เว็บไซต์ Asiainsurancereview รายงานข่าวจากบริษัท ฟิทช์ เรตติ้งส์ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำระดับโลกว่า บริษัท โตเกียว มารีน โฮลดิ้งส์ ( Tokio Marine Holdings (TMHD) บริษัทประกันภัยที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ได้ได้เสริมสร้างความแข็งแกร่งในการดำเนินงานด้านการรับประกันภัยในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง

TMHD ประมาณการว่า เบี้ยประกันภัยภัยจากหน่วยธุรกิจในต่างประเทศจะมีสัดส่วนเกือบครึ่งของเบี้ยประภันภัยรับรวม และมีกำไรจากหน่วยธุรกิจในต่างประเทศมากกว่า 60% ของกำไรรวมในการสรุปงบการเงิน ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567  (FYE 2024)

ธุรกิจหลักของหน่วยธุรกิจประกันภัยในต่างประเทศของ TMHD มาจากสหรัฐอเมริกา รวมถึงบริษัท  HCC Insurance Holdings โดย TMHD ประมาณการว่า  กำไรจากหน่วยธุรกิจในสหรัฐอเมริกาจะมีสัดส่วนเกิน 80% ของกำไรรวมจากต่างประเทศใน FYE2567

ยืนยันเรตติ้ง‘AA-‘ (Very Strong)

ฟิทช์ยังคงยืนยันอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ Tokio Marine & Nichido Fire Insurance (TMNF) บริษัทแม่ของ TMHD ที่ ‘AA-‘ (Very Strong) ขณะที่มีแนวโน้มเป็น ‘ Stable  ‘  

ในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ IFS เรตติ้ง ยังพิจารณาเกี่ยวกับ”ความนิยมชื่นชมมากที่สุด” ‘Most Favourable’  จากประวัติของบริษัทTMHD, ผลประกอบการทางการเงินที่แข็งแกร่ง และ อัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนที่แข็งแกร่งมาก   โดยปัจจัยเหล่านี้ช่วยลดความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้นในประเทศและการกระจุกตัวของหลักหลักทรัพย์ที่ออกโดยรัฐบาลในพอร์ตการลงทุนของ TMHD   และแม้ว่า TMHD   จะได้ผลกระทบจากภัยพิบัติธรรมชาติที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นก็ตาม  แต่ก็สามารถรับมือได้เป็นอย่างดีจนถึงปัจจุบันเนื่องจากการทำธุรกิจที่หลากหลายและการลงทุนที่แตกต่างกัน

นอกเหนือจากกำไรจากการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศที่แข็งแกร่งแล้ว ตัวขับเคลื่อนการจัดอันดับที่สำคัญสำหรับ TMHD ยังรวมถึง:

ความสามารถในการจัดเงินทุนที่แข็งแกร่งมาก:  ตัวชี้วัดความเพียงพอของเงินกองทุนของ TMHD ยังคงแข็งแกร่งมาก  โดยอัตราส่วนความสามารถในการจ่ายหนี้ตามกฎหมายของบริษัทลดลงเหลือ 600% ณ สิ้นเดือนกันยายน 2566  จาก 623%  ณ สิ้นปีปัญชีการเงิน 2566  ส่วนหนึ่งเนื่องจากผลกระทบด้านลบต่อการประเมินมูลค่าสินทรัพย์จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรต่างประเทศที่สูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ทางเศรษฐกิจได้เพิ่มขึ้นจาก 124% เป็น 133% ซึ่งสะท้อนถึงผลกระทบจากการประเมินมูลค่าที่เกิดจากสภาพแวดล้อมของอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น เนื่องจากบริษัทประกันภัยมีการตั้งมูลค่าการตลาดจากการราคาสินทรัพย์ลงทุนและหนี้สินจากการรับประกันเข้าด้วยกัน ในขณะที่อัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ตามกำหนด -ขึ้นอยู่กับมาตรฐานการบัญชีปัจจุบัน – ใช้วิธีการคำนวณตามมูลค่าทางบัญชีเพื่อคำนวณหนี้สินประกันภัย ในขณะที่การลงทุนต่างประเทศจะประเมินมูลค่าตามมูลค่าตลาด

การปรับเบี้ยประกันภัยเพิ่มขึ้น : อัตราค่าใช้จ่ายรวม( combined ratio) สำหรับเดือนเมษายนถึงกันยายน 2566  ยังคงลดลงอยู่ที่ 103% เทียบกับ 105% ในปีก่อนหน้า เนื่องจากผลกระทบด้านลบจากภัยพิบัติธรรมชาติในประเทศญี่ปุ่น  เช่น พายุและลูกเห็บ  โดย TMNF ยังคงปรับเบี้ยประกันภัยเพิ่มขึ้นเพื่อสะท้อนถึงประสบการณ์จริงในสายธุรกิจประกันทรัพย์สินและประกันภัยรถยนต์ เนื่องจากภัยพิบัติทางธรรมชาติในญี่ปุ่นเกิดขึ้นบ่อยครั้งมากขึ้น  โดยบริษัทฯคาดว่า กำไรจากการรับประกันภัยจะฟื้นตัวขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เป็นผลจากบริษัทฯปรับเบี้ยประกันภัยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ความเสี่ยงสูงต่อหุ้นในประเทศ: จุดอ่อนที่สำคัญที่สุดของ TMHD ยังคงเป็นการถือครองหุ้นในประเทศ ซึ่งคิดเป็นประมาณ 10% ของสินทรัพย์ในปีปัญชี 2566   อย่างไรก็ตาม บริษัทฯมีแผนที่จะลดการลงทุนในหุ้นในประเทศลงเกือบ 2แสนล้านเยน ( อัตราแลกเปลี่ยน 100 เยน ประมาณ25บาท) หรือมากกว่า 8% ของการถือครองหุ้นในปีบัญชี 2567  โดย TMHD  ยังมีความเสี่ยงในการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกาผ่านบริษัทในเครือในสหรัฐอเมริกา แต่ฟิทช์เชื่อว่า ความเสี่ยงอยู่ในระดับที่สามารถจัดการได้เมื่อเทียบกับเงินทุนของบริษัทฯ

การกระจุกตัวในหนี้สาธารณะ: ความเสี่ยงที่ TMHD ต้องเผชิญต่อหนี้สาธารณะของญี่ปุ่นอยู่ที่ประมาณ 180% ของเงินทุนในปีบัญชี 2566  โดยความเสี่ยงที่เกิดจากการกระจุกตัวของหนี้สาธารณะยังคงเป็นปัจจัยที่ฟิทช์ให้ความสำคัญในการประเมินความเสี่ยงของการลงทุนและความเสี่ยงด้านสินทรัพย์ของ TMHD ที่ระดับอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารหนี้ของญี่ปุ่นที่ ‘A’/Stable

ผลกระทบจากการรวมกลุ่มกันควรจะจัดการได้: หน่วยงานบริการทางการเงินของญี่ปุ่น  หรือFSA( Financial Services Agency) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลภาคการเงิน ประกันภัยได้สั่งให้บริษัทประกันภัย 4 บริษัท รวมถึง TMNF รายงานเกี่ยวกับการ”ฮั้วกัน”เพื่อขึ้นเบี้ยประกันทรัพย์สินสำหรับลูกค้ากลุ่มบริษัท  โดยฟิตช์เชื่อว่า การกระทำดังกล่าว ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับข้อผิดพลาดด้านการดำเนินงานมากกว่าการร่วมมือกันขึ้นเบี้ยประกันภัยอย่างไม่ยุติธรรม ซึ่งยังคงต้องติดตามการสอบสวนของรัฐบาลญี่ปุ่นต่อไป

เพิ่มเราเป็นเพื่อนได้แล้ววันนี้!....