ลดหย่อนภาษีโดยใช้ RMF มีเงื่อนไขอย่างไร…?

 

 

 

 

ถ้าคุณโรเบิร์ตมาถามคำถามนี้กับคนไทยในช่วงก่อนเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง คุณโรเบิร์ตคงเจอเศรษฐีเงินฝากหลายคนเลยทีเดียว

แต่ในยุคปัจจุบันเราคงไม่ได้เห็นธนาคารจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์เกินกว่าร้อยละ 10 ต่อปีอีกแล้ว

การที่เราจะออมเงินโดยการฝากธนาคารเพื่อหวังว่าจะใช้เงินก้อนนี้เป็นกองทุนเพื่อเกษียณจึงมีความเสี่ยงมากที่จะทำให้เรามีเงินเกษียณไม่เพียงพอที่จะใช้ชีวิตอยู่จนถึงวันที่เราต้องลาไปจากโลกนี้

รัฐบาลจึงมีนโยบายทางภาษีสนับสนุนคนไทยลงทุนเพื่อสร้างกองทุนเพื่อการเกษียณของตัวเอง ผ่านการลงทุนที่ชื่อว่า “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” (Retirement Mutual Fund) หรือที่เรารู้จักชื่อย่อดีว่า RMF

โดยการลงทุนใน RMF เพื่อให้สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้มีเงื่อนไขดังนี้

1) ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี ไม่น้อยกว่า 5,000 บาท หรือไม่น้อยกว่า 3% ของเงินได้ (อันไหนต่ำกว่า ใช้อันนั้น) แต่ถ้าจะเว้นการลงทุน ก็สามารถเว้นได้ไม่เกิน 1 ปีติดต่อกัน เช่น

จากตัวอย่างนี้ ยังถือว่านาย A ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุนใน RMF สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ในปีที่ลงทุน แต่นาย B ถือว่าผิดเงื่อนไขการลงทุนในปี 2563 เนื่องจากเว้นการลงทุนเกิน 1 ปีติดต่อกัน

2) ใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และซื้อได้สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี

เช่น นาย A มีเงินเดือน 30,000 บาทต่อเดือนเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีเพียงอย่างเดียว นาย A จะสามารถลงทุนใน RMF ได้สูงสุด (30,000 x 12) x 15% = 54,000 บาท

แต่ทั้งนี้เมื่อรวมกับกองทุนสำรองเพื่อการเลี้ยงชีพ, กบข., ประกันแบบบำนาญ ฯลฯ นาย A จะลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท อ่านเพิ่มเติม   https://www.innwhy.com/17125-2if-you-born/

3) ขายได้เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก โดยถ้าเราใช้สิทธิในการยกเว้นไม่ลงทุนในปีใด ก็จะไม่นับว่าปีนั้นมีการลงทุน เช่น

หากนาย A เริ่มลงทุนเมื่อปี 2560 ขณะที่มีอายุ 51 ปี หากนาย A ต้องการขาย RMF นาย A จะเริ่มขายได้ปี 2566 เนื่องจากในปี 2564 ที่นาย A มีอายุครบ 55 ปีนั้นนาย A พึ่งลงทุนได้เพียงแค่ 3 ปี คือ 2560, 2561, 2562 เท่านั้น นาย A จึงต้องลงทุนอีก 2 ปีจึงจะสามารถขาย RMF ได้

ตอนหน้าผมจะเล่าถึงข้อดีของ RMF ที่เหนือกว่า LTF แต่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยทราบกัน รวมถึงเทคนิคการเลือกซื้อ RMF เพื่อใช้ในการสร้างกองทุนเพื่อการเกษียณอย่างยั่งยืนให้ได้ทราบกันด้วย

หรือถ้าเพื่อน ๆ อยากพูดคุยหรือสอบถามเพิ่มเติมกับผม ก็เข้าไปพูดคุยกันได้ที่ https://www.facebook.com/drpeerapat.f/ นะครับ

เพิ่มเราเป็นเพื่อนได้แล้ววันนี้!....