กรณีเป็นผู้ป่วยใน หรือ IPD เราควรรู้อะไรบ้างก่อนตัดสินใจซื้อประกันสุขภาพ

INNWhy Magazine Online ติดตาม How to   กรณีเป็น ผู้ป่วยใน หรือ IPD เราควรรู้อะไรบ้างก่อนตัดสินใจซื้อประกันสุขภาพ  กับ “พิชา  สิริโยธิน” ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย  

ด้วยเวลาที่ผู้บริโภคซื้อประกันชีวิตแล้วได้ซื้อสัญญาสุขภาพเพิ่มเติมแนบท้ายกรมธรรม์ นั้น เวลาเลือกซื้อความคุ้มครองก็จะเลือกซื้อความคุ้มครองตามแพคเกจที่บริษัทประกันกำหนด จะยึดถือ “ค่าห้อง” เป็นหลัก เช่น ค่าห้อง 3,000 บาท จะได้ ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดเป็นเท่านี้  ค่าเยี่ยมไข้ ค่าต่างๆเป็นเท่าไหร่ ถ้าเผื่อเราต้องการค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้นก็ขยับตามค่าห้องขึ้นไปเป็น 4,000  5,000 6,000 บาทขึ้นไปจนถึง 10,000 บาท

ทีนี้มีคำถามเกิดขึ้นมาว่า  บางครั้งที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลแล้วถึงแม้มีประกันสุขภาพแต่เรายังจะต้องจ่ายเงินส่วนเพิ่ม

ทั้งนี้ เนื่องจากความคุ้มครองตามแพคเกจเหล่านี้นั้น จะมีลิมิทค่ารักษาพยาบาลแต่ละตัวเอาไว้ เช่น ค่าผ่าตัด ได้ไม่เกินครั้งละ 40,000 50,000 60,000 บาท ซึ่งตรงนี้ก็เป็นคำถามค่อนข้างมากจากผู้เอาประกันภัย

ดังนั้นบริษัทประกันชีวิต จึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตของบริษัทขึ้นมาในชื่อที่รู้จักกันดีว่า “เหมาจ่าย” เช่น ถ้าเกิดเราซื้อความคุ้มครองรวมอยู่ที่ 100,000 บาท บริษัทประกันชีวิตจะดูอย่างเดียวว่า ค่ารักษารวมอยู่ที่เท่าไหร่ ถ้าค่ารักษาจริงอยู่ที่  80,000  บาท เราไม่ต้องเสียค่ารักษาพยาบาลใดๆ เพราะบริษัทประกันชีวิตจะจ่ายให้เรา  แต่ถ้าส่วนที่เกิน 100,000  บาท เป็นสิ่งที่ผู้เอาประกันภัยเป็นผู้จ่ายค่าใช้จ่ายนี้ด้วยตนเอง

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะซื้อประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย ขอให้ตระหนักว่า เบี้ยประกันภัย 2 แบบนี้ (OPD และ IPD) คงไม่เท่ากันและอาจมีข้อกำหนดของจำนวนครั้งต่อการเข้ารักษาพยาบาลไม่เท่ากันในรอบ 1 ปี  ก่อนตัดสินใจซื้อควรศึกษาให้รอบคอบแล้วผู้เอาประกันจะสบายใจในการเข้ารับการรักษาพยาบาล.

เพิ่มเราเป็นเพื่อนได้แล้ววันนี้!....