ส.ประกันชีวิตฯเผย 5 ภารกิจปีหมูทอง สร้างความเชื่อมั่น “ผู้บริโภค-ธุรกิจประกันฯ”

นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยถึงแนวทางการดำเนินงานของสมาคมฯปี  2562  ว่า  ปีนี้สมาคมฯเน้น ให้ความสำคัญกับการสื่อสารเพื่อให้คนไทยตระหนักถึงประโยชน์ของการทำประกันชีวิต มากขึ้น  อย่างที่ทราบกันดีว่า ตัวเลขของจำนวนกรมธรรม์ต่อจำนวนประชากรวันนี้อยู่ที่ร้อยละ 39.5 ซึ่งยังไม่มากแสดงให้เห็นว่าคนกว่าร้อยละ 60 ยังไม่ได้ทำประกันชีวิตใดๆไว้เลย

ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าคนเราจะยั้งตัวเราไม่ให้ตาย ไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ ไม่เจ็บป่วย เราป้องกันไม่ได้ แต่เรามีส่วนช่วยนำเงินจากประกันชีวิตไปแบ่งเบาภาระที่เกิดขึ้นได้ หลายคนมักคิดว่า เราไม่ใช่คนนั้น แต่ก็ยังมีคนจำนวนมากที่ต้องเจอเหตุการณ์ที่เศร้าแบบนี้และหลายคนถ้าไม่วางแผนการเงินให้ดี ครอบครัวอาจได้รับผลกระทบจากการที่ไม่ได้วางแผนการเงินหรือทำประกันชีวิตเอาไว้ จึงอยากเชิญชวนคนไทยทุกคนตระหนักถึงการทำประกันชีวิตในเรื่องของความคุ้มครอง  ในเรื่องของวินัยการเงิน วันนี้ประเทศเข้าสู่ยุคสังคมสูงวัย คนอายุยืนขึ้น การรักษาพยาบาลดีขึ้น และเราต้องเตรียมตัวให้กับตัวเองมาช่วยกันดูแลตัวเองในยามแก่ เฒ่า ชรา ด้วย

นางนุสรา กล่าวว่า ในส่วนของสมาคมประกันชีวิตเองนั้น นอกจากสื่อสารให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการทำประกันชีวิตแล้ว ให้ความสำคัญในการเป็นตัวกลางของภาคธุรกิจประกันชีวิตที่จะสื่อสารและผลักดันให้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็น กฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้อง  สมาคมฯได้ทำงานใกล้ชิดกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เพื่อที่จะให้กฎหมายและการเปลี่ยนแปลงกฎเหล่านี้เป็นไปในทิศทางที่คุ้มครองผู้บริโภคได้ดี  ทำให้เกิดความเชื่อมั่นกับภาคธุรกิจ  ขณะเดียวกันกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ภาคธุรกิจสามารถปรับตัวและดำเนินการได้ด้วย เช่น เรื่องเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ประกันชีวิตที่กำลังอยู่ในชั้นกรรมาธิการพิจารณากฎหมายเหล่านี้ สมาคมมีส่วนร่วมในการเข้าไปชี้แจงประเด็นกฎหมายในมุมธุรกิจมองอย่างไร ภาคธุรกิจต้องการอะไร และที่จะจะประกาศใช้ในเร็วๆนี้เป็นเรื่องกฎหมายดูแลข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งภาคธุรกิจประกันได้ตระหนักในเรื่องนี้มากเพราะเกี่ยวข้องข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ประวัติการรักษาพยาบาล  การเจ็บป่วยที่เป็นมาก่อน แม้กระทั่งข้อมูลที่จะต้องส่งให้กับ บริษัท รี อินชัวร์รันส์ (บมจ.ไทยรับประกันภัยต่อ) ในกรณีที่ทำประกันในเคสใหญ่

เป็นแกนกลางทำงานร่วมกับ สำนักงาน คปภ. เพราะธุรกิจประกันชีวิตเป็นธุรกิจที่ได้รับการดูแลเกี่ยวกับการดูแลข้อมูลส่วนบุคคลโดยผู้กำกับคือ สำนักงาน คปภ. ออกกำหนดกฎเกณฑ์และดูแลข้อมูลเหล่านี้ ขณะเดียวกันเราต้องสร้างสมดุลการดูแลข้อมูลให้กับผู้บริโภคที่ดีเพราะว่าถ้าเราใช้ข้อมูลในทางที่ผิดหรือทำให้เกิดการรบกวนลูกค้าเกินไป เราก็ควรจะมองเรื่องกฎหมายเหล่านี้ด้วยเหมือนกัน ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากกฎเกณฑ์ที่เกิดขึ้นในที่เกิดขึ้นในกลุ่มสหภาพยุโรปหรือ EU

นอกจากนี้ สมาคมได้ร่วมมือกับ สำนักงาน คปภ.ในโครงการ Insurance Bureau System ว่าสมาคมฯ ธุรกิจควรจะทำข้อมูลกลางเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับผู้บริโภคกรณีที่ผู้บริโภคเกิดอุบัติเหตุให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว สะดวก ยังเป็นเรื่องที่สมาคมฯจับมือกับ คปภ.อยู่   รวมไปถึงวิธีการ ป้องกันพวกฉ้อฉลกับธุรกิจประกันชีวิต หากมีกลุ่มฉ้อฉลเป็นจำนวนมากจะทำให้ธุรกิจประกันชีวิตสูญเสียเงินเป็นจำนวนมากไปกับกลุ่มคนเหล่านี้ ซึ่งผลกระทบในระยะยาวอาจทำให้ผู้บริโภคต้องเจอกับเบี้ยประกันชีวิตที่สูงขึ้น ในนามของสมาคมประกันชีวิตและ สำนักงาน คปภ.มีเจตนารมณ์เดียวกันและได้จัดตั้งคณะทำงานและมาศึกษาว่า ฉ้อฉลเกิดจากอะไร และจะป้องกันอย่างไร ซึ่ง ณ วันนี้ในพ.ร.บ.ประกันชีวิตได้มีกฎเกณฑ์ลงโทษคนกระทำความผิด ทุจริต ฉ้อฉล คิดว่าภาคธุรกิจประกันชีวิตต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค เพราะฉะนั้นอะไรที่คนในวงการธุรกิจประกันชีวิตไปทำอะไรที่ไม่ถูกต้องและทำให้ผู้บริโภคเสียความเชื่อมั่น ในฐานะของสมาคมฯต้องจัดการกับเรื่องเหล่านี้

นางนุสรา กล่าวอีกว่า เรื่องที่สมาคมฯได้ทำงานใกล้ชิดกับสำนักงาน คปภ. เรื่อง IFRS (International Financial Reporting Standards) หรือ มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ มี 2 ฉบับที่เตรียมประกาศใช้ในอนาคตคือ ฉบับที่ 9  เรื่องเครื่องมือทางการเงิน (IFRS 9 ) ฉบับที่ 17 เรื่องสัญญาประกันภัย (IFRS 17)  ซึ่งภาคธุรกิจต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้า  ต้องมีความใจในตัวสินค้า มีระบบรองรับได้และทำงานใกล้ชิดกับ คปภ.รวมถึงสภาวิชาชีพการบัญชีด้วย เหล่านี้เป็นส่วนที่สมาคมประกันชีวิตกำลังเดินหน้าผลักดัน.

เพิ่มเราเป็นเพื่อนได้แล้ววันนี้!....