credit photo : www.cnn.com
หลายคนอาจจะรู้จักกันดีกับเมือง “โอกินาวา” เมืองที่มีหมู่บ้านและคนอายุยืนมากที่สุดของประเทศญี่ปุ่น หรือเป็นที่รู้จักกันมานานในนาม “ชาวบลูโซน” ซึ่งเป็นคำที่นิยมใช้เรียกสถาน ที่แห่งหนึ่งแห่งใดในโลกที่มีสัดส่ วนของกลุ่มประชากรที่มีอายุยืนยาวอยู่เป็ นจำนวนมาก และผู้มีอายุขัยยืนยาวนี้ เต็มไปด้วยคุ ณภาพ หมายถึง การมีสุขภาพแข็งแรง และมีชีวิตชีวา และที่พูดถึงเมือง “โอกินาวา” ก็ด้วยความสนใจในเรื่องเกี่ยวกับแนว “ปรัชญาอิคิไก” ( ikigai) มีเคล็ดลับสำคัญของชาวญี่ ปุ่น ที่ได้รับการจัดอันดับว่าเป็นประเทศที่ประชากรมีอายุขัยยื นยาวมากที่สุดในโลก
“แดน บิวท์เนอร์” นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญศึกษาด้ านพื้นที่โลกที่มีผู้อาศัยอายุ ยืนมากที่สุด และเป็นผู้เขียนหนังสือที่ชื่ อว่า “ The Blue Zones: Lessons for Living Longer From the People Who’ve Lived the Longest” ในหนังสือเล่มนี้ได้พูดถึง แนวคิด อิคิไก ว่า เป็นความลับเบื้องหลั งของชาวญี่ปุ่นที่ช่วยให้พวกเขามีอายุ ยืนยาวเป็นร้อยๆ ปีมานาน
โดยซีเอ็นเอ็น เปิดเผยเนื้อหาหนังสือบางส่ วนของ “บิวท์เนอร์” ซึ่งพูดถึงความหมายของ “ อิคิไก ” ว่า เป็นสัญลักษณ์แห่งคุณค่ าของการมีชีวิตอยู่ หรือเป็น “เหตุผลของการมีชีวิตอยู่ ” ของชาวโอกินาวา ซึ่งมักจะเป็นเหตุผลที่คล้ายๆ กันกับชาวบลูโซนอื่นทั่วโลก
แนวคิดอิคิไก กับการมีสุขภาพแข็งแรง และมีชีวิตชีวา ส่วนใหญ่หมายถึ ง การที่เราตื่นขึ้นมาในทุกเช้า และพร้อมเรียนรู้และเข้าใจกั บอะไรก็ตามที่อยู่รอบๆ ตัวเรา ตั้งแต่สภาพภูมิอากาศในแต่ละวัน การมีความสุขกับการได้จิบกาแฟหรื อชาร้อนๆ มือได้สัมผัสกับขนนุ่มๆ ของสัตว์เลี้ยง มีบ้านที่สะอาดสะอ้าน เอ็นจอยกับชั่วโมงการออกกำลั งกาย หรือแม้แต่ความสดของผักก็ตามที ซึ่งเหตุผลของการมีชีวิตอยู่ จะเป็นอะไรก็ได้ที่ทำให้เรารู้ สึกมีคุณค่าและสามารถรับรู้ได้ ในชีวิตด้วยความสุขจริงๆ
“อิคิไก” ไม่ใช่ไลฟ์สไตล์หรือเทรนด์ใหม่ แต่เป็นสัญลักษณ์ที่มาในคราบของ “คำถาม” “ความสงสัย” ที่ทำให้เราต้องตระหนักถึงว่ า เป้าหมายและคุณค่าของชีวิ ตของเราแต่ละคนนั้นคืออะไร ?
ฟังดูเหมือนจะง่ายแต่ไม่ใช่เลย เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะเข้ าใจและตระหนักถึงเป้าหมายของชี วิตได้
ทั้งนี้ ในรายงานของซีเอ็นเอ็นให้ข้อคิดที่ น่าสนใจว่า การประเมินความสุขของเราในเบื้ องต้นที่ง่ายๆ คือ เราสามารถหาคำตอบใน 4 คำถามดังต่อไปนี้ได้ คือ
1) อะไรที่คุณรัก ?
2) อะไรคือสิ่งที่คุณทำได้ดี ?
3) อะไรที่ทำให้คุณยอมทำเพื่อสิ่ งๆนั้น ?
และ4) คุณคิดว่าอะไรที่จำเป็นต่อโลก ?
ซึ่งหากว่าคุณสามารถตอบคำถามได้ ทั้งหมด นั่นหมายถึงคุณได้เดินทางมาสู่ “อิคิไกในแบบของคุณแล้ว”
หรือแม้แต่การกำหนดอิคิ ไกในสไตล์ของเราได้ง่ายๆ เพียงค้นหาคำตอบ 2 ข้อก็คือ
“คุณตื่นเช้าในทุกวันเพื่ออะไร ? ” และ “อะไรคือแรงจูงใจของคุณ ?”
ขณะที่ฟากของนักจิตวิทยาของญี่ ปุ่นและฝรั่งเศส เคยตั้งคำถามกับผู้เข้ารั บการบำบัดในวิถีของอิคิไก แตกต่างออกไปเล็กน้อย โดยมีคำถามว่า “อะไรคือเหตุผลของคุณที่ไม่ฆ่ าตัวตาย หรือ ทำร้ายตัวเอง” ซึ่งจุดประสงค์เดียวที่ต้ องการก็คือ “ความหมายและคุณค่าของชีวิตมนุ ษย์เรา”
ไม่เพียงแค่การมีสุขภาพจิตใจที่ ดีแล้ว การเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบที่ดี จำนวนมากก็เป็นอีกหนึ่งเคล็ดลั บของชาวโอกินาวา โดยรายงานขององค์การอนามัยโลก ได้ให้เหตุผลไว้ว่า ชาวโอกินาวาเป็นกลุ่มที่บริโภค “เต้าหู้และถั่วเหลือง ” มากที่สุดในโลก อีกทั้งยังชอบทานผักและผลไม้ หลากหลายที่มีสารต้านอนุมูลอิ สระ
ที่สำคัญที่สุดคือ หลักการรับประทาน “ฮาระ ฮาจิบุ” ( hara hachibu ) ซึ่งหมายถึงการทานให้อิ่มเพียง 80 % เคยมีรายงานเปิดเผยด้วยว่า หลักการของชาวโอกินาวาเฉลี่ยแล้ วรับประทานเพียงวันละ 1 ,200 แคลเลอรีเท่านั้น
บทความมากมายเคยนิยามชาวโอกิ นาวาไว้ว่า “เป็นกลุ่มคนสูงอายุที่มี ความกระตือรือร้นและไม่นิ่งเฉย” ในแต่ละวันจะนิยมมาออกกำลั งกายร่วมกัน ซึ่งเป็นวิถีการออกกำลั งกายแบบพื้นบ้าน เช่น การเต้นรำ การฝึกวิชาต่อสู้ป้องกั นตนเองแบบดั้งเดิม ทำสวน และการเดินเล่นไปมาหาสู่กันบ่ อยๆ
พอได้ลองอ่านหนังสือจากทั้ง “แดน บิวท์เนอร์” และอีกหลายๆ แห่งที่ยกย่องชาวโอกินาวา และนำมาประมวลข้อมูลเปรียบเที ยบกับ “ประเทศไทย” ทำให้เห็นว่า วิถีชีวิต ความคิด ความเข้าใจของชาวโอกินาวา ก็ไม่ได้ต่างจากคนไทยในสมัยก่ อนสักเท่าไหร่
ชาวโอกินาวา ชอบที่จะมีชีวิตที่เรียบง่าย เชื่องช้า ไม่รีบร้อน ชีวิตที่มีแต่ความพอเพียงไม่ มากหรือล้นจนเกินไป ดูแล้วมีความคล้ายคลึงกับหลั กปรัชญาของพระบาทสมเด็จพระปรมิ นทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 หากเราลองลองปรับเปลี่ ยนทรรศนะเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตบ้าง หรือพยายามให้ความหมายกับชีวิ ตและความสุขมากขึ้น การเข้าสู่สังคมสูงอายุ ของคนไทยนั้นจะเปี่ยมล้นไปด้ วยคุณค่ามากขึ้นไม่ต่างจาก “ปรัชญาอิคิไก” (ikigai)