ออมเงินประกันสังคมเพิ่มรับมือสูงวัยอนาคตได้

ปัจจุบันมนุษย์ทำงานที่เป็นมนุษย์เงินเดือนเงินได้ส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคมไว้สำหรับใช้จ่ายหลังหยุดทำงานไปแล้ว ไม่การันตีว่าเงินบำนาญที่จะได้รับจะเพียงพอต่อการใช้จ่ายที่นับวันค่าครองชีพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือไม่ กรณีมนุษย์เงินเดือนส่งเงินเข้า “กองทุนประกันสังคม” ต่อเนื่อง 15 ปี แต่ด้วยจำนวนคนวัยทำงานในวันนี้หากคิดที่อายุ 45 ปี และนับไปอีก 10 ปีข้างหน้าจะมีอายุอยู่ที่ 55 ปี ถึงวัยหยุดทำงานหรือสมัครใจอีก 15 ปีหยุดทำงานที่อายุ 60 ปี สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือ ผู้สูงวัยเพิ่มสูงขึ้นๆ คนเกิดใหม่ลดลงต่อเนื่อง ส่งผลคนทำงานลดลงตามไปด้วย การส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคมก็ลดลงตามไปด้วย เงินบำนาญที่ทุกคนคาดหวังดูแลเราหลังหยุดทำงานไปแล้ว จึงมีความเสี่ยงที่อาจทำให้เงินในกองทุนประกันสังคมไม่เพียงพอสำหรับจ่ายบำนาญหลังมนุษย์เงินเดือนหยุดทำงานไปแล้วในอนาคต
ซึ่งบางประเทศได้มีการขยายช่วงเวลาเกษียณอายุออกไป ขณะที่ประเทศไทยการเกษียณอายุยังคงอยู่ที่ 55 ปี ดังนั้นเงินประกันสังคมที่มนุษย์เงินเดือนจะต้องส่งเข้ากองทุนประกันสังคมต่อเดือนในอัตราสูงสุด 5% ของรายได้ ถามว่า หากคิดจากฐานเงินเดือนที่ 15,000 บาท มาเป็นตัวคำนวณแล้ว จะเพียงพอต่อความต้องการใช้ในยามเกษียณอายุหรือไม่ คุณทอมมี่ พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน นายกสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ได้เปิดเผยผ่านรายการ INNWHY? และเว็บไซต์ INNWHY.COM ว่า ไม่เพียงพออย่างแน่นอน แต่เข้าใจว่ากองทุนประกับสังคมกำลังมองเห็นปัญหานี้และควรต้องมีการปฏิรูปใหม่ ซึ่งมองว่า หากปฏิรูปควรปรับเปลี่ยนในหลายๆ ส่วนไปพร้อมๆ กัน จะช่วยให้กองทุนประกันสังคมอยู่ต่อไปได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว
กรณีต่างประเทศที่มีการขยายช่วงเวลาการเกษียณอายุนั้น หากมองในส่วนของประเทศไทย ขยายได้แต่ต้องแบบค่อยเป็นค่อยไป รวมถึงการปรับเพดานฐานเงินเดือนที่ใช้ในการคำนวณเพื่อหักเงินเข้ากองทุนประกันสังคมด้วย เนื่องจากปัจจุบันเพดานฐานเงินเดือนที่ใช้ในการคำนวณเพื่อหักเงิน 5% หรือ 750 บาทต่อเดือน คนทำงานต้องมีฐานรายได้อยู่ที่ 15,000 บาทเท่านั้น ซึ่งแม้ว่าผู้ที่มีรายได้สูงกว่า 15,000 บาทก็จะถูกหักเงินเพื่อนำไปสมทบในกองทุนประกันสังคมที่เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 9,000 บาทต่อปี แต่คำถามคือจะพอหรือไม่ หากสมมติว่าจ่ายเพียง 15 ปี ใน15 ปีที่ส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคมจะคิดเป็น 20% ของ 15,000 บาทในแต่ละเดือน เมื่อคิดคำนวณแล้วสมมติว่าจ่ายต่อเนื่องกัน 15 ปีจะได้เงินประมาณ 36,000 บาทต่อปี ซึ่ง เงินที่ออกจากประกันสังคมถือว่าสูงมากแต่ประชาชนได้เงินบำนาญที่คุ้มมาก
ทั้งนี้ในมุมของนักวิชาการมองว่า มีสิ่งที่ควรปฏิรูป และอย่างแรกเลย คือ ต้องมีเงินสมทบเข้ามามากขึ้น โดยการปรับเพิ่มเม็ดเงินที่ใส่เข้าไปประกันสังคมจากเดิมที่ 5% เพิ่มขึ้นอีก 2% และในส่วนของการลงทุนแนะนำว่าควรมีการปฏิรูปให้ออกจากสำนักงานที่ไม่ใช่ส่วนของราชการเพื่อให้เป็นหน่วยงานเพื่อการลงทุนจริงๆ เพื่อสามารถกระจายการลงทุนไปยังต่างประเทศได้
“เดิมกองทุนประกันสังคมจะลงทุนในพันธบัตรสักส่วนใหญ่ ยังไม่สามารถลงทุนส่วนอื่นได้อย่างอิสระ แต่หากกองทุนประกันสังคมไม่ใช่หน่วยราชการจะช่วยให้การลงทุนมีความยืดหยุ่นในการตัดสินใจ และมีโอกาสเพิ่มช่องทางใหม่ๆ เพื่อสร้างผลประโยชน์ได้เพิ่มขึ้น”
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญต่อการปฏิรูปประกันสังคมคือ 1.การเพิ่มเม็ดเงินที่สมทบในกองทุนประกันสังคม และ 2. ขยายช่วงเวลาการเกษียณอายุ นอกจากนี้ควรปรับเพดานฐานเงินเดือนจาก 15,000 บาทเป็น 20,000 บาท และกระบวนการสำคัญควรเริ่มต้นทำ ณ วันนี้ คือ การปรับอายุขั้นต่ำเพื่อรับมือกับการเกษียณอายุ จากวันนี้ที่คนไทยมีการเกษียณอายุที่ 55 ปี ควรมีการขยายช่วงเวลาออกไปเพื่อไม่ให้เงินในกองทุนประกันสังคมต้องจ่ายออกมากเกินตัว
เพิ่มเราเป็นเพื่อนได้แล้ววันนี้!....
อย่าหยุดที่จะพัฒนา เพราะไม่มีอะไรยาก ถ้าเราพยายาม…