รายงานการประกันทั่วโลกฉบับล่าสุดของอลิอันซ์ ชี้ว่า ในปี 2564  ตลาดประกันเอเชียมีอัตราการเติบโตต่ำกว่าตลาดอื่นๆในโลก โดยหากไม่นับรวมญี่ปุ่น รายได้จากเบี้ยประกันทั้งหมดโตเพียง 0.6% โดยเบี้ยประกันชีวิตโต 0.3% ขณะที่เบี้ยประกันทรัพย์สินและวินาศภัยโต 1.4%  สาเหตุสำคัญเพราะเบี้ยประกันในจีนโตลดลง 1.7%

เมื่อเปรียบเทียบกัน  เบี้ยประกันทั่วโลกโตประมาณ 5.1% ในปีที่ผ่านมา โดยเบี้ยประกันชีวิตโต 4.4% ขณะที่เบี้ยประกันทรัพย์สินและวินาศภัยโต 6.3% เนื่องจากมีแรงหนุนทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง มีการตระหนักถึงความเสี่ยงมากขึ้น และมีการออมที่สูงเป็นประวัติการณ์เนื่องจากตลาดบูม  รายได้จากเบี้ยประกันทั้งหมดมีมูลค่าถึง 4.2 ล้านล้านยูโร หรือ 4,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  โดยเบี้ยประกันชีวิตมีมูลค่า 2.5 ล้านล้านยูโร และเบี้ยประกันทรัพย์สินและวินาศภัยมีมูลค่า 1.7 ล้านล้านยูโร

เบี้ยประกันภัยของเอเชียเติบโตขึ้น 1.7% ในปีที่แล้ว ซึ่งเร็วกว่าการเติบโตของเบี้ยประกันชีวิต แต่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกอย่างมาก  เบี้ยประกันที่ลดลงนี้ ส่วนใหญ่เกิดจากการพัฒนาเชิงลบในจีน (โตลดลง1.7%) นอกจากนี้ ปริมาณเบี้ยประกันภัยในญี่ปุ่นเกือบหยุดชะงัก (เพิ่มขึ้น0.2%) ส่งผลให้การเติบโตเฉลี่ยในเอเชียลดลง  และหากไม่รวมจีนและญี่ปุ่น อเชียมีเบี้ยประกันภัยเพิ่มขึ้นเกือบ 8%

สำหรับธุรกิจประกันชีวิตมีอัตราการเติบโตเพียง 0.9%ในปีที่แล้ว  ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกอย่างมีนัยสำคัญ  โดยส่วนแบ่งการเติบโตของเบี้ยประกันชีวิตในเอเชียในปี 2564 อยู่ที่ 8.2% และ 4.4% สำหรับเบี้ยประกันภัย

รายงานของอลิอันซ์ยังชี้ว่า  แม้มีความไม่แน่นอนมากขึ้นจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนและโควิด-19  แต่การเติบโตของธุรกิจประกันในเอเชียน่าจะโตเพิ่มขึ้นเป็น 7.2% ในปีนี้ โดยประกันชีวิตโต 7% และ ประกันทรัพย์สินและวินาศภัยโต 7.6%

ในขณะเดียวกันคาดว่า การเติบโตโดยเฉลี่ยในเอเชียในช่วง 10 ปีข้างหน้าจะอยู่ที่ 7.3% โดยประกันชีวิตโต 7.5% และประกันภัยโต 6.8%  ซึ่งต่ำกว่าระดับสิบปีที่แล้วเล็กน้อย ซึ่งโต 7.5%

รายได้จากเบี้ยประกันภัยทั่วโลกน่าจะโตต่ำกว่าที่ได้คาดการณ์ประมาณ 0.1% เนื่องจากสงครามยูเครนส่งผลกระทบต่อกิจกรรมเศรษฐกิจและความเชื่อมั่น แม้ว่าเงินเฟ้อกระทบรายได้

โดยรวมแล้ว ในขณะนี้อลิอันซ์คาดว่า รายได้จากเบี้ยประกันทั่วโลกจะโตประมาณ 4.8%ในปีนี้ โดยเบี้ยประกันชีวิตโต 4.9% ขณะที่เบี้ยประกันทรัพย์สินและวินาศภัยโต 4.6%  เทียบกับอัตราเงินเฟ้อทั่วโลกที่ 6.2% ในปีนี้

อลิอันซ์กล่าวว่าสงครามรัสเซีย-ยูเครนจะส่งผลกระทบในวงกว้างต่อโครงสร้างความเสี่ยงทั่วโลก ในขณะที่มีการจัดระเบียบแรงงานทั่วโลกใหม่ บทบาทของตลาดเกิดใหม่ น่าจะลดลง โดยยุคของชนชั้นกลางที่เกิดใหม่ทั่วโลกในฐานะที่เป็นแรงขับเคลื่อนการเติบโตที่เชื่อถือได้ อาจจบสิ้นลง

ในทางกลับกัน การปรับโครงสร้างใหม่ของห่วงโซ่อุปทานระหว่างประเทศ ทำให้เกิดโอกาสใหม่ ๆ เนื่องจากกระบวนการนี้ไม่ได้เป็นแค่เป็นแกนหลัก แต่เป็น  “การบริหารความเสี่ยงเชิงประยุกต์”  ซึ่งเป็นความสามารถหลักของบริษัทประกัน และมันจะช่วยเร่งให้มีการเปลี่ยนจากตรรกะเรื่องผลิตภัณฑ์เพียงอย่างเดียว ไปเป็นโมเดลธุรกิจที่เน้นบริการมากขึ้น

ในธุรกิจประกันชีวิต  การเปลี่ยนแปลงของประชากร น่าจะเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตที่แข็แกร่ง ซึ่งประยุกต์ใช้ได้กับทั้งตลาดที่เจริญแล้วและตลาดเกิดใหม่  การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการสูงวัยอย่างไม่หยุดยั้ง และหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นและระบบประกันสังคมที่มักไม่เพียงพอ  ทำให้มีความจำเป็นในการเพิ่มเงื่อนไขแต่ละบุคคล  การพัฒนาการนี้น่าจะได้ประโยชน์จากการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับวิกฤต 2 พัฒนาการในปีที่จะมาถึง นั่นคือ จะมีการตระหนักถึงความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหลังวิกฤตโควิดและอัตราดอกเบี้ยที่เป็นศูนย์ที่กระตุ้นเงินเฟ้อจะสิ้นสุดลง ซึ่งจะทำให้แบบประกันแบบออมทรัพย์และบำนาญมีความน่าสนใจมากขึ้นอีกครั้ง

ส่วนในธุรกิจทรัพย์สินและวินาศภัย การเปลี่ยนแปลงของสภาวะภูมิอากาศมีความสำคัญสองประการ  ประการแรก เหตุการณ์ที่สภาพอากาศมีความรุนแรงจะเพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ส่งผลให้การเรียกค่าสินไหมทดแทนและเบี้ยประกันภัยสูงขึ้น ในทางกลับกัน ความพยายามในการบรรเทาสภาวะอากาศจะเพิ่มมากขึ้น  โดยสิ่งแรกและสำคัญที่สุดคือการลดคาร์บอนต่อแหล่งพลังงานต่างๆ  ซึ่งยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นท่ามกลางสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ส่งผลให้มีการแสวงหาอิสรภาพด้านพลังงาน  พัฒนาการเหล่านี้ต้องการการลงทุนครั้งใหญ่จากทั้งภาครัฐและเอกชน และทำให้มีความต้องการมากที่จะคุ้มครองความเสี่ยง  เนื่องจากความเสี่ยงใหม่ ๆ จะเกิดขึ้นมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง

รายงานของอลิอันซ์ ระบุว่า อุตสาหกรรมประกันมีแนวโน้มที่ดีรออยู่ข้างหน้าก็ต่อเมื่อประสบความสำเร็จในการรักษาความเกี่ยวข้องทางเศรษฐกิจและสังคม  การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้น จะทำให้เกิดความเสี่ยงใหม่ๆ เช่น ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องข้อมูล เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมใหม่ หรือ AI และความรับผิดชอบต่อสภาพอากาศ  ดังนั้นแทบจะไม่ค่อยขาดอุปสงค์ในการป้องกันและคุ้มครอง

อย่างไรก็ตาม มีการเรียกร้องให้อุตสาหกรรมประกันเสนอแนวทางแก้ไขความเสี่ยงเหล่านี้ เพื่อไม่ให้ ไม่สามารถทำประกันหรือมีการสันนิษฐานโดยเจตนาจากรัฐ  คำถามเกี่ยวกับความสามารถในการทำประกัน  และ ความสามารถในการจ่ายค่าประกันได้  น่าจะกลายเป็นความเร่งด่วนมากขึ้นในปีต่อ ๆ ไป โดยเฉพาะเกี่ยวกับภัยธรรมชาติ   ซึ่งทำให้บริษัทประกันต้องมีความคิดสร้างสรรค์และร่วมมือกับลูกค้าและรัฐบาลที่ก้าวไกลกว่าความพยายามในก่อนหน้านี้

รายงานยังระบุว่า อุตสาหกรรมประกัน ต้องก้าวไปไกลกว่าการกำหนดราคาและการถ่ายโอนความเสี่ยงเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เปลี่ยนแปลง และ จำเป็นต้องลดความเสี่ยงเชิงระบบอย่างแข็งขัน  ส่งผลกระทบต่อการรับทำประกันภัยและการลงทุน  จึงจะเกิดความยั่งยืน

เพิ่มเราเป็นเพื่อนได้แล้ววันนี้!....