ไข่ “คัดพิเศษ” เจาะกลุ่มคนรักสุขภาพในราคาสมเหตุผล
ผลพวงวิกฤตหมูแพง ส่งผลกระทบลูกโซ่ (Domino Effect) ไปยังสินค้าเนื้อสัตว์ประเภทอื่นและสินค้าเกษตรในกลุ่มที่สามารถบริโภคทดแทนได้ โดยเฉพาะ ไก่และไข่ ที่มีการปรับราคาขึ้นตามกลไกตลาดตามอุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply) สินค้าผลิตปกติแต่ความต้องการสูงราคาก็จะปรับขึ้นตาม เมื่อไหร่ก็ตามผลผลิตเพียงพอต่อความต้องการราคาก็จะปรับตัวลดลง หลักเศรษฐศาสตร์พื้นฐาน
ช่วงเวลาสินค้าราคาแพงแบบนี้ มีการกล่าวถึงไข่ไก่ในแพคพลาสติกสวยงาม มีฉลากบรรยายสรรพคุณและความพิเศษของไข่แพคนี้ชัดเจนและกำหนดราคาขายแพค 4 ฟอง ที่ราคา 28 บาท เฉลี่ยฟองละ 7 บาท ว่า ไข่แพงสวนกระแส ให้เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องไปตรวจจับ ปรับตามระเบียบ
สำหรับไข่ไก่ที่วางขายบนชั้นในซูเปอร์มาร์เก็ตและห้างสรรพสินค้าชั้นนำ รวมถึงร้านสะดวกซื้อนั้น ภาษาทางการตลาดเรียก “ไข่แพคแบรนด์” เน้นความสดและสะอาด เป็นไข่คุณภาพพรีเมียม คัดเป็นพิเศษทั้งขนาดและอยู่ในบรรจุภัณฑ์พิเศษ และมีฉลากบอกคุณสมบัติไว้ชัดเจน อาทิ ปลอดการใช้ปฏิชีวนะตลอดการเลี้ยง เลี้ยงด้วยธัญพืช เลี้ยงในระบบ Biosecurity ที่ป้องกันโรคระบาด เป็นต้น เห็นได้ว่าไข่ประเภทนี้มีความพิเศษกว่าที่ขายในท้องตลาดทั่วไปมาก ไม่ใช่ไข่ เบอร์ 0, เบอร์ 1, เบอร์ 2 หรือ เบอร์ 3 ตลาดสดทั่วไป ที่พ่อค้า-แม่ค้า หยิบใส่ถุงพลาสติกให้ตามคำสั่งซื้อ และไข่ยังมีมูลสัตว์ติดอยู่ ขณะที่ผู้บริโภคได้ทราบวิธีการจัดเก็บได้มาตรฐานหรือไม่
ขั้นตอนการทำไข่แพคแบรนด์มีความซับซ้อนที่ผู้ผลิตต้องพิถีพิถันมาก ซึ่งเรื่องนี้ กันย์สินี วังถนอมศักดิ์ หรือ ซ้อหนิง เจ้าของ บริษัทอาร์ม่าฟาร์ม จำกัด อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม หนึ่งในผู้ผลิตไข่ไก่คัดพิเศษ ให้รายละเอียดว่า การทำไข่แพคแบรนด์ทุกขั้นตอนมีรายละเอียด ต้องตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดห่วงโซ่การผลิต กรณีเกิดปัญหากับสินค้าต้องตรวจสอบจนถึงต้นทางได้ การเลี้ยงต้องได้มาตรฐานฟาร์มตามมาตรฐานสากล โดยไข่ไก่จะถูกขนส่งมาที่ฟาร์มเพื่อผ่านการคัดแยกขนาด จากนั้นส่งล้างด้วยเครื่องล้างที่มีเทคโนโลยีทันสมัยระบบฉีดน้ำอุ่นควบคุมอุณหภูมิตลอดสายพานการล้าง ผ่านระบบฆ่าเชื้อด้วยแสงอัลตร้าไวโอเลต (Ultraviolet : UV) และผ่านเครื่องสแกนเพื่อคัดไข่แตกหรือไข่มีรอยร้าวออก จากนั้นจึงคัดใส่บรรจุภัณฑ์ที่จัดทำเป็นพิเศษ ที่มีฉลากแจ้งคุณค่าทางโภชนาการตามที่ลูกค้าต้องการ
นอกจากระบบคัดแยกดังกล่าว ผู้ผลิตไข่แพคแบรนด์ยังต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหาร ตามระบบประกันคุณภาพที่มีการปฏิบัติในการผลิตอาหาร เพื่อให้เกิดความปลอดภัย (Good Manufacturing Practice : GMP) และการวิเคราะห์อันตราย และจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมเป็นระบบการวิเคราะห์อันตราย และจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (Hazard Analysis Critical Control Point : HACCP) ทำให้ผู้ผลิตต้องเข้มงวดทั้งต้นทางและปริมาณไข่เข้าฟาร์มและออกจากฟาร์มสูปลายทางที่ใด เพื่อตอบโจทย์การตรวจสอบย้อนกลับในห่วงโซ่การผลิต จากปัจจัยการผลิตดังกล่าวทั้งหมดทำให้ไข่แพคแบรนด์มีต้นทุนการผลิตสูงกว่าไข่ไก่ที่ขายตามตลาดสดโดยทั่วไปมาก
กันย์สินี ให้รายละเอียดต่อว่า ไข่แพคแบรนด์ในตลาดมีหลายเจ้าและขนาดบรรจุมีหลายขนาด เช่น 4 ฟอง 6 ฟอง 10 ฟอง เป็นต้น และจะมีราคาสูงกว่าไข่ปกติ เนื่องจากต้องมีการค่าบริการและขนส่งระหว่างทาง ที่สำคัญไข่แพคแบรนด์จะถูกเก็บรักษาอย่างดีและควบคุม อุณหภูมิตลอดทางจนถึงส่งมอบให้ลูกค้าทั้งซูเปอร์มาเก็ต ห้างสรรพสินค้า และร้านสะดวกซื้อ มีวันผลิตระบุชัดเจน ผู้บริโภคจึงมั่นใจได้เป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคที่รักสุขภาพและความสดใหม่
“ไข่แพคแบรนด์เป็นหลักประกันความสดของอาหาร เพราะมีการควบคุมอุณหภูมิตลอดการผลิตเป็นหลักประกันคุณภาพให้กับผู้บริโภค การจ่ายเพิ่มอีกนิดหน่อยเพื่อความปลอดภัยของตัวเองและสมาชิกในครอบครัว เราจำเป็นต้องมั่นใจตั้งแต่ฟาร์ม” กันย์สินี กล่าว
สำหรับไข่ที่ขายตามท้องตลาดเป็นไปตามราคาควบคุมของกรมการค้าภายใน ผู้บริโภคไม่สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้กรณีเกิดปัญหาการบริโภค ตลอดจนไม่ทราบวิธีการจัดเก็บถูกต้องหลักสุขอนามัยและตามมาตรฐานหรือไม่ ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพอาจมีเชื้อราและอายุการจัดเก็บสั้น ที่สำคัญไข่ทั่วไปไม่มีต้นทุนการคัดล้างทำความสะอาดและบรรจุภัณฑ์ที่ถูกสุขลักษณะ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของผู้บริโภค
เพิ่มเราเป็นเพื่อนได้แล้ววันนี้!....
ทีมงาน INN WHY? รายการเพื่อผู้บริโภค ร่วมปฏิวัติความคิด ปรับเปลี่ยนชีวิต ก้าวสู่ความมั่นคง หลังเกษียณ
ติดตามเราได้ที่ไลน์แอด @INNWHY.TV หรือ Facebook.com/INNWHY.TV และ Youtube.com/c/innwhy
Contact us : INNWHY31@gmail.com