ่งในทางเลือกของการลงทุนที่เริ่มมีสัญญาณบวกที่ชัดเจนขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินจากข้อมูลปี 2564 ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตควบการลงทุนมีเบี้ยประกันภัยต่อกรมธรรม์ที่สูงมากเฉลี่ย 246,000 บาทต่อกรมธรรม์ เมื่อเทียบกับประกันแบบดั้งเดิม (สามัญ: ตลอดชีพและสะสมทรัพย์) ที่เฉลี่ย 37,000 บาทต่อกรมธรรม์ สะท้อนว่าลูกค้ากลุ่มเงินฝากยังมีกำลังซื้อสูง   

อีกด้านหนึ่งกลุ่มคนวัยทำงานหลายคนที่ให้ความสนใจในผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตควบการลงทุน หรือ ยูนิตลิ้งค์ กำลังลังเลกันว่า ต้องมีเงินเท่าไหร่ถึงจะเริ่มซื้อกรมธรรม์นี้ได้  จะต้องใช้เงิน 50,000 บาทหรือ 100,000 บาทหรือ 500,000 บาทกันนะ  ยุคนี้ขอบอกว่า แค่เรามีเงินหลักพันบาท ก็สามารถเริ่มต้นวางแผนทางการเงินให้กับตัวเองด้วยกรมธรรม์นี้ได้แล้ว วันนี้ คอลัมน์ Misssuree review มีผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตควบการลงทุนหรือยูนิต ลิ้งค์ ที่เริ่มต้นวางแผนการเงินด้วยเงินหลักพันบาทต่อเดือนหรือหลักหมื่นบาทต่อปีมาฝากกัน  เป็นผลิตภัณฑ์ของบมจ.เมืองไทยประกันชีวิต บริษัทคนไทยที่เรารู้จักกันมายาวนาน นับอายุก็ย่างเข้าสู่ปีที่ 71 แล้ว ปัจจุบัน เมืองไทยประกันชีวิต มีผลิตภัณฑ์  “ยูนิต ลิงค์” ภายใต้โครงการ uDesign ทั้งหมด 4 ผลิตภัณฑ์ด้วยกัน คือ mDesign , mOne, mOnePlus และ mGrow 615  สามารถเลือกชำระเบี้ยแบบ Single Premium หรือ ชำระเบี้ยครั้งเดียว และแบบ Regular premium หรือ ชำระเบี้ยประกันรายงวด รายปีก็ได้ตามความต้องการ   

@รู้จัก uDesign กับ 2 ตัวช่วยวางแผนการเงินด้วยเงินหลักพัน 

เมืองไทยประกันชีวิตเพิ่งมีโฆษณา โครงการ uDesign ประกันชีวิตควบการลงทุน หรือ ยูนิต ลิ้งค์ เมื่อเร็วๆนี้ มาช่วยลุกค้าวางแผนการเงินที่มีทั้งการลงทุนในกองทุนรวม มีความคุ้มครองชีวิตและสุขภาพในกรมธรรม์เดียว และสามารถปรับเปลี่ยนสัดส่วนการลงทุนได้ตามความต้องการ มีความยืดหยุ่น ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้หลากหลาย ทั้งการวางแผนการการศึกษาบุตร วางแผนเกษียณ วางแผนสุขภาพในระยะยาว และการวางแผนสร้างหลักประกันให้ทายาท เป็นต้น  

ผลิตภัณฑ์ยูนิต ลิ้งค์ ภายใต้ โครงการ uDesign มีความโดดเด่นและน่าสนใจตรงที่ แบบประกันลงทุนในกองทุนรวมนอกจากมีทั้งความคุ้มครองชีวิตและสุขภาพอยู่ภายในกรมธรรม์ฉบับเดียวกันแล้ว ยังสามารถซื้อสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพแนบท้ายกรมธรรม์ยูนิต ลิ้งค์ได้มากถึง 10 แบบ มีทั้งแบบเบี้ยประกันภัยรวมคงที่ตลอดสัญญา หรือหากหยุดพักชำระเบี้ยแต่ก็ยังได้รับความคุ้มครองอยู่  และหลังซื้อกรมธรรม์ไปแล้ว กรมธรรม์ยังยืดหยุ่นให้เรา ปรับ เพิ่ม ถอน หรือ หยุดพักชำระเบี้ยได้ตามต้องการ และสามารถเลือกระยะเวลาคุ้มครองชีวิต ดูแลสุขภาพ ได้ยาวถึงอายุ 99 ปี 

ล่าสุดมี  2 แบบประกันชีวิตควบการลงทุน สำหรับคนทำงานที่ต้องการลงทุนด้วยเงินหลักพันหรือหลักหมื่นบาทให้กับตัวเองได้ คือ แบบ mDesign  และ mGrow 615   เราไปรู้จักทั้ง 2 แบบกัน รวมถึงทำความรู้จักกองทุนรวมและผลตอบแทนย้อนหลัง 3 ปีของกองทุนที่ทางเมืองไทยประกันชีวิต ให้คำแนะนำลูกค้าเลือกลงทุนตามพอร์ตโฟลิโอที่บริษัทแนะนำเพื่อช่วยลดความผันผวนและสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว 

 

1.แบบ mDesign  ยูนิต ลิ้งค์  ชำระเบี้ยแบบรายงวด สามารถซื้อสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพและโรคร้ายแรงได้  แบบเบี้ยประกันภัยรวมคงที่ตลอดอายุสัญญา (สัญญาเพิ่มเติม UDR)  เริ่มรับประกันภัยตั้งแต่อายุ 30 วัน ถึง 70 ปี คุ้มครองชีวิตยาวถึง 99 ปี และระยะเวลาชำระเบี้ยถึง 99 ปี สามารถหยุดพักชำระเบี้ยได้ชั่วคราว (Premium Holiday) แต่ค่าใช้จ่ายตามกรมธรรม์ยังคงเกิดขึ้นตลอดเวลา สามารถเพิ่มเงินออมหรือถอนเงินลงทุนบางส่วนได้ การชำระเบี้ยแบบรายงวดได้มีให้เลือกตั้งแต่  

– รายปี 20,000 บาท

– ราย 6 เดือน 10,000 บาท

– ราย 3 เดือน 6,000 บาท

– รายเดือน 2,000 บาท

การลงทุนในกองทุนรวม 

-สามารถเลือกลงทุนได้ไม่เกิน 10 กองทุนและสัดส่วนการลงทุนแต่ละกองทุนไม่น้อยกว่า 5%

-เพิ่มเงินออมเพื่อการลงทุนได้ ช่วงที่มีรายได้เพิ่ม  สามารถเพิ่มเงินลงทุนโดยการชำระเบี้ยประกันภัยส่วนที่เป็นเงินออมเพิ่มเติมได้ เริ่มต้น 5,000 บาทต่อครั้ง และสูงสุดไม่เกินเบี้ยประกันภัยหลักที่ชำระมาแล้วต่อปีกรมธรรม์เพื่อสร้างโอกาสได้รับผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น

-เลือกกองทุนและปรับเปลี่ยนกองทุนได้ตามสถานการณ์และไม่เสียค่าธรรมเนียมการสับเปลี่ยนกองทุน

-สามารถถอนเงินลงทุนออกบางส่วนจากกรมธรรม์ได้ แต่จะมีค่าใช้จ่ายในการถอนเงิน 200 บาทต่อครั้ง

-สามารถใช้สิทธิเวนคืนกรมธรรม์ได้ แต่ไม่ควรเวนคืนเร็วเกินไปเพราะจะมีค่าธรรมเนียมสูง

-สามารถเพิ่มเงินลงทุน (Top Up) ได้แต่จะมีค่าใช้จ่ายในการเพิ่มเงินลงทุน  ศึกษารายละเอียดตามตารางด้านล่างนี้   

-ติดตามมูลค่าการลงทุนได้ จาก รายงานสถานะทางการเงินของกรมธรรม์ประกันภัยที่บริษัทส่งให้ลูกค้า  หรือดูได้จาก website ของบริษัทฯ www.muangthai.co.th หรือจะโทรศัพท์สอบถาม Call Center 1766 และ Smile Service Application

@ 3 ค่าใช้จ่ายหลักที่ควรรู้ หลังซื้อ mDesign  ยูนิต ลิ้งค์

1.ค่าดำเนินการประกันภัย รายละเอียดตามตารางด้านบน

2.ค่าการประกันภัย (COI) ขึ้นอยู่กับเพศ อายุ และจำนวนเงินเอาประกันภัย* COI จะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุสูงขึ้น

3.ค่าบริหารกรมธรรม์ ส่วนนี้ไม่มีค่าใช้จ่าย

4.ค่าธรรมเนียมการรักษากรมธรรม์  สูงสุดไม่เกิน 150 บาทต่อเดือน

ส่วนจำนวนเงินเอาประกันภัยขั้นต่ำ ขึ้นอยู่กับช่วงอายุของผู้เอาประกันภัย (ค่าใช้จ่ายของกรมธรรม์จะเพิ่มสูงขึ้นตามจำนวนเงินเอาประกันภัย)

อายุ 0 – 40 ปี  จำนวนเงินเอาประกันภัย 15 เท่าของเบี้ยประกันภัยหลัก

อายุ 41 – 50 ปี จำนวนเงินเอาประกันภัย 10 เท่าของเบี้ยประกันภัยหลัก

อายุ 51 – 60 ปี จำนวนเงินเอาประกันภัย 7.5 เท่าของเบี้ยประกันภัยหลัก

อายุ 61 – 70 ปี จำนวนเงินเอาประกันภัย 5 เท่าของเบี้ยประกันภัยหลัก

 

2.แบบ mGrow 615 ยูนิต ลิ้งค์ สามารถซื้อสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพและโรคร้ายแรงได้ จ่ายเบี้ยประกันภัยหลักเพียง 6 ปี อายุรับประกัน 30 วัน – 70 ปี การันตีคุ้มครองชีวิตยาว 15 ปี แม้มูลค่ากรมธรรม์จะเท่ากับหรือน้อยกว่าศูนย์ รับความคุ้มครองชีวิตจำนวน 3 เท่าของเบี้ยประกันภัยหลักรายปี แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขดังนี้ 

  • ชำระเบี้ยประกันภัยหลักอย่างต่อเนื่องและครบถ้วนตามกำหนด
  • ไม่เคยมีการถอนเงินจากบัญชีเงินสะสมของเบี้ยประกันภัยหลัก
  • ไม่เคยลดจำนวนเบี้ยประกันภัยหลัก

นอกจากนี้ยังสามารถเลือกขยายความคุ้มครองได้ถึงอายุครบ 99 ปี  ณ ต้นปีกรมธรรม์ที่ 7 รับโบนัสพิเศษ 2% ของเบี้ยประกันภัยหลักที่ชำระตั้งแต่ปีที่ 1 ถึงปีที่ 6  แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขดังนี้

  • ไม่เคยใช้สิทธิการหยุดพักชำระเบี้ยประกันภัย
  • ไม่เคยมีการถอนเงินจากบัญชีเงินสะสมของเบี้ยประกันภัยหลัก
  • ไม่เคยลดจำนวนเบี้ยประกันภัยหลัก

เบี้ยประกันภัยหลักขั้นต่ำสามารถเลือกซื้อได้ตามความต้องการ มีให้เลือกตั้งแต่ 

– รายปี 20,000 บาท

– ราย 6 เดือน 10,000 บาท

– ราย 3 เดือน 6,000 บาท

– รายเดือน 2,000 บาท

@ 3 ค่าใช้จ่ายหลักที่ควรรู้ หลังซื้อ mGrow 615 ยูนิต ลิ้งค์  

1.ค่าดำเนินการประกันภัย ตามตารางด้านบน

2.ค่าการประกันภัย (COI) ขึ้นอยู่กับเพศ อายุ และจำนวนเงินเอาประกันภัย* COI จะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุสูงขึ้น

3.ค่าบริหารกรมธรรม์  มีค่าใช้จ่าย ตามตารางด้านบน

4.ค่าธรรมเนียมการรักษากรมธรรม์  ไม่มี

จำนวนเงินเอาประกันภัยขั้นต่ำ ขึ้นอยู่กับช่วงอายุของผู้เอาประกันภัย (ค่าใช้จ่ายของกรมธรรม์จะเพิ่มสูงขึ้นตามจำนวนเงินเอาประกันภัย)

อายุ 0 – 40 ปี จำนวนเงินเอาประกันภัย 10 เท่าของเบี้ยประกันภัยหลัก

อายุ 41 – 50 ปี จำนวนเงินเอาประกันภัย 8 เท่าของเบี้ยประกันภัยหลัก

อายุ 51 – 60 ปี จำนวนเงินเอาประกันภัย 4 เท่าของเบี้ยประกันภัยหลัก

อายุ 61 – 70 ปี จำนวนเงินเอาประกันภัย 3 เท่าของเบี้ยประกันภัยหลัก

@ตัวอย่างแบบประกันสำหรับคนอายุ 35 ปี

ตัวอย่างของผู้ซื้อแบบประกัน mDesign ยูนิต ลิ้งค์ พ่วงประกันสุขภาพ D Health เพศชายอายุ 35 ปี ซึ่งประกอบอาชีพอิสระ กับมีเงินเดือนประจำและมีสวัสดิการอยู่แล้ว  ดูรายละเอียดจากตารางด้านล่างนี้   

@ซื้อ ยูนิต ลิ้งค์ พ่วงสัญญาเพิ่มเติมได้มากถึง 12 แบบ

เมื่อเราศึกษาและหาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยตนเองและจากตัวแทนประกันชีวิต ที่มีคุณสมบัติตามที่กล่าวมาแล้ว จนเราสามารถเข้าใจกระจ่างแจ้งดีนำมาสู่การตัดสินใจซื้อแล้ว ลำดับต่อไปต้องพิจารณาคือ เรื่องของ สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพและโรคร้ายแรง (สัญญาเพิ่มเติม UDR) โดย UDR   มีชื่อเต็มว่า Unit Deducting Rider   เป็นสัญญาเพิ่มเติมแบบชำระค่าการประกันภัยสัญญาเพิ่มเติม โดยการขายคืนหน่วยลงทุน บางส่วนมาจ่ายค่าใช้จ่ายของสัญญาเพิ่มเติม ซึ่งใช้ได้กับกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit Linked & Universal Life ) เท่านั้น 

โดยผลิตภัณฑ์ 2 แบบนี้เราสามารถเลือกซื้อสัญญาเพิ่มเติมได้มากถึง 12 แบบด้วยกัน คือ สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพและสัญญาเพิ่มเติมโรคร้ายแรง 10  แบบ และสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล P.A. Rider กับสัญญาเพิ่มเติม ทีพีดี (TPD) คุ้มครองทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง อีก 2 แบบ ตามรายละเอียดด้านล่างนี้

คลิกศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ 

1.ความคุ้มครองสุขภาพ D kids สำหรับ mDesign  https://www.muangthai.co.th/-/media/Pdf/mDesign-D-kids.pdf 

2.ความคุ้มครองสุขภาพ D Health  สำหรับ mDesign   https://www.muangthai.co.th/-/media/Pdf/inv-383/2-D-Health.pdf

3.สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ สำหรับ mDesign ชำระเบี้ยประกันคงที่แบบ UDR*  https://www.muangthai.co.th/-/media/Pdf/04-0448-elitehealth-UDR-24-02-2022.pdf

4.สัญญาเพิ่มเติมเอ็กซ์ตร้า แคร์ พลัส (Extra Care Plus) เติมเต็มความคุ้มครองสุขภาพให้มากกว่าสวัสดิการที่มี แบบ UDR   https://www.muangthai.co.th/-/media/Pdf/202111-Brochure-Extra-Care-Plus–UDR_A4.pdf

5.สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบแยกค่าใช้จ่าย (H&S) แบบ UDR  https://www.muangthai.co.th/-/media/Pdf/202111-Brochure-HS–UDR_A4.pdf

6.สัญญาเพิ่มเติมซีไอ 31 (CI31) คุ้มครอง 31 โรคร้ายแรง   https://www.muangthai.co.th/-/media/Pdf/inv-383/6-CI31.pdf

7.สัญญาเพิ่มเติมทีพีดี (TPD) คุ้มครองทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง https://www.muangthai.co.th/-/media/Pdf/inv-383/7-TPD.pdf

8.สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพเฮลแคร์ พลัส (Health Care Plus) ประกันสุขภาพวงเงินแน่นอน  https://www.muangthai.co.th/-/media/Pdf/256_6838_th.pdf

9.สัญญาเพิ่มเติมเอ็กซ์ตร้า แคร์ (Extra Care) แบบ UDR  https://www.muangthai.co.th/-/media/Pdf/202111-Brochure-Extra-Care–UDR_A4.pdf

10สัญญาเพิ่มเติม สมาร์ท เฮลท์ แบบ UDR https://www.muangthai.co.th/-/media/Pdf/inv-383/2021-11-SM-UDR.pdf

11.สัญญาเพิ่มเติม ซีไอ เพอร์เฟค แคร์ แบบ UDR  https://www.muangthai.co.th/-/media/Pdf/inv-383/11-CI-UDR.pdf

12.สัญญาเพิ่มเติม PA Rider แบบ UDR ชำระเบี้ยประกันคงที่แบบ UDR* สำหรับ mDesign  https://www.muangthai.co.th/-/media/Pdf/inv-383/12-PA-Rider-UDR.pdf

 

@ช่องทางจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ยูนิตลิ้งค์ของเมืองไทยประกันชีวิต

ผู้สนใจผลิตภัณฑ์ ยูนิตลิ้งค์ ทั้ง mDesign และ mGrow 615 สามารถหาซื้อได้ดังนี้ 

1.ทุกสาขาของเมืองไทยประกันชีวิตทั่วประเทศ 

2.ช่องทางธนาคาร KBank, LH Bank, ธนาคารไทยเครดิต(TCRB)

3.ตัวแทนประกันชีวิตของเมืองไทยประกันชีวิตทั่วประเทศ 

ปัจจุบันตัวแทนฯที่มีสิทธิ์ขายผลิตภัณฑ์ ยูนิต ลิงค์นี้อยู่ 1,315 คน (อ้างอิง Website คปภ. ณ วันที่ 7 เมษายน 2565)   มีใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ หรือ IC license จาก ก.ล.ต.และ มีใบอนุญาตผู้มีสิทธิ์ขายผลิตภัณฑ์ ยูนิต ลิงค์  ที่ออกโดย สำนักงาน คปภ. 

@ 12 บลจ.บริหารจัดการกองทุนรวม 53 กอง

ส่วนทางด้านการลงทุนผลิตภัณฑ์ ยูนิต ลิ้งค์ ของเมืองไทยประกันชีวิตในกองทุนรวมนั้น ทางบริษัทได้คัดสรรกองทุนมาให้เลือกมากถึง 53 กองทุน ภายใต้การบริหารของ 12 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ส่วนใหญ่เน้นการลงทุนในหุ้น  ตราสารหนี้  อสังหาริมทรัพย์และทองคำ  

@แพลตฟอร์ม MTL MyFund  เปิดบัญชีกองทุนรวมออนไลน์ พร้อมทำธุรกรรมซื้อ ขาย สับเปลี่ยนกองทุนได้

ล่าสุดเมืองไทยประกันชีวิตได้พัฒนาแพลตฟอร์ม “MTL MyFund” เครื่องมือที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลกองทุนรวมคุณภาพได้ในที่เดียวแบบ One-Stop Service สามารถพิสูจน์ตัวตนในรูปแบบดิจิทัล (NDID) ผ่านเว็บไซต์ได้ สามารถซื้อ ขาย สับเปลี่ยนกองทุนรวมคุณภาพจาก 12 บลจ. ชั้นนำได้ในที่เดียว นอกจากนี้ยังติดตามพอร์ตการลงทุน และเข้าถึงพอร์ตแนะนำโดยมืออาชีพได้ด้วยตัวเอง มีความปลอดภัยสูง สะดวก ทุกที่ ทุกเวลา เพื่อตอบโจทย์ความต้องการการวางแผนการเงินแบบครบวงจร ลดข้อจำกัดและขอบเขตของการลงทุนแบบเดิมๆ  โดยลูกค้าผลิตภัณฑ์กองทุนรวมที่สนใจใช้บริการ MTL MyFund สามารถลงทะเบียนเข้าใช้งานได้แล้ว  

@ 8 กองทุนผลตอบแทนสูงสุด 

ส่วนผู้ที่ซื้อผลิตภัณฑ์ยูนิต ลิ้งค์ และเลือกแบบตามต้องการแล้ว ทางเมืองไทยประกันชีวิตมีให้คำแนะนำเลือกลงทุนตามพอร์ตโฟลิโอเพื่อช่วยลดความผันผวนและสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวได้ ส่วนลูกค้าที่เลือกลงทุนในกองทุนรวมเองนั้น ทางเมืองไทยประกันชีวิตได้ให้ข้อมูล มุมมองการลงทุนไว้พิจารณาเพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนลงทุนของลูกค้า อย่างต่อเนื่องทุกเดือน  

 

ทั้งนี้ กองทุนตัวอย่างพอร์ตโฟลิโอแนะนำสำหรับผู้ลงทุนแต่ละระดับความเสี่ยง สามารถดูผลการดำเนินงานของกองทุน 3 ปีย้อนหลังได้ แต่ทั้งนี้ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมยังมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคตนักลงทุนและเจ้าของกรมธรรม์ยังคงต้องดูปัจจัยเสี่ยงอื่นที่มาควบคู่กับผลประกอบการด้วย รวมถึงคอยติดตามความเคลื่อนไหวของผลตอบแทนของกองทุนที่เราลงทุนไปอย่างต่อเนื่องด้วยว่ายังดีอยู่หรือไม่ เพราะผลตอบแทนที่ดีวันนี้ยังไม่ใช่คำตอบสุดท้ายว่าอนาคตจะดีแบบนี้ไปตลอดหรือไม่ และถ้าเห็นว่าผลตอบแทนไม่ดีพอ เราก็สามารถปรับสมดุลสัดส่วนการลงทุนให้คงที่ได้  โดยขอคำแนะนำหรือปรึกษาตัวแทนประกันชีวิตที่มีคุณสมบัติข้างต้น ให้คำแนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ หรือ ผู้จัดการกองทุนบริษัท ก่อนปรับเปลี่ยนกองทุนก็ได้  

@รู้จัก 8 กองทุนแนะนำ และกองทุนทางเลือกที่ ยูนิต ลิ้งค์ เข้าไปลงทุน

1.กองทุนเปิด แอล เอช โกลบอล อิควิตี้ ชนิดสะสมมูลค่า (LHGEQ-A)  จัดอยู่ในระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 เป็นกองทุนระดับ 5 ดาว ได้รับการจัดอันดับจาก Morningstar  บริษัทชั้นนำของโลกด้านการจัดอันดับกองทุนรวม 

กองทุน LHGEQ-A  เป็นกองทุนต่างประเทศ เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่มีนโยบายลงทุนในตราสารทุนทั่วโลก (หรือ “กองทุนหลัก (Master fund)”) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ  กองทุนหลักที่กองทุนจะลงทุนคือ กองทุน T. Rowe Price Funds SICAV – Global Focused Growth Equity Fund (“กองทุนหลัก”) ซึ่งกองทุนดังกล่าวได้จดทะเบียนในประเทศลักเซมเบิร์ก และอยู่ภายใต้ UCITS

ทั้งนี้ กองทุนจะลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนหลักในชนิดหน่วยลงทุน “Class I” สกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ (USD) ซึ่งจัดตั้งและจัดการโดย T. Rowe Price (Luxembourg) Management S.a.r.l. และบริหารการลงทุนโดย T. Rowe Price International Ltd

2.กองทุนเปิดเค โกลด์ -A ชนิดจ่ายเงินปันผล (K-GOLD-A(D))   ระดับความเสี่ยงของกองทุนอยู่ที่ระดับ 8 เสี่ยงสูงมาก  กองทุนป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่า 90% ของมูลค่าเงินลงทุนต่างประเทศ

ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

 มีนโยบายลงทุนในทรัพย์สินที่เป็นทางเลือกใหม่ในการลงทุนหรือมีโครงสร้างซับซ้อน เข้าใจยาก เช่น commodity/gold fund /oil fund/derivatives ที่ไม่ใช่เพื่อ hedging ซึ่งรวมถึงตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงที่ไม่คุ้มครองเงินต้น มีกลยุทธ์การลงทุนที่เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน SPDR Gold Trust (กองทุนหลัก)  SPDR Gold Trust เน้นลงทุนในทองคำแท่งเพื่อสร้างผลตอบแทนก่อนหักค่าใช้จ่ายให้ใกล้เคียงกับการเคลื่อนไหวของราคาทองคำแท่งในตลาดโลก

3.กองทุนเปิดทหารไทย Global Quality Growth  (TMBGQG) จัดอยู่ในระดับความเสี่ยง 6 จาก 8  สามารถสร้างผลตอบแทนได้คุ้มค่ากับความเสี่ยง ทำให้ได้รับการจัดอันดับที่ระดับ 5 ดาว จาก Morningstar ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำของโลกด้านการจัดอันดับกองทุนรวม

TMBGQG ให้ความสำคัญในเรื่องการลงทุนอย่างมีระบบ มีการคัดกรองหุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐานและการปรับสัดส่วนตามภาวะการลงทุน  เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองเดียว (Master Fund) คือกองทุน Wellington Global Quality Growth Fund ในหน่วยลงทุนชนิด USD Class S Accumulating Unhedged ในอัตราส่วนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน และลงทุนในรูปสกุลเงินเหรียญสหรัฐ 

การลงทุนของกองทุนต่างประเทศ  กองทุน Wellington Global Quality Growth Fund เป็นกองทุนที่มุ่งหาผลตอบแทนในระยะยาว โดยลงทุนในหุ้นสามัญ และใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง (Depositary receipts), หลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์,ตราสารหนี้แปลงสภาพ,หุ้นบุริมสิทธิ์,ใบสำคัญแสดงสิทธิ์,exchange-traded funds (“ETFs”), รวมทั้งตราสารหนี้, เงินสดหรือตราสารเทียบเท่าเงินสด และตราสารอนุพันธ์ ที่ออกโดยบริษัทต่างๆทั่วโลก

4.กรุงศรีโกลบอลคอลเล็คทีฟสมาร์ทอินคัม (KF-CSINCOM)  กองทุนระดับ 4 ดาว จาก Morningstar  ระดับความเสี่ยง 5  เสี่ยงระดับปานกลางค่อนข้างสูง  เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศชือ PIMCO GIS Income Fund (กองทุนหลัก) โดยเฉลียในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV โดยกองทุนหลักมีหลักการสำคัญในการกระจายการลงทุนไปในตราสารหนี้ประเภทต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วโลกอย่างน้อย 2 ใน 3 ของมูลค่าทรัพย์สิน 

5.กองทุนเปิดเค สตาร์ หุ้นทุน-A ชนิดสะสมมูลค่า (K-STAR-A(A))  ระดับความเสี่ยง 6 ไม่มีลงทุนในต่างประเทศ  เน้นลงทุนในหุ้นไทยพื้นฐานดีที่มีศักยภาพการเติบโตในระยะยาว เพื่อมุ่งหวังสร้างผลตอบแทนที่ดีสม่ำเสมอ พร้อมทั้งจับจังหวะในการปรับเปลี่ยนสัดส่วนน้ำหนักรายกลุ่มอุตสาหกรรม และสัดส่วนการถือครองเงินสด ในสถานการณ์ตลาดที่อำนวยเพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนในระยะสั้น  
 
 

6.กองทุนกรุงศรีแอคทีฟตราสารหนี้-สะสมมูลค่า (KFAFIX-A)   ระดับความเสี่ยง 4  เน้นลงทุนในประเทศและ/หรือต่างประเทศ ในตราสารหนี้ และ/หรือเงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝากทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงิน และ/หรือภาคเอกชน 

7.กองทุนเปิดเค Property Infra Flexible (K-PROPI) ระดับความเสี่ยง 8 

8.กองทุนเปิดเค บริหารเงิน (K-CASH) ความเสี่ยงกองทุน ระดับ 1  ไม่มีลงทุนในต่างประเทศ เป็นกองทุนรวมตลาดเงินที่ลงทุนในตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจที่มีกระทรวงการคลังค้ำประกัน พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตรที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าหรือเทียบเท่า ซึ่งตราสารหนี้ที่กองทุนลงทุนจะต้องมีกำหนดวันชำระหนี้ไม่เกิน 397 วันนับแต่วันที่ลงทุน     

สำหรับผู้สนใจผลิตภัณฑ์แบบประกันยูนิต ลิ้งค์  ควรศึกษาเพิ่มเติมแบบประกัน เงื่อนไขในกรมธรรม์และเรื่องการลงทุนให้ละเอียด เพราะแบบประกันนี้มีความแตกต่างจากประกันชีวิตแบบดั้งเดิม ตรงที่ “เบี้ยประกันชีวิต” ที่เราจ่ายไปนั้น จะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1.เป็นค่าคุ้มครองชีวิต   2.นำไปลงทุนในกองทุนรวม  และ 3.เป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามกรมธรรม์ที่บริษัทเรียกเก็บ เช่น ค่าดำเนินการ ค่าดูแลรักษากรมธรรม์ และค่าบริการในการลงทุน ตามแบบประกันฯที่เราซื้อ โดยเฉพาะผู้ลงทุนที่เลือกลงทุนในกองทุนรวมเอง ค่าบริการในการลงทุนนี้ยิ่งความสำคัญเพราะเป็นค่าธรรมเนียมที่เป็นค่าใช้จ่ายมีผลต่อเนื่องในการถือหน่วยลงทุนระยะยาวไม่ควรมีค่าใช้จ่ายสูงเกินไป เช่น

1.ค่าธรรมเนียมรวม (Total Expense Ratio)

2.ค่าธรรมเนียมขาย (Front End Fee)

3.ค่าธรรมเนียมซื้อหลักทรัพย์ (Brokerage Fee In)

4.ค่าธรรมเนียมรับซื้อคืน (Back End Fee)

5.ค่าธรรมเนียมขายหลักทรัพย์ (Brokerage Fee Out) 

แต่ข้อดีของผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตควบการลงทุนมีหลายประการคือ 

1.สามารถซื้อสัญญาเพิ่มเติมอื่นๆ ได้ เช่น ประกันสุขภาพและโรคร้ายแรง หรือประกันแบบอื่นๆตามเงื่อนไขของบริษัท 

2. มีความคุ้มครองชีวิต 10  ปีขึ้นไป สามารถหักลดหย่อนภาษีเงินได้สูงสุด 100,000 บาท ตามประกาศของกรมสรรพากร  

3. มีความยืดหยุ่นสูง ปรับเปลี่ยนความคุ้มครองและวางแผนการลงทุนให้ตรงกับรูปแบบการใช้ชีวิตได้ตามต้องการ ตัวอย่างเช่น 

– การวางแผนสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ให้กับตนเองและครอบครัว

– การวางแผนสร้างกองทุนเพื่อการศึกษาสำหรับบุตร

– การวางแผนการเกษียณอายุ ที่ “ผู้เอาประกันภัย”  มีอิสระในการที่จะเลือกซื้อ “ทุนประกัน” เท่าไหร่ก็ได้และเลือกจะคุ้มครองชีวิต “ผู้ซื้อ” ไปถึงอายุเท่าไหร่ก็ได้

4.“ผู้เอาประกันภัย” สามารถเลือกลงทุนได้ด้วยตัวเองจากกองทุนรวมที่บริษัทคัดสรรไว้ให้ เพื่อรับผลตอบแทนที่สูงขึ้นได้

ส่วนความเสี่ยงของ “ผู้เอาประกันภัย” ที่ลงทุนกองทุนรวมด้วยตนเองนั้นก็จะมีความเสี่ยงในระดับที่แตกต่างกันไป เช่น กองทุนตราสารหนี้ กองทุนตราสารทุน กองทุนหุ้นระยะยาว ซึ่ง “ผู้เอาประกันภัย”  จะต้องประเมินความเสี่ยงด้วยตนเองว่า สามารถรับความเสี่ยงจากการลงทุนในกองทุนรวมนั้นๆได้มากน้อยแค่ไหน  ถ้ารับความเสี่ยงได้มากอาจจะ เลือกลงทุนใน “กองทุนหุ้นระยะยาว” ที่บริษัทคัดสรรไว้ให้ ถ้ารับความเสี่ยงได้น้อย หรือ ต้องการปรับพอร์ตเพื่อลดความเสี่ยงน้อยลงจากกรณีต่างๆ  อาจจะขายกองทุนเดิมซื้อกองทุนใหม่เป็นกองทุนที่เน้น “ตราสารหนี้” แทนก็ได้  

อย่างไรก็ตามข้อควรระวังของยูนิตลิงค์สำหรับผู้ลงทุนกองทุนด้วยตนเองในช่วงที่ตลาดทุนมีความผันผวนสูง มีโอกาสที่มูลค่าเงินสดหรือเงินลงทุนในกรมธรรม์ของเราลดต่ำลงได้ เมื่อหักค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแล้วเงินอาจไม่เพียงพอที่จะมาจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการสร้างความคุ้มครองชีวิตต่อ อาจทำให้กรมธรรม์ถูกปิดอัตโนมัติได้ จึงควรศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขของผลิตภัณฑ์ให้ละเอียดและกระจ่างก่อนตัดสินใจ.

เพิ่มเราเป็นเพื่อนได้แล้ววันนี้!....