ทิศทางการศึกษาที่เปลี่ยนไป ในยุค Post Pandemic ในมุมมองของ ดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์
สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรั สโคโรน่า 2019 หรือ โควิด -19 ที่ยืดเยื้อกินเวลามาร่วม 2 ปี ส่งผลกระทบกับสังคม เศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของคนทั่วโลก รวมถึงผลกระทบด้านการศึ กษาในวงกว้างตั้งแต่เด็กเล็กชั้ นอนุบาล ไปจนถึงระดับปริญญาอย่างหลีกเลี่ ยงไม่ได้ การต้องเผชิญกับการเปลี่ ยนแปลงครั้งใหญ่ของสถาบันการศึ กษา ถือเป็นความท้ าทายและบทบาทความรับผิดชอบใหม่ ของนักบริหารการศึกษาที่ต้องพร้ อมรับมือกับสถานการณ์ความไม่แน่ นอนที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอ เพราะการสร้างระบบการศึกษาที่มั่ นคงส่งผลถึงการผลิตบุคลากรที่มี คุณภาพสู่ตลาดงานในการขับเคลื่ อนเศรฐกิจของประเทศ
สถาบันการศึกษาจึงต้องมี มาตรการในการปรับรูปแบบการเรี ยนการสอนแบบ “ออนไลน์” ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อให้ผู้เรียนไม่เสี ยโอกาสในการเรียนรู้ ซึ่งเป็นบทพิสูจน์ให้เห็นว่ าการเรียนการสอนที่เปลี่ ยนไปในช่วงโควิด สถาบันการศึกษาไม่สามารถยึดติ ดกับระบบ Offline หรือการเรียนการสอนในห้องเรียน 100% ได้อีกต่อไป ทั้งยังเป็นการพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ผ่านรูปแบบการเรียนออนไลน์ ในส่วนของ ผู้เรียนและผู้สอนด้วย
ดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.)
ในอีกด้านก็เกิดเป็นคำถามที่ว่า ภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด – 19 หรือ Post Pandemic ทิศทางการศึกษาจะเป็นอย่างไร มีแง่มุมไหนบ้างที่เราได้รั บบทเรียนจากผลกระทบในครั้งนี้ ดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบั ณฑิตย์ (มธบ. ) และ ประธานกรรมการโรงเรียนนานาชาติ เวลลิงตันคอลเลจ กรุงเทพฯ นักบริหารการศึกษา ที่ดูแลนักเรียน นักศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ถึงระดับปริญญา ได้สะท้อนถึงการบริหารการศึ กษาในช่วง Post Pandemic ที่หากใครไม่เร่ง “ปรับตัว” อาจต้องเจอกับความท้าทายที่เกิ นกว่าจะรับมือได้
ความเร็ว &แรงของ Pandemic
“ Pandemic ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในระลอกแรกเป็นอะไรที่ วางแผนไม่ได้ ทุกคนหรือแม้แต่เราไม่มี ประสบการณ์มาก่อน ดังนั้น Pandemic ที่เกิดขึ้นเป็นการมาแบบตูมเดี ยว ทำให้องค์กรต่าง ๆ ต้องปรับทุกอย่างมาเป็นออนไลน์ ซึ่งก็พบว่า หลายเซ็คเตอร์ สามารถปรับตัวได้ดีในยุ คของการล็อคดาวน์”
ในมุมการจัดการเรียนการสอน เมื่อมองถึงระดับชั้นเรียนพบว่ าแตกต่างกันไปตามแต่ละช่วงอายุ ด้วยประสบการณ์การบริหารการศึ กษาในระดับเด็กเล็กที่ โรงเรียนนานาชาติเวลลิงตั นคอลเลจ กรุงเทพฯ พบว่า การเรียนของเด็กเล็กระดับเตรี ยมอนุบาลถึง 7 ขวบจะเป็นช่วงอายุที่คิดว่ามี ผลกระทบมากที่สุดจากการปรั บการเรียนการสอนจากออฟไลน์เป็ นออนไลน์ ส่วนหนึ่งมาจากความพร้อมของผู้ เรียน การพึ่งพาตัวเองยังมีน้อยกว่ าเด็กโต รวมทั้งพฤติกรรมของวัยนี้ที่ การเรียนรู้ส่วนใหญ่จะเน้นผ่ านการจับต้องสิ่ งของและการสนทนากับผู้สอน
“ด้วยลักษณะการเรียนของเด็กวั ยนี้จึงทำให้เชื่อว่าแม้ในช่ วงของ Post Pandemic เด็กเล็กจะยังคงมีการเรี ยนการสอนที่เน้นการเรียนและปฏิ บัติในชั้นเรียนมากกว่าการผ่ านเทคโนโลยี”
O2O คือคำตอบ
การเรียนการสอนของวัยที่โตขึ้ นมาในระดับมหาวิทยาลัย ปริญญาตรีและปริญญาโท ที่ผ่านมามีการปรับตัวได้ค่อนข้ างดีในรูปแบบออนไลน์ โดยที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิ ตย์มีการปรับผสมผสานการเรี ยนการสอนทั้งในแบบออฟไลน์ และออนไลน์ หรือ O2O ( Online to Offline)
เมื่อมองถึงช่วงหลังการแพร่ ระบาดของโควิด -19 หรือ Post Pandemic ระบบการศึกษาในไทยจะมีการปรับตั วอย่างเห็นได้ชัดเจนทั้งในส่ วนของ มหาวิทยาลัย ผู้สอน และ ผู้เรียน
มหาวิทยาลัย ปรับระบบการทำงานในทุกมิติ ได้แก่ ระบบหลังบ้าน การลงทะเบียนนักศึกษา และอื่น ๆ ให้พร้อมทำงานทุกอย่างได้ ครบในจุดเดียว ซึ่งในส่วนนี้ทางมหาวิทยาลัยธุ รกิจบัณฑิตย์ได้ดำเนินการต่อเนื่ องมาปีกว่าและพร้อมให้บริการได้ เต็มรูปแบบในปีการศึกษา 2564
อาจารย์ผู้สอนที่ปรั บแผนการสอนจาก 100% เป็นการเรียนในห้องไปสู่การเรี ยนออนไลน์โดยจัดสัดส่วนเนื้ อหาที่เหมาะสมและเกิดประสิทธิ ภาพมากที่สุด ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปตามแต่ ละสาขาวิชา ตัวอย่างเช่น บางสาขาวิชา 1ใน 3 ของเนื้อหาความรู้จะเป็นออนไลน์ แล้วปรับ 2 ใน 3 เป็นการเรียนออฟไลน์ ขณะที่บางสาขาวิชาอาจปรับเป็ นออนไลน์ได้มากถึง 2 ใน 3
“ในส่วนของธุรกิจบัณฑิตย์ที่เน้ นการสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ด้วยการเรียนในแบบ O2O เพื่อสนับสนุนให้เกิดความคล่ องตัวในการเรียนการสอนออนไลน์ และออฟไลน์ ขณะเดียวกันก็ต้องตอบโจทย์ผู้ เรียนให้ได้มากที่สุด และสร้างเอนเกจเม้นท์ระหว่างผู้ สอนและผู้เรียนให้ได้ด้วย”
สำหรับผู้เรียนแล้วเทคโนโลยีที่ พัฒนาอย่างมากจนถึง 5G ในปัจจุบันและจะมีเข้ามาเพิ่มอี กมากในอนาคต มีส่วนสนับสนุนให้การเรียนรู้ ทำได้ดีมากขึ้น
Liquid Learning เทรนด์ที่ใช่ ในยุค Post Pandemic
การเรียนรู้แบบ Liquid Learning ที่ตอบโจทย์ Personalization ของผู้เรียนมีความสำคัญอย่ างไรและเกิดขึ้นจริงได้แค่ไหน ดร.ดาริกา ให้มุมมองว่าเทรนด์การเรียนรู้ นับจากนี้จะไม่ใช่แค่ปรับตั วจากออฟไลน์สู่ออนไลน์แต่จะได้ เห็นการเรียนรู้แนวใหม่ที่มุ่ งการตอบโจทย์ความเป็น Personalize ของผู้เรียนในแบบเฉพาะบุ คคลมากขึ้น เช่น บางคนชอบอ่านตัวหนังสือเยอะ ๆ แต่กับบางคนชอบการนำเสนอที่เป็ นภาพมากกว่า
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของพฤติ กรรมและการใช้ชีวิตที่แตกต่างกั นของแต่ละคน ส่งผลต่อการเรียนรู้มากหรือน้ อยได้ด้วย เช่น บางคนเป็นมนุษย์เที่ยงคืน มนุษย์เช้า ประสิทธิภาพและความสนใจที่จะเรี ยนรู้ก็แตกต่างกันออกไป
“กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ ปรับให้ลื่นไหลไปตามแต่ละบุคคล ทั้งความสนใจ ช่วงเวลา และอื่น ๆ นับเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมาก ซึ่งที่น่าสนใจและเป็นความท้ าทายไม่แพ้กัน คือ การจัดคอนเท้นท์ หรือเนื้อหาวิชา การวัดผล และการให้ Certificate”
ความท้าทายในยุค Post Pandemic
โดยในช่วงของการระบาดโควิด -19 โจทย์ใหญ่ของแต่ละมหาวิทยาลั ยจากนี้จะอยู่ที่ “การประเมินผล”
“ที่มองว่าการประเมินผลเป็ นความท้าทายนั่นเป็นเพราะแม้ว่ าจะมีการจัดการเรียนออนไลน์ จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แต่การทำงานและระบบงานต่าง ๆ ยังคงเป็นออฟไลน์อยู่เหมือนเดิม ซึ่งหากเป็นแบบนี้จะเกิดอะไรขึ้ นหากในอนาคตมีการปรับเป็ นออนไลน์ 100% ซึ่งเป็นโจทย์และภารกิจที่ต้ องคิดว่าจะเป็นอย่างไรในอนาคต”
จากความท้าทายที่เกิดขึ้นเมื่ อโรคระบาดคลี่คลาย ดร.ดาริกา สะท้อนว่าไม่ใช่แค่ผู้สอนใน มหาวิทยาลัย และผู้เรียนเท่านั้นที่ต้องปรั บตัวไปสู่รูปแบบการเรี ยนการสอนใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น ทางสำนักมาตรฐานก็ต้องทำความเข้ าใจและปรับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อให้ในทุกมิติเดินไปข้างหน้ าพร้อมกัน
ในบทบาท นักบริหารการศึกษา ดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ กล่าวว่า “การระบาดของโควิด -19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้ งใหญ่ ที่ผ่านมา คนชอบบอกว่าในวงการศึกษาปรับตั วช้าที่สุด แต่ถึงตอนนี้พูดไม่ได้แล้ว เพราะทุกคนอยู่ในเรือลำเดียวกัน ต้องเร่งปรับตัว
จากที่หลาย ๆ คนพูดว่าทำไม่ได้ วันนี้จากสถานการณ์ที่บีบบังคั บทำให้ค้นพบว่า มนุษย์เราปรับตัวได้ขนาดไหน กฎเกณฑ์ที่บอกว่าทำไม่ได้ วันหนึ่งก็ต้องฉีกทิ้ง แล้วจัดกฎเกณฑ์ใหม่
ได้เวลารื้อบ้านครั้งใหญ่ และ Pandemic ครั้งนี้นับเป็นบทดสอบที่สำคัญ ! ”
เพิ่มเราเป็นเพื่อนได้แล้ววันนี้!....
ทีมงาน INN WHY? รายการเพื่อผู้บริโภค ร่วมปฏิวัติความคิด ปรับเปลี่ยนชีวิต ก้าวสู่ความมั่นคง หลังเกษียณ
ติดตามเราได้ที่ไลน์แอด @INNWHY.TV หรือ Facebook.com/INNWHY.TV และ Youtube.com/c/innwhy
Contact us : INNWHY31@gmail.com