ตลาดประกันสุขภาพมาเลย์วุ่น!แบงก์ชาติสั่งบริษัทประกันภัยทบทวนกลยุทธ์ปรับราคาใหม่ หลังผู้เอาประกันกังวล หวั่นประกันขึ้นเบี้ยหนัก ตลาดประเมินเทรนด์ประกันสุขภาพปีหน้า ขึ้นเบี้ย 40-70 % ภาคประกันแจงขยับราคาเพราะแบกต้นทุนกระฉูด ทั้งเคลมพุ่งเหตุค่ารักษาแพงลิบ งัดกติกาผู้เอาประกันร่วมจ่าย (Copayment) ลดผลกระทบอีกทาง ฟากโรงพยาบาลตั้งหน่วยควบคุมต้นทุนค่ารักษา
เว็บไซต์ AsiaInsuranceReview รายงานว่า ธนาคารกลางมาเลเซีย (Bank Negara Malaysia :BNM ) กำหนดให้บริษัทประกันภัยและบริษัทประกันภัยตะกาฟุล (insurers and takaful operators (ITOs) ทบทวนกลยุทธ์การกำหนดราคาเบี้ยประกันภัยใหม่หลังจากผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัยแสดงความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับการปรับเบี้ยประกันภัยผลิตภัณฑ์ประกันภัยสุขภาพและประกันภัยตะกาฟุลเมื่อเร็วๆนี้
ในแถลงการณ์ ธนาคารกลางมาเลเซียกล่าวว่า ข้อกำหนดดังกล่าวครอบคลุมการปรับเบี้ยประกันภัย/เงินสมทบตามระยะเวลา(กรมธรรม์ประกันภัยตะกาฟุล) เพิ่มขึ้น โดยต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อเจ้าของกรมธรรม์/ผู้เข้าร่วมประกันภัยตะกาฟุลเป็นสำคัญ นอกจากนี้ ธนาคารยังกำหนดให้บริษัทประกันภัยและบริษัทประกันภัยตะกาฟุลต้องเสนอทางเลือกที่เหมาะสมแก่เจ้าของกรมธรรม์/ผู้เข้าร่วมตะกาฟุลที่ได้รับผลกระทบอย่างมากจากการปรับเบี้ยประกันภัย/เงินสมทบที่สูงขึ้นเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองจากกรมธรรม์ประกันภัย/ประกันภัยตะกาฟุลต่อไป
ยิ่งกว่านั้น บริษัทประกันภัยและบริษัทประกันภัยตะกาฟุลต้องมั่นใจว่า ทางเลือกที่ให้ไว้นั้นมีความหมาย และต้องจัดเตรียมมาตรการต่างๆเพิ่มเติมเพื่อรองรับเจ้าของกรมธรรม์/ผู้เข้าร่วมประกันภัยตะกาฟุลที่ได้รับผลกระทบ
หนังสือพิมพ์ Utusan Malaysia รายงานเมื่อไม่นานนี้ว่า มีการคาดการณ์ว่า จะมีการปรับเบี้ยประกันภัยสุขภาพเพิ่มเพิ่มขึ้น 40-70% ในปี2568
โครงการริเริ่มของภาคประกันภัย
สมาคมประกันชีวิตมาเลเซีย (LIAM) สมาคมตะกาฟุลมาเลเซีย (MTA) และ Persatuan Insurans Am Malaysia (PIAM) (สมาคมประกันวินาศภัย) ออกแถลงการณ์ร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยระบุว่าพวกเขามุ่งมั่นที่จะดำเนินการดังต่อไปนี้ ปรับปรุงการปรับราคาเบี้ยประกันภัยให้เหมาะสมเพื่อจัดการกับผลกระทบต่อลูกค้า , เปิดสายด่วนพิเศษ( hotline) สำหรับบริษัทประกันภัยแต่ละบริษัทและจัดตั้งโปรแกรมบรรเทาทุกข์เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยสามารถติดต่อได้ง่าย ,เสนอแผนชำระเบี้ยประกันภัย/เงินสมทบที่ยืดหยุ่นสำหรับผู้เอาประกันภัยที่ได้รับผลกระทบ, เสนอทางเลือกสำหรับแผนความคุ้มครองที่แตกต่างกันในราคาเบี้ยประกันภัย/เงินสมทบที่ถูกกว่าหรือเท่ากันและนำกลไกการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพมาใช้ รวมถึงเปิดช่องทางการสื่อสารเฉพาะสำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรการดังกล่าวจะประกาศให้ทราบเร็วๆ นี้
ทั้ง 3 หน่วยงานยังยินดีกับการประกาศล่าสุดของสมาคมโรงพยาบาลเอกชนมาเลเซีย (Association of Private Hospitals Malaysia (APHM) ในการจัดตั้งหน่วยควบคุมต้นทุนขึ้นมาเพื่อจัดการกับต้นทุนด้านการดูแลสุขภาพที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยโครงการริเริ่มนี้มุ่งหวังที่จะทำให้แน่ใจว่า บริการด้านการดูแลสุขภาพยังคงมีราคาไม่แพง ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ ในขณะที่ยังคงมาตรฐานการดูแลที่สูงอยู่
อุตสาหกรรมประกันภัยยังสนับสนุนการเรียกร้องของรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขที่ให้มีการส่งมอบระบบการดูแลสุขภาพตามมูลค่า รวมไปถึงการเปิดตัวทางเลือกให้มีค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือการกำหนดให้ผู้เอาประกันภัยร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลที่เริ่มนำมาใช้เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นทางออกที่มุ่งเป้าไปที่การลดเบี้ยประกันภัยลง โดยบริษัทประกันภัยร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับผู้ถือกรมธรรม์และส่งเสริมการใช้บริการดูแลสุขภาพตามความจำเป็นในระยะยาว
อุตสาหกรรมประกันภัยเผยว่า ยังคงร่วมมือกับธนาคารกลางมาเลเซียเพื่อจัดการปัญหาต้นทุนการดูแลสุขภาพต่อไป
เคลมพุ่ง-ค่ารักษาวิ่งฉิว
ประเด็นการปรับเบี้ยประกันภัยสุขภาพเพิ่มขึ้น สมาคมต่างๆ ชี้แจงว่า “ในช่วงปี 2564 ถึง 2566 อุตสาหกรรมประกันภัยและประกันภัยตะกาฟุลประสบกับอัตราเงินเฟ้อต้นทุนค่ารักษาพยาบาลสะสมที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนที่พุ่งสูงถึง 56% เนื่องจากปัจจัยต่างๆ อาทิ ต้นทุนการรักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้น เทคโนโลยีการดูแลสุขภาพขั้นสูง และการใช้บริการดูแลสุขภาพที่เพิ่มขึ้น ทำให้การปรับราคาเบี้ยประกันภัยเพิ่มขึ้นเป็นมาตรการที่หลีกเลี่ยงไม่ได้”
พวกเขากล่าวเสริมว่า “แม้บริษัทประกันภัยและบริษัทประกันภัยตะกาฟุลจะมีวงจรการปรับราคาเบี้ยประกันภัยที่แตกต่างกัน แต่โดยปกติแล้ว จะมีการทบทวนและปรับเบี้ยประกันภัยทุกๆ สามปีเพื่อให้แน่ใจว่า แผนประกันสุขภาพจะมีความยั่งยืน ขณะที่ผลกระทบสะสมจากเงินเฟ้อค่ารักษาพยาบาลที่ทำให้ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มสูงขึ้นทำให้มีการปรับเบี้ยประกันภัยเพิ่มขึ้น”
พวกเขากล่าวเสริมว่า “แม้ว่าบริษัทประกันภัยและผู้ประกอบการทากาฟุลจะมีวงจรการปรับราคาที่แตกต่างกัน แต่โดยปกติแล้วพวกเขาจะตรวจสอบและปรับเบี้ยประกันทุกๆ สามปีเพื่อให้แน่ใจว่าแผนประกันสุขภาพจะมีความยั่งยืน ผลกระทบสะสมจากการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนทำให้มีการปรับเบี้ยประกันเพิ่มขึ้น
เพิ่มเราเป็นเพื่อนได้แล้ววันนี้!....
ทีมงาน INN WHY? รายการเพื่อผู้บริโภค ร่วมปฏิวัติความคิด ปรับเปลี่ยนชีวิต ก้าวสู่ความมั่นคง หลังเกษียณ
ติดตามเราได้ที่ไลน์แอด @INNWHY.TV หรือ Facebook.com/INNWHY.TV และ Youtube.com/c/innwhy
Contact us : INNWHY31@gmail.com