กทม.ผนึกกำลังหน่วยงานรณรงค์ป้องกันอัคคีภัยในชุมชน
นายวันชัย ถนอมศักดิ์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า อัคคีภัยหรือเพลิงไหม้ เป็นภัย ที่ใกล้ตัว ที่เกิดขึ้นได้ง่ายและบ่อยครั้ง สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร และความประมาทขาดความระมัดระวัง ปัจจุบันมีแนวโน้มความถี่และความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในชุมชน อาคารสูง และบ้านเรือนที่อยู่อาศัย โดยในปี 2558 มีเหตุเพลิงไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจร จำนวน 646 ครั้ง ปี 2559 เหตุเพลิงไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจร 681 ครั้ง และในปี 2560 ที่ผ่านมามีสถิติการเกิดเหตุเพลิงไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจร 783 ครั้ง โดยสถิติเพลิงไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจรในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ของปี 2561 ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนมีนาคม 2561 มีเหตุเพลิงไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจรแล้ว 137 ครั้ง โดยสถิติผู้เสียชีวิตที่เกิดจากเหตุอัคคีภัย ในปี 2560 มีจำนวนผู้เสียชีวิต 23 ราย ผู้บาดเจ็บ จำนวน 117 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตเพียงแค่ จำนวน 11 ราย ผู้บาดเจ็บ 135 ราย และในปี 2558 มีผู้เสียชีวิต จำนวน 14 ราย ผู้บาดเจ็บ จำนวน 183 ราย ซึ่งสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สิน ที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน ก่อให้เกิดผลกระทบอีกหลายด้าน ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต คุณภาพชีวิต และมีค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือเยียวยา ตลอดจนการฟื้นฟูบูรณะอีกมากมาย
“กรุงเทพมหานครมีนโยบายด้านความปลอดภัย ที่มุ่งให้ชีวิตปลอดภัย ทรัพย์สินปลอดภัย ชุมชนและสังคมปลอดภัย โดยให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับเรื่องอัคคีภัยในชุมชนซึ่งมีความเสี่ยงสูง เพราะบ้านเรือนส่วนมากสร้างจากไม้และมีระยะชิดกัน หากเกิดเพลิงไหม้จะลุกลามอย่างรวดเร็ว ใน กทม. มีชุมชนจำนวนมากถึง 2,067 ชุมชน มีจำนวนครัวเรือนรวมทั้งสิ้นกว่า 473,684 ครัวเรือน มีประชากรราว 5,686,464 คน การกระตุ้นให้สมาชิกของแต่ละชุมชนมีจิตสาธารณะในการช่วยกันเฝ้าระวังและดูแลชุมชน ตลอดจนการร่วมมือกับทุกภาคส่วน จะช่วยป้องกันการเกิดอัคคีภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น” ผู้ว่า กทม. กล่าว
นายวันชัย ถนอมศักดิ์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า อัคคีภัยหรือเพลิงไหม้ เป็นภัย ที่ใกล้ตัว ที่เกิดขึ้นได้ง่ายและบ่อยครั้ง สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร และความประมาทขาดความระมัดระวัง ปัจจุบันมีแนวโน้มความถี่และความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในชุมชน อาคารสูง และบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ซึ่งกรุงเทพมหานครมีนโยบายด้านความปลอดภัย ที่มุ่งให้ชีวิตปลอดภัย ทรัพย์สินปลอดภัย ชุมชนและสังคมปลอดภัย โดยให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับเรื่องอัคคีภัยในชุมชนซึ่งมีความเสี่ยงสูง เพราะบ้านเรือนส่วนมากสร้างจากไม้และมีระยะชิดกัน หากเกิดเพลิงไหม้จะลุกลามอย่างรวดเร็ว จึงได้ร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องช่วยกันป้องกันการเกิดอัคคีภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่กทม.มีชุมชนจำนวนมากถึง 2,067 ชุมชน มีจำนวนครัวเรือนรวมทั้งสิ้นกว่า 473,684 ครัวเรือน มีประชากรราว 5,686,464 คน
ทั้งนี้สถิติในปี 2558 มีเหตุเพลิงไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจร จำนวน 646 ครั้ง ปี 2559 เหตุเพลิงไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจร 681 ครั้ง และในปี 2560 ที่ผ่านมามีสถิติการเกิดเหตุเพลิงไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจร 783 ครั้ง โดยสถิติเพลิงไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจรในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ของปี 2561 ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนมีนาคม 2561 มีเหตุเพลิงไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจรแล้ว 137 ครั้ง โดยสถิติผู้เสียชีวิตที่เกิดจากเหตุอัคคีภัย ในปี 2560 มีจำนวนผู้เสียชีวิต 23 ราย ผู้บาดเจ็บ จำนวน 117 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตเพียงแค่ จำนวน 11 ราย ผู้บาดเจ็บ 135 ราย และในปี 2558 มีผู้เสียชีวิต จำนวน 14 ราย ผู้บาดเจ็บ จำนวน 183 ราย ซึ่งสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สิน ที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน ก่อให้เกิดผลกระทบอีกหลายด้าน ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต คุณภาพชีวิต และมีค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือเยียวยา ตลอดจนการฟื้นฟูบูรณะอีกมากมาย
ขณะที่นายวิเชษฐ์ พิชัยรัตน์ กรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า อัคคีภัยเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงทางสังคม ที่ทางสสส.ภายใต้แผนการจัดการความปลอดภัยและปัจจัยเสี่ยงต่อสังคม มีจุดเน้นการดำเนินงานด้านการส่งเสริมให้ความรู้ที่เหมาะสมด้านภัยพิบัติกับสาธารณะ ความรู้ การเตรียมความพร้อมและการป้องกันภัยภาคปฏิบัติกับประชาชน และปีนี้ สสส. และภาคีเครือข่าย ได้จัดทำสื่อรณรงค์ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์ ภายใต้แนวคิด ‘ยิ่งรู้ยิ่งรอด ปลอดอัคคีภัย’ ซึ่งจะนำไปเผยแพร่ผ่านเครือข่ายและช่องทางสื่อต่างๆ ทั้งของ กทม., สสส. และมูลนิธิสื่อสังคม
ด้าน พ.ต.ท. บุญเรือง แสงดาว ที่ปรึกษามูลนิธิสื่อสังคม กล่าวถึงการดำเนินงานรณรงค์ป้องกันอัคคีภัยในชุมชนของมูลนิธิสื่อสังคมว่า เน้นการฝึกอบรมและพัฒนาศักยภาพของชุมชน โดยให้ความรู้ ทั้งด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ เพื่อเตรียมพร้อมในการป้องกัน ระงับเหตุ และเรียนรู้วิธีปฏิบัติเมื่อเกิดเพลิงไหม้ในชุมชน โดยมีการจัดทำแผนที่ชุมชนและเส้นทางอพยพ การทำบัญชีรายชื่อกลุ่มอ่อนแอที่ต้องช่วยเหลือก่อนเมื่อเกิดเหตุ เตรียมขั้นตอนการอพยพ การช่วยเหลือผู้ประสบภัย เป็นต้น ฝึกซ้อมสถานการณ์สมมุติร่วมกับเจ้าหน้าที่ดับเพลิงในพื้นที่ ได้รับความสนใจจากชุมชนในเขตต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ เข้าร่วมฝึกอบรมมากขึ้นในแต่ละปี
เพิ่มเราเป็นเพื่อนได้แล้ววันนี้!....
ทีมงาน INN WHY? รายการเพื่อผู้บริโภค ร่วมปฏิวัติความคิด ปรับเปลี่ยนชีวิต ก้าวสู่ความมั่นคง หลังเกษียณ
ติดตามเราได้ที่ไลน์แอด @INNWHY.TV หรือ Facebook.com/INNWHY.TV และ Youtube.com/c/innwhy
Contact us : INNWHY31@gmail.com