ศูนย์วิจัยกสิกร เผย โควิด-19 กระทบแบงก์ 4 ด้าน แนะทางรอดพัฒนาธุรกรรมการเงินไร้สัมผัส รับ New Normal
ในประวัติศาสตร์ของธนาคารพาณิชย์ไทยนั้น เผชิญการปรับตัวครั้งใหญ่ ๆ มาแล้วหลากหลายครั้ง ซึ่งสถานการณ์โรคระบาดของไวรัส COVID-19 ก็เป็นอีกเหตุการณ์ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพแวดล้อมทางธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในหลากหลายด้าน
ทั้งในมิติของเศรษฐกิจ พฤติกรรมลูกค้า และการแข่งขัน อันทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องมีความพร้อมในการปรับตัว และสร้างกลยุทธ์ใหม่ ๆ ในการดำเนินงาน โดยเฉพาะเมื่อการป้องกันไม่ให้เหตุการณ์ซ้ำรอย นำมาสู่พฤติกรรมและกติกาทางสังคมหลายด้านที่จะคงสภาพไว้ อาทิ มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing)
COVID-19 เป็นทั้งปัจจัยเร่ง Disruption ที่มีอยู่แล้วเดิม และสร้าง New Normal ให้กับภาคธนาคาร
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีมุมมองต่อสภาพแวดล้อมทางธุรกิจใหม่ของธนาคารพาณิชย์ที่จะเปลี่ยนแปลงไปใน 2 มิติ หลัก ๆ จากผลของสถานการณ์การระบาดของไวรัส COVID-19 ในครั้งนี้ ดังนี้
ธนาคารพาณิชย์จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้างหลังสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ?
แม้ธนาคารพาณิชย์ได้เดินหน้าปรับตัวกับภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปข้างต้น อาทิ การก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสด และเทคโนโลยีการเงินใหม่ ๆ มาแล้วไม่ต่ำกว่า 2-3 ปี แต่ด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทำให้ยังมีอีกหลายส่วนที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องเตรียมแผนรับมือ และเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจเพื่อให้สามารถอยู่รอดและคงบทบาทการเป็นตัวกลางทางการเงินที่สำคัญของเศรษฐกิจไทยหลังจากนี้
ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าจะกระทบรูปแบบการทำธุรกิจธนาคารพาณิชย์ใน 4 ด้านหลัก ด้วยกัน กล่าวคือ
สำหรับในปี 2563 นั้น การชำระเงินผ่าน Mobile Banking คงได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นตามความคุ้นชินที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่มีมาตรการ Lockdown ของรัฐบาลและนโยบายการ Work from Home ของภาคเอกชนในช่วงเดือนเมษายนต่อเนื่องถึงพฤษภาคม 2563 รวมถึงการที่ลูกค้าบางส่วนอาจยังเลือกหลีกเลี่ยงการสัมผัสเงินสด
โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่า ปริมาณธุรกรรมการชำระเงินผ่าน Mobile Banking มีโอกาสเติบโตในระดับสูงต่อเนื่อง หรือประมาณ 60-90% จากปีก่อน (% YoY)เทียบกับการเติบโตที่ 73.5% ในปี 2562 (ซึ่งแม้กรอบล่างจะต่ำกว่าปีก่อน แต่ก็เป็นผลจากฐานธุรกรรมที่ใหญ่ขึ้น)
อย่างไรก็ดี มูลค่าธุรกรรมต่อครั้งในปี 2563 คาดว่าจะมีแนวโน้มลดลงซึ่งสะท้อนการใช้งานในชีวิตประจำวันที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ คาดว่าปริมาณการติดต่อผ่านช่องทางเสริมใหม่ ๆ เช่น Call Center และ Chatbotจะเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะในช่วงของการติดต่อเพื่อรับมาตรการให้ความช่วยเหลือของภาครัฐบาล ขณะที่ช่องทางการใช้บริการ Traditional Banking อาทิ ธุรกรรมผ่านสาขา และเอทีเอ็มมีแนวโน้มที่จะลดลงต่อเนื่อง
ขณะที่ในระยะต่อไป การแข่งขันในธุรกิจการเงินที่รุนแรงขึ้น คงทำให้การเร่งเพิ่มขีดความสามารถด้วยการพัฒนาจากทรัพยากรเดิมที่มีนั้น ช้าเกินไป…ธนาคารพาณิชย์จึงอาจต้องพิจารณานำเทคโนโลยี อาทิ Automation และ AI/Machine Learning ต่าง ๆ เข้ามาช่วยจัดการในกระบวนการทำงานและยกขีดความสามารถเพิ่มเติม รวมถึงการใช้ Service จากผู้ให้บริการที่เชี่ยวชาญจากภายนอกมากขึ้น ซึ่งอาจช่วยให้สามารถแข่งขันได้เร็วขึ้น ขยายกลุ่มลูกค้าเป้าหมายใหม่ ๆ ได้รวดเร็วขึ้น และนำมาซึ่งรายได้ที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน
นอกจากนี้ เนื่องจากภาคธุรกิจจริงเองก็ต้องมีการแข่งขันและปรับตัวที่รวดเร็วเช่นกัน จึงอาจทำให้มีความต้องการใช้บริการด้านการเงิน หรือทรัพยากรที่ธนาคารพาณิชย์มีเป็นตัวช่วยทางธุรกิจ ดังนั้น จึงเป็นโอกาสสำหรับการทำธุรกิจธนาคารในรูปแบบ Banking as a service (BaaS) ซึ่งมีการนำเทคโนโลยี API เข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมการเงิน โดยตัดเฉพาะขั้นตอน หรือบริการทางการเงินที่ลูกค้าและ/หรือพันธมิตรต้องการใช้งาน เพื่อแลกกับค่าธรรมเนียมหรือข้อมูลธุรกรรม เช่น Customer KYC, การชำระเงิน, ระบบพิจารณาเครดิต เป็นต้น
ทั้งนี้ แม้ว่ารายได้จากโอกาสทางธุรกิจเหล่านี้ จะยังน้อยและคงยากจะทดแทนธุรกิจหลักได้ในระยะเวลาอันสั้น แต่ก็ถือเป็นโอกาสที่สถานการณ์ COVID-19 มอบให้ ในการใช้จังหวะนี้ร่วมมือกับลูกค้าและ/หรือพันธมิตรในการสร้างนวัตกรรมทางการเงินใหม่ ๆ โดยทำในสิ่งที่แต่ละฝ่ายถนัด เพื่อให้ธนาคารสามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ รวมถึงรายได้ใหม่ ๆ รวมถึงปรับตัวพร้อมรับกับคู่แข่งได้ดียิ่งขึ้น
โดยสรุป สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ในครั้งนี้ ได้เข้ามาเป็นตัวเร่งการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจธนาคารพาณิชย์ให้ปรากฎรวดเร็วขึ้น รวมถึงสร้างการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ทั้งในมิติของพฤติกรรมผู้บริโภค เศรษฐกิจ ภาคธุรกิจ และการแข่งขัน ส่งผลตามมาให้การทำธุรกิจในลักษณะเดิม (Traditional Banking) ได้รับผลกระทบ ทั้งลูกค้ากลุ่มเดิม และช่องทางดั้งเดิมอย่างเช่นสาขาและเอทีเอ็ม
ดังนั้น เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ยังคงแข่งขันได้ภายใต้บริบทที่แตกต่างออกไปนี้ รวมถึงสอดรับกับกระแสพฤติกรรมผู้บริโภคและรูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ ธนาคารพาณิชย์คงต้องเริ่มทบทวนนโยบายเครดิตให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมธุรกิจใหม่
นอกจากนี้ ยังต้องเร่งพัฒนาธุรกรรมการเงินในรูปแบบที่สอดคล้องกับพฤติกรรมใหม่ ๆ ของลูกค้า อาทิ ระบบชำระเงินแบบไร้สัมผัส ซึ่งจะส่งผลให้ผู้บริโภคจะได้รับประสบการณ์ในรูปแบบใหม่ ๆ ในการใช้บริการธนาคาร
รวมถึงสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ในอนาคต อาทิ ผลิตภัณฑ์การออมที่มีเงื่อนไขตอบรับกระแสการใช้เงินที่ระมัดระวังขึ้น หรือแนวทางการสร้างรายได้จากบริการทางการเงินเฉพาะส่วนหรือเฉพาะกระบวนการที่ลูกค้าภาคธุรกิจต้องการ (Banking as a service) เพื่อสร้างรายได้ใหม่ ๆ นอกเหนือไปจากการควบคุมและบริการจัดการต้นทุนอย่างต่อเนื่อง
เพิ่มเราเป็นเพื่อนได้แล้ววันนี้!....
ทีมงาน INN WHY? รายการเพื่อผู้บริโภค ร่วมปฏิวัติความคิด ปรับเปลี่ยนชีวิต ก้าวสู่ความมั่นคง หลังเกษียณ
ติดตามเราได้ที่ไลน์แอด @INNWHY.TV หรือ Facebook.com/INNWHY.TV และ Youtube.com/c/innwhy
Contact us : INNWHY31@gmail.com