วงการประกันภัยห่วงเงินออมคนไทย เอกชนแนะรัฐเก็บส่วนลดภาษีไว้ดูแล สุขภาพคนทำงานหลังเกษียณ
สถานการณ์สังคมสูงวัย (Aging Society) ในประเทศไทยกับความพร้อมของภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนที่เมื่อถึงวันที่ สังคมไทยสูงวัยเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่สูงมาก ทุกคนจะรับมือกับตรงนั้นอย่างไร เป็นปัญหาหนักอกของทุกประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะเรื่องของการดูแลสุขภาพตั้งแต่อายุยังน้อยไปจนถึงการเก็บออมเงินสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายยามหลังหยุดทำงานไปแล้ว โดยเฉพาะการออมเงินในรูปแบบการประกันชีวิตและประกันสุขภาพที่อุตสาหกรรมประกันภัยกำลังตื่นตัวกระตุ้นให้คนไทยเกิดการออมเงินกันตั้งแต่อายุยังน้อยเพื่อลดภาระทุกปัญหาค่าใช้จ่ายให้กับครอบครัว ภาครัฐและตัวเอง ซึ่ง INN WHY ได้รวบรวมแนวคิด มุมมอง และข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะรับมือกับตรงนั้นอย่างไรมานำเสนอ ดังนี้
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กล่าวในงานประชุมวิชาการ “Health Insurance Innovation Congress Asia Pacific 2018” ณ เขตการปกครองพิเศษฮ่องกง ว่า โครงสร้
โดยภาครัฐให้การสนับสนุนภาคเอกชนให้มีส่วนร่วมในการเพิ่มความคุ้มครองด้านสุขภาพให้กับประชาชนมากขึ้น โดยขั้นแรกจะเริ่มจากนายจ้างให้สวัสดิการด้านสุขภาพเพิ่มเติมกับลูกจ้าง และขั้นที่สองให้บริษัทประกันภัยเป็นผู้เสนอความคุ้มครองด้านสุขภาพให้กับประชาชนทั่วไป ซึ่งทางสำนักงาน คปภ. เป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการกำหนดรายการในชุดสิทธิประโยชน์ประกันสุขภาพเอกชน ปัจจุบันได้มีการปรับปรุงแบบและข้อความมาตรฐานสำหรับสัญญาประกันภัยสุขภาพ เพื่อให้มีสัญญาประกันภัยสุขภาพฉบับมาตรฐานที่สามารถรองรับกับแผนปฏิรูประบบสาธารณสุขของประเทศไทยพร้อมกับปรับให้มีความสอดคล้องกับเทคโนโลยี และวิธีการรักษาทางการแพทย์ในปัจจุบัน และสภาวการณ์อื่นๆที่เป็นปัจจุบันแล้ว
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ ในฐานะนายกสมาคมประกันชีวิตไทยได้ประกาศทิศทางการดำเนินงานของสมาคมฯปี 2562 จะให้ความสำคัญในเรื่องการสื่อสารให้คนไทยตระหนักถึงประโยชน์ของการทำประกันชีวิตมากขึ้นเป็นลำดับแรก ทั้งนี้จากตัวเลขของจำนวนกรมธรรม์ต่อจำนวนประชากร ณ วันนี้อยู่ที่ประมาณร้อยละ 39.5 ซึ่งถือว่ายังน้อยมาก แสดงให้เห็นว่า ประชาชนกว่าร้อยละ 60 ยังไม่มีการเก็บออมในรูปแบบประกันชีวิตใดๆไว้เลย ถึงแม้ว่าคนเราจะยั้งตัวเราไม่ให้ตาย ไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ ไม่เจ็บป่วย เราป้องกันไม่ได้ แต่เรามีส่วนช่วยนำเงินจากประกันชีวิตไปแบ่งเบาภาระที่เกิดขึ้นได้
หลายคนมักคิดว่า เราไม่ใช่คนนั้น แต่ก็ยังมีคนจำนวนมากที่ต้องเจอเหตุการณ์ที่เศร้าแบบนี้และหลายคนถ้าไม่วางแผนการเงินให้ดี ครอบครัวอาจได้รับผลกระทบจากการที่ไม่ได้วางแผนการเงินหรือทำประกันชีวิตเอาไว้ จึงอยากเชิญชวนคนไทยทุกคนตระหนักถึงการทำประกันชีวิตในเรื่องของความคุ้มครอง ในเรื่องของวินัยการเงิน วันนี้ประเทศเข้าสู่ยุคสังคมสูงวัย คนอายุยืนขึ้น การรักษาพยาบาลดีขึ้น และเราต้องเตรียมตัวให้กับตัวเองมาช่วยกันดูแลตัวเองในยามแก่ เฒ่า ชรา ด้วย
นายสมโพชน์ เกียรติไกรวัล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สะท้อนว่า สังคมไทยยังมีความต้องการ “เก็บออมเงิน” เพื่อการวางแผนเกษียณอายุอีกมาก เพราะปี 2564 จะมีคนไทยอายุเกิน 60 ปีมากถึง 13 ล้านคนหรือคิดเป็น 20% ของประชากรประเทศ วันนี้ต้องรีบรณรงค์ให้ประชาชนเก็บออมเงินเพื่อเตรียมตัว เตรียมความพร้อมสำหรับการอยู่เป็นผู้สูงอายุในอนาคต
ยกตัวอย่าง ประเทศอิตาลีมีประชากรผู้สูงอายุมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากประเทศญี่ปุ่น รัฐบาลให้การสนับสนุนค่อนข้างมากแต่สุดท้ายประสบปัญหาการเงิน ฉันนั้นถ้าเราช่วยมากเกินไป เงินก็มีน้อยอนาคตก็มีโอกาสเดือดร้อนได้เหมือนกันผมคาดหวังว่า “คนไทย” จะเริ่มเข้าใจและหันหน้ามาเก็บออมลดความเสี่ยงในการใช้ชีวิตวันข้างหน้าให้ยังอยู่กันอย่างสบายไม่เดือดร้อน
นายอังเดร ซานิค กรรมการผู้จัดการ ธุรกิจประกันสุขภาพ บริษัท กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) มีทรรศนะ ว่า ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตอย่างเดียวจะเข้าไปช่วยแก้ปัญหาสังคมสูงวัยของไทยที่กำลังขยายตัว จะยังไม่ใช่การแก้ปัญหาให้ครอบคลุมและครบวงจรได้ เพราะต้องยอมรับว่า ประกันชีวิตสามารถเข้าไปช่วยแบบเร่งด่วนได้ และไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเข้าไปช่วยให้ลูกค้ามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งหมด
ทั้งนี้ แม้ว่าสังคมสูงวัยจะมีความต้องการการประกันชีวิตอยู่แต่เนื่องจากเบี้ยประกันสุขภาพปัจจุบันต้องยอมรับว่าสูงมาก คิดเป็น 80% ของค่ารักษาพยาบาลที่บริษัทจะต้องจ่ายให้กับลูกค้า และส่วนใหญ่บริษัทจะจ่ายในช่วง 5 ปีสุดท้ายของคนที่ใกล้จะเสียชีวิต
ดังนั้น สิ่งที่บริษัทประกันชีวิตมองว่า การเข้าไปมีบทบาทช่วยส่งเสริมสังคมสูงวัยในอนาคตให้เกิดการออมเพิ่มสูงขึ้นนั้นสามารถทำได้หลายทาง อาทิ นายจ้างมอบประกันสุขภาพที่ดีให้กับพนักงานขององค์กร ส่วนทางภาครัฐเองก็ต้องปรับปรุงสวัสดิการ ปรับปรุงค่ารักษาพยาบาลของภาครัฐให้ดีขึ้น ให้มีความสอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาด หรือแม้แต่บริษัทเอกชน ในส่วนของนายจ้าง อาจจะหันมาช่วยดูแลค่ารักษาพยาบาลให้กับลูกจ้างหลังเกษียณอายุ ในสัดส่วนกี่เปอร์เซ็นต์นั้นก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของบริษัท เป็นต้น
หรือหากรัฐบาลมีนโยบายหรือแนวทางให้ส่วนลดทางด้านภาษีกับประชาชนคนทำงาน ภาครัฐก็สามารถนำส่วนลดทางภาษีนั้น มาเก็บไว้เพื่อเป็นค่าดูแลสุขภาพของผู้เสียภาษีหลังเกษียณอายุในอนาคตเท่านั้น ตรงนี้ก็อาจจะช่วยได้ เพราะขณะนี้ตลาดในโลกต่างเริ่มทำกันแล้ว เหมือนรัฐบาลในหลายประเทศที่ทำไปแล้วและช่วยได้มากเลย ฉะนั้น จึงบอกได้ว่าถ้าประกันชีวิตอย่างเดียวไม่สามารถช่วยได้ทั้งระบบจะต้องหลายภาคส่วนร่วมช่วยกัน
อย่างไรก็ตาม บ้านเรามีนวตกรรมมากมายที่เข้ามาพัฒนาและสนับสนุนเรื่องเบี้ยสุขภาพให้เหมาะสมกับช่วงวัยเกษียณ และในอนาคตประชาชนจะยิ่งมีโอกาสรับส่วนลดจากการซื้อผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพสูงวัยเป็นทางเลือก ซึ่ง กรุงไทย-แอกซ่าฯ เองก็กำลังอยู่ระหว่างศึกษาผลิตภัณฑ์เพื่อการออมช่วงวัยเกษียณ มารองรับในจุดนี้ด้วยเช่นกันคาดว่าภายใน 2 ปี อ าจมีผลิตภัณฑ์มานำเสนอลูกค้าได้.
เพิ่มเราเป็นเพื่อนได้แล้ววันนี้!....
ทีมงาน INN WHY? รายการเพื่อผู้บริโภค ร่วมปฏิวัติความคิด ปรับเปลี่ยนชีวิต ก้าวสู่ความมั่นคง หลังเกษียณ
ติดตามเราได้ที่ไลน์แอด @INNWHY.TV หรือ Facebook.com/INNWHY.TV และ Youtube.com/c/innwhy
Contact us : INNWHY31@gmail.com