“โรคคาโรชิ” มุมมืดของญี่ปุ่น…ดิ นแดนสวรรค์ใครหลายคน
REUTERS/Toru Hanai/File Photo GLOBAL BUSINESS WEEK AHEAD
“ประเทศญี่ปุ่น” สำหรับคนไทย และอีกหลายๆ ชาติมักชวนฝันให้นึกถึง “ความเป็นระเบียบเรียบร้ อยของคนในประเทศ” หรือบ้างก็อาจจะนึกถึง “ความเป็นสังคมสูงอายุคุณภาพสู งของโลก” เพราะนอกจากการเป็นสังคมสูงวั ยของโลกมานานหลายปีติดต่อกัน ญี่ปุ่นยังได้ชื่อว่าเป็นชาวบลู โซน ซึ่งก็คือ กลุ่มประเทศที่มีผู้สูงอายุที่ มีความสุขที่สุดในโลกอยู่ที่เมื อง “โอกินาวา”
แต่ใครจะรู้ว่าภายใต้วัฒนธรรมที่ เป็นระเบียบเรียบร้อยมากๆ ของชาวญี่ปุ่นนั้น กลับฝังรากลึกของความกดดั นมากมายหลายอย่าง โดยเฉพาะ “ธรรมเนียมการทำงาน” ที่เคร่งเครียดมากหลายเท่า เมื่อเทียบกับประเทศไทย หรือประเทศอื่นในโซนยุ โรปและโซนอเมริกา ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นกลุ่ มประเทศที่มีวั ฒนธรรมในการทำงานที่ชิลสุดๆ โดยเฉพาะใน 3 ประเทศ บราซิล สเปน และฝรั่งเศส
อ้างอิงได้จากผลสำรวจของ “เอ็กซ์พีเดีย เจแปน” ประจำปี 2018 ที่ระบุว่า 3 ประเทศข้างต้นเป็น 3 ใน 19 ประเทศที่ทำการสำรวจ และใช้วันหยุดประจำปีครบตามสิ ทธิ์ 100 % กล่าวคือ ทั้งฝรั่งเศส สเปน และบราซิล พนักงานจะใช้วันลาพักผ่ อนประจำปีอย่างเต็มที่ ทั้งหมด 30 วันในทุกๆ ปี
ทั้งนี้ มีแนวนโยบายของบางประเทศ เช่น “ฝรั่งเศส” ที่น่าสนใจมาก รัฐบาลได้ประกาศปรับลดชั่ วโมงการทำงานจากสัปดาห์ละ 39 ชั่งโมง ให้เหลือ 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และให้เพิ่มชั่วโมงพั กในตอนกลางวันเป็น 2 ชั่วโมง เพื่อให้พนักงานมีเวลาว่ างในการพักผ่อนที่มากขึ้น นอกจากนี้ยังออกกฎให้ทุกบริษั ทในฝรั่งเศสปฏิบัติตาม นั่นก็คือ พนักงานที่ลาพักร้อนจะต้องหยุ ดการสื่อสารชั่วคราวกับบริษั ทในทุกกรณี เพื่อไม่ให้นายจ้างแอบสั่ งงานในเวลาที่พนักงานพักผ่อน
แต่สำหรับ “ญี่ปุ่น” ยังคงเป็นแชมป์ของประเทศที่ใช้ วันหยุดประจำปีน้อยที่สุดในโลก ติดต่อกันเป็นปีที่ 3 โดยชาวออฟฟิศวัยหนุ่มสาวใช้ ไปเพียง 50% ของสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากที่ ทำงาน หรือเฉลี่ยแล้วใช้ไปเพียง 10 วัน จากทั้งหมด 20 วันต่อปี ด้วยเหตุผลส่วนใหญ่ที่ระบุว่า “มีความรู้สึกผิดต่อเพื่อนร่ วมงาน นายจ้าง และไม่ต้องการให้ผู้อื่นมองว่ าไม่มีความรับผิดชอบ”
ที่น่าสนใจคือ มีหนึ่งประโยคที่ใช้นิ ยามชาวออฟฟิศในญี่ปุ่นได้ดี ซึ่งระบุในรายงานการสำรวจดังกล่ าวว่าเป็น “กลุ่มวัยทำงานชาวญี่ปุ่นสามารถ balance ระหว่างเวลาทำงาน และชีวิตประจำวันได้แย่ที่สุ ดในเอเชีย” ซึ่งที่ผ่านๆ มาหากใครเคยเดินทางไปญี่ปุ่น หรือติดตามข่าวสารจะเห็ นรายงานข่าวอยู่บ่อยๆ ว่าหนุ่มสาวชาวออฟฟิศมักจะสั งสรรค์ในทุกๆ วันศุกร์อย่างหนักหน่วง หลังจากที่เหน็ดเหนื่อยกั บการทำงานมาทั้งสัปดาห์ จนแทบจะกลายเป็นประเพณีการดื่ มเพื่อทิ้งทวนสัปดาห์แห่ งการทำงานไปแล้วในปัจจุบัน
และด้วยวัฒนธรรมที่บ้าคลั่งกั บการทำงานของชาวญี่ปุ่น จึงเป็นที่มาของ “โรคคาโรชิ” แปลตรงตัวในความหมายภาษาญี่ปุ่ นก็คือ “ทำงานหนักจนตาย” หรือ ภาวะที่ทำงานหนักเกินกว่าที่ร่ างกายจะทนไหว จนเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะหั วใจวายและเส้นเลือดในสมองตีบตัน โดยนิตยสารการแพทย์มากมายทั้ งของญี่ปุ่นและต่างประเทศ ระบุตรงกันว่า โรคดังกล่าวเกิดขึ้ นมาจากความเครียดและการอดอาหาร
อธิบายง่ายๆ ก็คือ คนญี่ปุ่นชอบทำงานหนักต่อเนื่ องจนร่างกายไม่ได้หยุดพักเท่าที่ ควร จนเกิดอาการนอนหลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ ส่วนการอดอาหารก็เพื่อต้ องการทำงานที่ยืดเยื้อให้เสร็จ สะสมจนเกิดภาวะร่ างกายขาดสารอาหาร ทำให้เกิดภาวะหัวใจวายและเส้ นเลือดในสมองตีบในที่สุด
“โรคคาโรชิ” ไม่ใช่โรคที่เกิดขึ้นใหม่แต่อย่ างใด ซึ่งเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่ในสมั ยสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว เพียงแต่ปัญหานี้หนักขึ้นเรื่ อยๆ แม้รัฐบาลญี่ปุ่นจะออกมาตรการจู งใจมากมายเพื่อบังคับให้ชาวญี่ ปุ่นท่องเที่ยว หรือใช้เวลาพักผ่อนให้เต็มที่ มากขึ้น
ที่น่ากังวลยิ่งกว่าคือ ปรากฎการณ์นี้ไม่ได้มีเพียงแต่ ในญี่ปุ่นเท่านั้น เพราะยังได้เกิดขึ้ นในหลายประเทศในเอเชียด้วย เช่น เกาหลีใต้ และในจีน แม้ว่าจะมีชื่อเรียกที่แตกต่ างกันออกไป แต่สิ่งที่สะท้อนเหมือนกันก็คือ “การไม่พยายามสร้างสมดุลให้กั บชีวิตในทางที่ถูกต้อง”
เพิ่มเราเป็นเพื่อนได้แล้ววันนี้!....
“Every day is a fresh start” ทุกๆ วัน คือการเริ่มต้นใหม่…สาวน้อยปริศนา อารมณ์ดี…ผู้มีหัวใจมุ่งมั่น เต็มเปี่ยมด้วยแรงบันดาลใจ ดำรงชีพด้วยการทำในสิ่งที่รัก และรักในสิ่งที่ทำ “เชื่อว่าปาฏิหาริย์ สามารถเกิดขึ้นได้…ตลอดเวลา”