![](data:image/svg+xml,%3Csvg%20xmlns='http://www.w3.org/2000/svg'%20viewBox='0%200%20400%20267'%3E%3C/svg%3E)
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้
านอาหารแนะผู้บริโภคอ่
านฉลากโภชนาการอย่างเข้าใจ โดยเฉพาะปริมาณหวาน มัน เค็ม สารอาหารและพลังงาน ให้อยู่ในปริมาณตามความต้
องการในแต่ละวัน ช่วยให้สามารถรั
บประทานอาหารแปรรูปและอาหารแช่
แข็งได้อย่างปลอดภัยและได้รับคุ
ณค่าทางโภชนาการครบถ้วน
อาจารย์แววตา เอกชาวนา นักกำหนดอาหารวิชาชีพ แนะนำว่า พฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนไทยยังคุ้นชินกับการรับประทานอาหารรสจัด การเติมเครื่องปรุงประเภท น้ำปลา น้ำตาล ซอส หรือ กระเทียมเจียว เป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร และยังมีการปรุงเพิ่มตลอดเวลา รวมถึงอาหารแปรรูปที่มีการปรุงแต่งรสชาติให้ถูกปากผู้บริโภค ซึ่งอาจทำให้ได้รับปริมาณส่วนประกอบของเครื่องปรุงและพลังงานเกินกว่าที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน ก่อให้เกิดการสะสมและเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้ ดังนั้นในการรับประทานอาหารที่ไม่ได้ปรุงสดเอง ควรเลือกซื้อและบริโภคอาหารที่มีฉลากโภชนาการ GDA (Guideline Daily Amounts) ระบุข้างบรรจุภัณฑ์ให้เข้าใจถึงปริมาณบริโภคต่อหน่วย และค่าพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคและสนับสนุนมาตรการป้องกันปัญหาด้านโภชนาการ
![](data:image/svg+xml,%3Csvg%20xmlns='http://www.w3.org/2000/svg'%20viewBox='0%200%20500%20334'%3E%3C/svg%3E)
ในยุคที่ผู้บริโภคหันมาสนใจสุขภาพส่วนบุคคลมากขึ้น การมองหาอาหารเพื่อสุขภาพ ที่ช่วยส่งเสริมการดำเนินชีวิตประจำวันให้กินดี-อยู่ดี กลายเป็นปัจจัยและความจำเป็นในการเลือกซื้ออาหารมากขึ้น ฉลากโภชนาการ GDA จึงเป็นผู้ช่วยอย่างดีในการให้ข้อมูลการวิเคราะห์ความต้องการในการบริโภคที่จะแสดงให้ทราบถึงปริมาณพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกรับประทานอาหารสำเร็จรูปได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
![](data:image/svg+xml,%3Csvg%20xmlns='http://www.w3.org/2000/svg'%20viewBox='0%200%20500%20334'%3E%3C/svg%3E)
seasoning food with chili powder , sugar , fish sauce and vinegar on banana leaf
องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) และองค์กรเพื่อสุขภาพต่างๆ ของไทย เช่น กรมอนามัย สถาบันโภชนาการ ได้นำเสนอรายงานด้านพฤติ
กรรมการบริโภคเกลือหรือโซเดี
ยมของคนไทย พบว่า คนไทยบริโภคมากถึง 3,636 มิลลิกรัม ซึ่งเกินกว่าปริมาณที่ร่างกายต้
องการ 2 เท่า จากปริมาณที่ WHO แนะนำ คือ ไม่ควรเกิน 2,000 มิลลิกรัม (1 ช้อนชา) พฤติกรรมดังกล่าวส่งผลเสี
ยและเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิ
ดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases : NCDs) อาทิ ความดันโลหิตสูง นำไปสู่โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคอ้วน และยังมีผลเสียต่อไตโดยตรง ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการปรุ
งอาหารให้มีรสชาติตามความนิ
ยมและความชื่นชอบของผู้บริโภค
ล่าสุด กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กำลังพิจารณาร่วมกับกรมสรรพสามิตเพื่อเตรียมนำ “ภาษีความเค็ม” เข้ามากำกับดูแลผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการบริโภคสูง อาทิ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารแช่เย็นสำเร็จรูป และขนมกรุบกรอบ เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการบริโภคความเค็มต้องลดลง 30% ภายในปี 2568 และเป็นการส่งเสริมให้ทั้งผู้บริโภคทั่วไปและผู้บริโภคที่อยู่ในกลุ่มโรค NCDs ให้ความสำคัญกับการเลือกรับประทานอาหาร รวมถึงระมัดระวังการรับประทานอาหารที่มีไขมัน และมีรสหวาน มัน เค็ม มากเกินไป หรือรับประทานอาหารซ้ำๆ ไม่หลากหลาย ซึ่งจะทำให้ขาดสารอาหารอื่นๆ และได้รับเส้นใยหรือวิตามินต่างๆ ไม่ครบถ้วน
![](data:image/svg+xml,%3Csvg%20xmlns='http://www.w3.org/2000/svg'%20viewBox='0%200%20500%20333'%3E%3C/svg%3E)
อาจารย์แววตา กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทผู้ผลิตอาหารชั้
นนำของไทยมีการปรับสู
ตรอาหารทางเลือกเพื่อสุขภาพ และนำเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมั
ยมาใช้ควบคู่กับการวิจัยและพั
ฒนาสินค้าให้สอดคล้องกับความต้
องการของผู้บริโภค ที่เน้นคุณค่าทางโภชนาการเป็
นหลัก ตอบโจทย์เทรนด์อาหารเพื่อสุ
ขภาพที่ดี หรือแม้แต่อาหารสำหรับผู้ป่
วยเฉพาะโรค และอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่
งแวดลล้อม โดยมีเป้าหมายสำคัญที่สุด คือ การผลิตอาหารปลอดภัยและคำนึงถึ
งความมั่นคงทางอาหาร เพื่อสุขโภชนาการที่ดีของผู้บริ
โภคและใส่ใจสิ่งแวดล้
อมในเวลาเดียวกัน เริ่มตั้งแต่นโยบายผลิตและคั
ดสรรวัตถุดิบชั้นดีในการผลิตเน้
นความสด สะอาด ปราศจากสารตกค้าง เพื่อป้อนสู่กระบวนการผลิตตามสู
ตรอาหารที่ผ่านการวิจัยและปรุ
งรสให้สอดคล้องกับรสนิยมของผู้
บริโภค และตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดห่
วงโซ่การผลิต
![](data:image/svg+xml,%3Csvg%20xmlns='http://www.w3.org/2000/svg'%20viewBox='0%200%20500%20333'%3E%3C/svg%3E)
Salty snacks. Pretzels, chips, crackers
สำหรับอาหารที่ได้รับความนิยม เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรู
ปและอาหารแช่แข็ง ควรเลือกผู้ผลิตที่เชื่อถือได้ มีตราสัญญลักษณ์การรั
บรองมาตรฐานจากสำนั
กงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ต้องระบุชื่อผู้ผลิต แหล่งผลิต วัน/เดือน/ปี ที่หมดอายุแสดงไว้บนบรรจุภัณฑ์
ชัดเจน สร้างหลักประกันความปลอดภัย และควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ตลอดจนการออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดยผู้บริโภคที่อยู่ในกลุ่มโรค NCDs ต้องอ่านฉลากโภชนาการก่อนเลื
อกซื้อ เพื่อลดอาหารที่จะมีผลต่
ออาการของโรค
นอกจากนี้ ยังมีการผลิตสูตรอาหารเพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคมากขึ้น หรือเพื่อผู้บริโภคที่มีความต้องการสารอาหารเฉพาะด้านเพื่อสุขภาพที่ดี โดยสังเกตจากตราสัญญลักษณ์ Healthier Logo หรือ Healthier Choice เพื่อความมั่นใจในการบริโภคอาหารให้ตรงกับความการของร่างกาย
เพิ่มเราเป็นเพื่อนได้แล้ววันนี้!....
ทีมงาน INN WHY? รายการเพื่อผู้บริโภค ร่วมปฏิวัติความคิด ปรับเปลี่ยนชีวิต ก้าวสู่ความมั่นคง หลังเกษียณ
ติดตามเราได้ที่ไลน์แอด @INNWHY.TV หรือ Facebook.com/INNWHY.TV และ Youtube.com/c/innwhy
Contact us : INNWHY31@gmail.com