อัตราการรอดชีวิตและภัยคุกคามตามธรรมชาติ ดังที่ได้จั่วหัวไว้ตอนต้นของบทความว่า อัตราการรอดชีวิตของเต่าทะเลน้อยกว่าความน่าจะเป็นในการถูกรางวัลเลขท้าย 2 ตัวถึง 10 เท่า เราลองมาคำนวณดูกัน
ปกติแล้วไข่เต่า 1,000 ฟอง จะมีการฟักเป็นตัวประมาณ 800 ฟอง
จากที่ฟัก 800 ฟอง ขณะคลานลงทะเล จะมีศัตรูตามธรรมชาติ เช่น นก ตะกวด ปลาใหญ่ เข้ามากิน จนทำให้เหลือคลานลงทะเลได้แค่ครึ่งหนึ่ง เหลือ 400 ตัว
จาก 400 ตัวที่ลงทะเล กว่าจะผ่าน 7 วันอันตรายและรอดชีวิตได้มีแค่ 200 ตัว
จาก 200 ตัว เมื่อ 12 – 16 ปีผ่านไป เหลือตัวเต็มวัยที่รอดชีวิตซึ่งพร้อมผสมพันธุ์แค่ 20 ตัว (กรณีนี้คือไม่มีกิจกรรมของมนุษย์เข้ามาแทรกแซง) ซึ่งหากนับรวมเอากิจกรรมของมนุษย์ เช่น การทำ
ประมง การทิ้งขยะ ฯลฯ เข้ามาคิดด้วยแล้วจะทำให้พ่อแม่เต่าที่รอดจนกระทั่งสามารถขยายพันธุ์ได้มีเพียง 1-2 ตัวเท่านั้น จากไข่ 1,000 ฟองในตอนเริ่มต้น
จากตัวเลขนี้ท่านคิดว่าวิกฤตหรือยัง?
การขาดแคลนแหล่งอาหาร
น้องเต่ากินอะไร? อาหารที่หาได้ในธรรมชาติ แยกตามสายพันธุ์ มีเมนูดังนี้
เต่าตนุ – หญ้าทะเล สาหร่าย
เต่าหัวค้อน – สัตว์น้ำเปลือกแข็ง เช่น ปู หอย
เต่ากระ – ฟองน้ำตามแนวปะการัง
เต่ามะเฟือง – แมงกะพรุน
เต่าหญ้า – กุ้ง ปู ปลา สัตว์น้ำขนาดเล็ก
สภาวะโลกร้อน การประมงที่ผิดกฎหมาย การรุกล้ำพื้นที่แหล่งอาหาร ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนอาหาร
เมื่อขาดแคลนอาหาร ทำให้เต่าไม่สามารถเจริญเติบโตจนถึงวัยเจริญพันธุ์ได้
แหล่งที่อยู่อาศัย
การทำประมงทั้งน้ำตื้นและน้ำลึก ส่งผลต่อที่อยู่อาศัยของน้องเต่า เช่น ถูกรบกวน หรือ ถูกทำลาย
เครื่องมือประมงประเภทต่างๆ อาจทำให้น้องเต่าตายเนื่องจากไปติดเครื่องมือประมงได้
ขยะในทะเล ซึ่งมีทั้งขยะบนผิวน้ำ ขยะที่ลอยอยู่ในน้ำ และขยะที่อยู่ก้นทะเล ทำให้น้องเต่ามีความเสี่ยงในการป่วยหรือตาย เนื่องจากกินเข้าไปเป็นอาหาร หรือ ติดพันตัว ได้รับบาดเจ็บ หรือ ตายได้ในที่สุด
แหล่งวางไข่
แม่เต่าสามารถจดจำสถานที่ที่ตนว่ายน้ำลงทะเลจากการฟักได้ด้วยการอ้างอิงจากสนามแม่เหล็กของโลกซึ่งเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่มันสามารถจดจำได้
แต่อย่างไรก็ตาม แม่เต่าจะเลือกสภาพแวดล้อมที่เหมาะต่อการวางไข่ เพื่อให้ปลอดภัยที่สุดสำหรับลูกๆ ได้แก่ ต้องเป็นหาดที่ไม่มีแสงไฟ ไม่มีเสียงดัง ไม่มีผู้คนหรือภัยตามธรรมชาติอื่นๆ อีกทั้งยัง
ต้องมีระยะของชายหาดที่มากพอต่อการป้องกันการท่วมถึงของน้ำทะเล
การบุกรุกชายหาด การเปลี่ยนแปลงไปเป็นโรงแรม ที่พัก มีไฟแสงสว่าง มีเสียงเพลงดังจาก party หรือการสร้างอาคารรุกล้ำเข้ามาบนพื้นที่ชายหาด เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้แม่เต่า “ตัดสินใจ” ไม่กลับ
มาวางไข่ในที่เดิมที่เธอเคยคลานออกไปเมื่อกว่า 10 ปีก่อน
ดังนั้น พื้นที่ที่เหมาะสมต่อการวางไข่จะน้อยลงทุกๆ ที ปัจจุบันในจังหวัดภูเก็ต ยังคงพบการวางไข่ที่หาดไม้ขาวเท่านั้น แต่ในพื้นที่จังหวัดพังงา ได้แก่ หาดบางขวัญ โคกกลอย นาใต้ บ่อดาน
ท้ายเหมือง จนถึงเข้าหน้ายักษ์ ต่างพบว่าเป็นพื้นที่ที่พบการวางไข่ของเต่าทะเลบ้างพอสมควร ประมาณ 10 – 20 รัง ต่อปี
ปัจจุบันพื้นที่ที่เป็นแหล่งวางไข่เต่าตนุ ที่มีแม่เต่ามาวางไข่มาที่สุดคือ เกาะหูยง หรือเกาะ 1 แห่งอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของกองทัพเรือ โดยไม่ได้เปิดให้ประชาชนเข้า
เยี่ยมชมหรือเป็นแหล่งท่องเที่ยว แต่ได้อนุรักษ์พื้นที่ไว้ให้เต่าทะเลเป็นการเฉพาะ โดยมีแม่เต่าขึ้นมาวางไข่ประมาณ 100 รังต่อปี
เพิ่มเราเป็นเพื่อนได้แล้ววันนี้!....
ทีมงาน INN WHY? รายการเพื่อผู้บริโภค ร่วมปฏิวัติความคิด ปรับเปลี่ยนชีวิต ก้าวสู่ความมั่นคง หลังเกษียณ
ติดตามเราได้ที่ไลน์แอด @INNWHY.TV หรือ Facebook.com/INNWHY.TV และ Youtube.com/c/innwhy
Contact us : INNWHY31@gmail.com