“ฟิทช์ เรทติ้งส์“ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำของโลก คาด กำไรโดยรวมของบริษัทประกันชีวิตของญี่ปุ่นจะฟื้นตัวในปีการเงินสิ้นสุด 31 มีนาคม 2567 อานิงส์รัฐบาลคลายกฎเหล็กคุมโควิด พร้อมเปลี่ยนกฎการตีความ”คนไข้ใน”ใหม่ เอื้อภาคประกันชีวิตเก็บกำไรรับประกันเพิ่มขึ้น
เว็บไซต์ Asiainsurancereview.com รายงานว่า บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำของโลกระบุในรายงานฉบับใหม่ หัวข้อ “Japanese Life Insurance Dashboard: FYE2023 Results” ว่า กำไรของธุรกิจประกันชีวิตของญี่ปุ่นจะได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของกำไรจากการรับประกันภัยที่จะได้อานิงส์จากการที่รัฐบาลญี่ปุ่นผ่อนคลายข้อจำกัดต่างๆที่เกี่ยวข้องกับโควิดในเดือนพฤษภาคม 2566 และเปลี่ยนกฎการตีความ “ถือว่าการรักษาตัวในโรงพยาบาล” หรือคนไข้ใน(IPD)ใหม่
“ปัจจัยพื้นฐานด้านเครดิตโดยรวมของบริษัทประกันชีวิตของญี่ปุ่นจะยังคงฟื้นตัวได้”
พิทช์ กล่าวว่า กำไรหลักโดยรวมของบริษัทประกันชีวิตดั้งเดิมของญี่ปุ่น 9 บริษัลดลงเหลือ 1.541 ล้านล้านเยน (1.1หมื่นล้านดอลาร์สหรัฐ) หรือประมาณ 3.85แสนล้านบาท หรือลดลง41% เทียบปีต่อปีในปีงบประมาณ 2566
ผลการรับประกันภัยในปี 2566 แย่กว่าในปี 2565 สาเหตุหลักมาจากการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนประกันสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโควิด กรณี “ถือว่ารักษาตัวในโรงพยาบาล” ขณะที่รายได้จากการลงทุนยังคงซบเซาเนื่องจากต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เพิ่มขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ ยิ่งกว่านั้น ส่วนต่างการลงทุนที่เป็นบวกก็ลดลงเหลือ 699 พันล้านเยน หรือประมาณ 1.75แสนล้านบาท หรือลดลง41% เทียบปีต่อปีในปีงบประมาณ 2566 เช่นกัน
ด้านความเพียงพอของเงินกองทุน ฟิทช์ กล่าวว่า “เราคาดว่าความเพียงพอของเงินกองทุนของบริษัทประกันชีวิตจะยังคงเพียงพอสำหรับการจัดอันดับ(credit rating) ของพวกเขาในระยะเวลาหนึ่ง เป็นผลมาจากเงินกองทุนหลักที่สะสมไว้อย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ บริษัทประกันชีวิตของญี่ปุ่นส่วนใหญ่กำลังพยายามลดความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยเพื่อรับมือกับกฎระเบียบใหม่ของญี่ปุ่นที่จะประกาศใช้ในปี 2568”
ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2566 อัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนโดยรวมของบริษัทประกันชีวิตยังคงอยู่ในระดับสูงที่ 955% เทียบกับ 999% ในปีก่อนหน้า แม้ว่าจะได้รับผลกระทบเชิงลบจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นก็ตาม
ฟิทช์กล่าวถึงความเสี่ยงที่สำคัญที่ส่งผลต่อธุรกิจประกันชีวิต โดยเชื่อว่า ความเสี่ยงด้านตลาด(market risks) ยังคงเป็นความเสี่ยงที่สำคัญต่อบริษัทประกันชีวิตของญี่ปุ่น ส่วนความเสี่ยงที่อาจมีผลกระทบในเชิงลบในปีงบประมาณ 2567 ได้แก่ ยิลด์เคิร์ฟ(yield curve ) อัตราผลตอบแทนพันธบัตรเงินเยนที่กำลังแบนราบ การแข็งค่าของเงินเยนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ การกระจายของสินเชื่อต่างประเทศที่กว้างขึ้น และ/หรือการพังทลายของตลาดหุ้นญี่ปุ่น
อย่างไรก็ดี ฟิทช์ยังคงมีมุมมองต่อแนวโน้มภาคธุรกิจประกันชีวิตของญี่ปุ่น”เป็นกลาง “ (Neutral) โดยกล่าวว่า “เราคาดว่าเครดิตหลักจะยังคงมีความยืดหยุ่นโดยมีการคาดการณ์อันดับเครดิตที่คงที่ในช่วง 12 เดือนถึง 24 เดือนข้างหน้า ซึ่งอ้างอิงจากสมมติฐานที่ปรับปรุงใหม่ของเราเกี่ยวกับความตึงเครียดในตลาดการเงินโลก อาทิ ประเด็นภาคการธนาคารในสหรัฐอเมริกา และผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อคุณภาพสินเชื่อของบริษัทประกันชีวิตของญี่ปุ่น”
เพิ่มเราเป็นเพื่อนได้แล้ววันนี้!....
ทีมงาน INN WHY? รายการเพื่อผู้บริโภค ร่วมปฏิวัติความคิด ปรับเปลี่ยนชีวิต ก้าวสู่ความมั่นคง หลังเกษียณ
ติดตามเราได้ที่ไลน์แอด @INNWHY.TV หรือ Facebook.com/INNWHY.TV และ Youtube.com/c/innwhy
Contact us : INNWHY31@gmail.com